SIIT – วิศวะอินเตอร์ที่ไม่ธรรมดา จะสอบเข้าอย่างไรได้บ้าง? มาดูแนวข้อสอบกัน

พอดีได้มีโอกาสติดสอยห้อยตามผู้ปกครองระกับชั้น ม.5 สามเสนวิทยาลัยที่เขาพานักเรียนมาทำความรู้จักและทำ WORKSHOP ที่ SIIT ศูนย์รังสิต ก็เลยคิดว่าเรามาเขียนอะไรที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ดูบ้าง เพราะความจริงก่อนหน้านี้ก็ได้รับรู้มาหลายช่องทางละ ทั้ง Open House ทั้งค้นหาข้อมูลจากใน Internet เพราะว่าเคยมีผู้ปกครองมาปรึกษาเกี่ยวกับที่นี่อยู่หลายท่าน วันนี้ก็เลยถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะมารวบรวมเขียนให้เป็นรูปธรรม !!!


SIIT อะไร ที่ไหน อย่างไร?

SIIT : SIRINDHORN INTERNATIONAL INSTITUTE OF TECHNOLOGY, THAMMASAT UNIVERSITY

ถ้าเรียกแบบไทยๆก็ เอสไอไอที เอ๊ยยยย…..ชื่อเต็มๆก็คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งในธรรมศาสตร์ที่ดูแลเรื่องงบประมาณต่างๆด้วยตนเอง หาเองใช้เอง จึงสามารถแจกทุนการศึกษาให้กับเด็กๆได้จำนวนมากมาย มีทั้งทุนร้อย ทุนห้าสิบ ทุนยี่สิบห้า รวมๆแล้วก็เป็นร้อยทุนแหละ การที่จะได้มาซึ่งทุนการศึกษามีวิธีการอย่างไรเดี๋ยวเราค่อยๆมาดูกันนะครับ

SIIT จะมีอยู่ 2 วิทยาเขตคือ ที่รังสิตและที่นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก แต่เดี๋ยววันนี้เรามาดูเฉพาะปริญญาตรีกันนะครับว่ามีภาควิชาอะไรบ้าง

Undergraduate Programs จะมีการเรียนการสอนภาควิชาและสาขาต่างๆดังนี้

  • Chemical Engineering (ChE)
    • Bio-Chemical Engineeing
    • Chemical Process and Materials
  • Mechnical Engineering (ME)
    • General Mechanical Engineering
    • Energy Management
  • Civil Engineering (CE)
    • General Civil Engineering
    • Infrastructure Engineering
  • Electrical Engineering (EE)
    • Communication Engineering
    • Power Engineering
  • Industrial Engineering and Smart Logistics (IE)
    • Industrial Engineering
    • Manufacturing Engineering
  • Computer Engineering (CPE)
    • Artificial Intelligence
    • Cloud Computing and Cyber Security
    • General Computer Engineering
  • Digital Engineering (DE)
    • Application Software Development
    • Data Science
    • General Digital Engineering
  • Business and Supply Chain Analytics (BA) : B.Sc
    • Business Analytics (BA)
    • Supply Chain Analytics (SA)
    • Engineering Management (EM)
    • Management Analytics (MA)

OUTSTANDING STUDENT PROGRAM (OSP)

โครงการการสอบชิงทุนสำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเลิศ สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี คือมีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการเรียน(ม.4-ม.5) ไม่ต่ำกว่า 2.50 โอ้โห . . . . เท่ากับว่า . . . ไปวัดกันที่ผลของคะแนนสอบเลยว่าใครจะได้ทุนหรือไม่ ได้ทุนเท่าไหร่กันบ้างก็อยู่ที่ผลคะแนนสอบ. . . และการสอบในรอบนี้ก็สอบฟรีด้วย ไม่มีค่าใช้จ่าย … โอกาสมาละ

สำหรับปีนี้ จะเปิดรับสมัครช่วงประมาณวันที่ 15 สิงหาคม 2566 – 30 กันยายน 2566

ทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอด 4 ปี (ต้องรักษาเกรดเฉลี่ยสะสมให้ได้ไม่ต่ำกว่า 2.75 และเมื่อจบการศึกษาแล้วไม่ต้องชดใช้ทุน) ซึ่งจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาตามสัดส่วนของทุน ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายต่างๆของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เช่น ค่าประกันความเสียหาย ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาและค่าบำรุงการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นต้น

ซึ่งทุนที่มอบให้มีอยู่ 3 ประเภทคือ

  • ทุนเต็มจำนวน (ทุน 100%)
  • ทุนครึ่งจำนวน (ทุน 50%)
  • ทุนบางส่วน (ทุน 25%)

วิชาที่สอบ ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดย 5 ภาควิชาแรกคือ ChE / ME / CE / EE / IE จะสอบ 3 วิชาคือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกส์ โดยมีน้ำหนักคะแนนเท่าๆกัน ส่วนอีก 3 ภาควิชาคือ CPE / DE / BA นั้นจะสอบ 2 วิชาคือ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ แต่จะแบ่งน้ำหนักคะแนนคณิตศาสตร์เป็น 2/3 ส่วนภาษาอังกฤษ 1/3

การสอบของที่นี่ เมื่อผลสอบข้อเขียนประกาศออกมา ก็จะประกาศผลเพื่อเรียกสอบสัมภาษณ์ การประกาศผลก็จะประกาศว่า ผ่านการคัดเลือกข้อเขียนเพื่อไปสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าเรียน(Passed admission criteria) และคนที่ทำคะแนนได้ดีก็จะระบุว่า Scholarship Candidate เพื่อไปสัมภาษณ์ทุน OSP ซึ่งก็ยังไม่ได้ระบุหรือบอกว่าได้ทุนกี่ % (น่าจะแจ้งตอนสัมภาษณ์หรือปล่าวก็ไม่รู้ หรือแจ้งหลังจากนั้น)

หลังจากสอบสัมภาษณ์เมื่อแจ้งผลว่าได้ผ่านการคัดเลือกในรอบ OSP ทั้งที่ได้ทุนการศึกษาและไม่ได้ทุนการศึกษา ไม่ได้หมายความว่าได้เป็นนักศึกษาของ SIIT แล้ว เพราะนี่เป็นแค่ขั้นตอนการสอบเพื่อดูว่าผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้น

หลังจากสอบสัมภาษณ์ ก็จะมีการประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนการศึกษาทั้ง FULL HALF และ QUARTER ซึ่งการพิจารณาว่าจะได้ทุนเท่าไหร่ก็อยู่ที่คะแนนสอบของเราเลยครับ

แต่เด็กๆที่ผ่านและต้องการเข้าศึกษาที่ SIIT จะต้องใช้ผลการสอบนี้ไปสมัครในระบบรอบ “Inter Portfolio 1” และยืนยีนสิทธิ์ในระบบ ทปอ.


แนวข้อสอบในการสอบชิงทุนการศึกษา OSP SIIT

อย่างที่ทราบ จะมีการสอบ 2 หรือ 3 วิชา ตามสาขาที่ท่านเลือก แต่ละวิชาจะมีความยากง่ายอย่างไรลองฝึกกันดูนะครับ ว่ากันว่าคณิตศาสตร์ก็ประมาณว่ายากกว่า SAT Math หน่อยนึง ส่วนภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ยากมาก ลองดูตัวอย่างและรีวิวการสอบที่ผ่านๆมานะครับ

แนวข้อสอบ วิชาภาษาอังกฤษ
แนวข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์
แนวข้อสอบ วิชาฟิสิกส์

+ รีวิวสอบsiit64 ฉบับละเอียดยิบ
+ รีวิวสอบชิงทุนSIIT!! อ่านยังไงให้ได้ทุน
+ รีวิว การสอบข้อสอบชิงทุนการศึกษา 2562 (โครงการ OSP) SIIT TU
+ [แนวข้อสอบ] สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ปี57 ถึงน้องๆรุ่นหลัง
+ สอบและสัมภาษณ์ที่ SIIT (จนถึงสอบติด!)
+ การสอบ SIIT ของเด็กม.ปลายธรรมดาๆคนนึง
+ r e v i e w ❤ ส อ บ S I I T ม . ธ ร ร ม ศ า ส ต ร์
+ ประสบการณ์เด็กภาคไทยสอบเข้าคณะภาคอินเตอร์ (ISE CU, SIIT TU) – Part 1/2
+ รีวิว ประสบการณ์เด็กภาคไทยสอบเข้าคณะภาคอินเตอร์ (ISE CU, SIIT TU) – Part 2/2


การสมัครเข้าศึกษาที่ SIIT

ที่ผ่านไปนั้น เป็นเพียงแค่การสอบเท่านั้น ซึ่งผลที่ได้ก็คือ “ผ่านการคัดเลือก” และ “ได้รับทุนการศึกษา” สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ สมัครเข้าเรียนโดยใช้ผลการสอบนี้กับระบบรับสมัครของ SIIT และจะต้องไปยืนยันสิทธิ์กับระบบของ ทปอ. myTCAS.com

INTER PORTFOLIO 1

รอบการรับสมัคร INTER PORTFOLIO 1 หลักๆก็จะเป็นการรับจากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากการสอบ OSP และ การยื่น Portfolio โดยมีโครงการรับสมัครดังนี้

  • ยื่น PORTFOLIO
    • เกรด 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
    • แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สนใจ (ใช้ Portfolio Template ของ SIIT)
  • ยื่นคะแนนมาตรฐานอื่นๆ (ไม่ต้องมี Portfolio)
    • คะแนนมาตรฐานเช่น SAT / A Level / IB / ACT ฯลฯ (กรณีสมัครโดยใช้วุฒิ GED แทนเกรด 5 เทอม ต้องมีคะแนนมาตรฐานนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง)
    • ผลการทดสอบแห่งชาติ TGAT+TPAT / A-Level
    • ทั้งนี้ เกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนมาตรฐานต่างๆ ให้ใช้ตามประกาศของ SIIT -> Admission Criteria 2023
    • ผู้สมัครที่ผ่านค่าย สสวท.1 หรือ สสวท.2 ใช้หลักฐานการผ่านการอบรม โดยไม่ต้องแนบ Portfolio (ปล.เห็นว่าเด็ก สสวท.ได้ทุนเต็มจำนวนด้วยหรอ ลองอ่านดูนะ)
  • ยื่นคะแนนสอบรอบ OSP สำหรับนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์รับเข้าศึกษาและผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา (ไม่ต้องแนบ Portfolio)

จำนวนรับรอบนี้ก็เยอะมากๆรวมๆทุกภาควิชารับ 400 คน


INTER PORTFOLIO 2

หลักการและเกณฑ์การสมัครก็จะเหมือนกับรอบ Inter Portfolio 1 แต่จำนวนการรับจะน้อยกว่ามาก คือรวมทุกภาควิชารับ 50 คน

ทั้งสองรอบ Inter Portfolio 1 และ Inter Portfolio 2 จะอยู่ในช่วงของ TCAS-1 PORTFOLIO ดังนั้น ผู้ที่สมัครและผ่านการคัดเลือกจะต้องไปยืนยันสิทธิ์ในระบบ myTCAS.com ของ ทปอ. จึงจะถือว่าเสร็จสมบูรณ์ (ถ้าไม่ยืนยันสิทธิ์ก็เท่ากับว่าไม่ใช้สิทธิ์ ก็จะยังไม่มีที่นั่งเรียนของ SIIT)


INTER PROGRAM ADMISSION 1

รอบ INTER PROGRAM ADMISSION นี้เริ่มเข้าสู่ช่วงของ TCAS-2 QUOTA แล้ว ก็จะมีการรับสมัครโดยใช้เกณฑ์ต่างๆเพิ่มเติมเข้ามาอีกหลายรูปแบบ เพราะอย่างน้อยคะแนนการสอบที่จัดสอบโดย ทปอ. พวก TGAT/TPAT A-Level อะไรก็ออกมาละ ก็เลยสามารถเอามาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกได้

และทาง SIIT เองก็มีการจัดสอบในรอบนี้ด้วย สำหรับผู้ที่ยังไม่มีคะแนนใดๆและสนใจที่จะสมัครเข้าเรียน(ถึงมีคะแนนแล้วอยากมาสอบก็น่าจะได้เนอะ) ซึ่งเรียกว่า สอบตรง SIIT Entrance Examination

จำนวนรับ รอบนี้ก็ 50 คน เช่นกัน

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องไปยืนยันสิทธิ์ในระบบของ ทปอ. myTCAS.com ถ้าไม่ยืนยันสิทธิ์ก็เท่ากับว่ายังไม่มีสิทธิ์ในที่เรียนของที่นี่


INTER PROGRAM ADMISSION 2

INTER PROGRAM ADMISSION 2 จะอยู่ในห้วง(ช่วง)ของ TCAS-4 Direct Admission ของตารางของ ทปอ. หลักการและเกณฑ์ในการรับก็จะเหมือนกับ INTER PROGRAM ADMISSION 1

จำนวนรับ รอบนี้ก็ 50 คน เช่นกัน


TCAS-3 ADMISSION

รอบนี้ก็แบบว่าตรงไปตรงมา ตามกรอบของการรับ TCAS-3 ADMISSION เลยครับ โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกดังรายละเอียด หลักๆก็จะใช้คะแนน

+ TGAT-91 English Communication Skill การสื่อสารภาษาอังกฤษ (30%)
+ A-Level 61 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (35%)
+ A-Level 64 ฟิสิกส์ (35%)

จำนวนรับ 50 คน สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ 20 คน สำหรับ วิทยาศาสตร์ แต่ต่อมาได้มีการปรับจำนวนรับเพิ่ม (เป็นไปตามสถานการณ์ของแต่ละปี)


บทสรุป

แน่นอนว่า ที่นี่อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกอันดับแรกๆของหลายๆคนที่สนใจในการเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบชิงทุน OSP ซึ่งมีเยอะมาก ที่สำคัญ หลักสูตร การเรียนการสอนเครื่องไม้เครื่องมือถือว่าดีเยี่ยม มีเพื่อนเรียนต่างชาติ มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหลากหลายประเทศ มีโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรป เอเซีย และ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

ผมได้ยืนคุยกับนักศึกษาวิศวคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นรุ่นน้องของลูกชายที่ EP Samsen เขาก็เล่าให้ฟังว่า เป้าหมายของเขาคือ “ต้องการเรียนทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์” ซึ่งเขาก็ลองสอบรอบ OSP และผ่านได้รับเข้าเลือกเข้าเรียน เขาก็จบเลย เลือกที่นี่เลย ไม่ไปขวนขวายที่ไหนอีกแล้ว เพราะช่วงเวลาที่เหลืออีก 6-7 เดือนที่เพื่อนๆต้องแย่งชิงที่นั่งผ่านระบบ TCAS อีกหลายรอบนั้น เขาไม่เอาแล้ว !!!

สำหรับปีการศึกษา 2567 นี้ ใกล้เข้ามาแล้วครับ Tentative Schedule ก็จะประมาณนี้

WEBSITE อย่างเป็นทางการ

WEBSITE การรับนักศึกษา SIIT Admission

facebook การรับนักศึกษา SIIT Admission