สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ทำไมถึงต้องเป็นรอบ PORTFOLIO

ถามว่า…. ทำไมถึงต้องเป็นรอบ portfolio?สำหรับลูกเราแล้ว ตอบได้อย่างไม่ต้องคิดมากเลยว่า … ถ้าเป็นรอบ admission โยนผ้าตั้งแต่คิดเลยครับ เพราะไม่ได้ขยันและอึดขนาดนั้น การยื่นรอบ portfolio เราสามารถเดินขึ้นลงบันใด 3 ขั้นได้ตลอด 3 ปี พูดง่ายๆสอบเก็บสะสมมาได้(IELTS อายุ 2 ปี) ไม่ได้สอบกระจุกตัวเหมือน admission เช่น สอบ final ที่โรงเรียน / สอบ GAT PAT / สอบ O-NET / สอบ 9 วิชาสามัญ / สอบ กสพท. ที่ schedule การสอบจะมาอยู่ใกล้ๆกันหมด ยิ่งปีนี้ยิ่งโหดจัด สอบเรียงกันทุกสัปดาห์เลย เด็กๆก็จะมีความเครียดและเหนื่อยมากๆ แต่คนที่เตรียมเพื่อรอบ portfolio และสามารถจบตั้งแต่รอบนี้ ก็สบายตัวไปเลย รออีก 3-4 เดือน จึงจะไปรายงานตัว ปฐมนิเทศน์ …

ทำไมถึงต้องเป็นรอบ PORTFOLIO Read More »

หาข้อมูล…หมอรอบ portfolio

สำหรับพวกเรา…. เวลานั้น …. มันเป็นเรื่องใหม่ จัดว่ายากเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยความที่ว่า ข้อมูลฝังตัวอยู่ในโลก internet ดังนั้น การค่อยๆขุด ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไร การค่อยๆจัดระเบียบ เรียบเรียงข้อมูลที่ได้มา ก็เป็นเรื่องสำคัญ ถามว่า … เราไปหาข้อมูลและรายละเอียดที่ไหน? นอกจากแหล่งข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆแล้ว พวกสถาบันกวดวิชานี่แหละ ข้อมูลเยอะสุด เราเข้าไปขุด ไปหา เราไม่จำเป็นต้องไปเรียนกับพวกเขา ส่วนหนึ่งก็ดีเสียอีก ทำให้เรารู้ตื้นลึกหนาบางของแต่ละสถาบันว่าน่าสนใจมากน้อยขนาดไหน ! เพราะเมื่อเราจะต้องไปสมัครเรียน จะไปสมัครที่ไหน เน้นย้ำนะครับว่า ข้อมูลที่รวบรวมมาและเห็นใน Post นี้ เป็นข้อมูลการรับสมัครเข้าเรียนปีการศึกษา 2562 ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 ในปัจจุบันมีหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วนะครับ ที่ไหนรับบ้าง? TCAS รอบ 1 – Portfolio ในปีการศึกษาโน้นนนนนน . . . เราก็พอจะหาข้อมูลได้ประมาณนี้นะครับ (แต่ปีการศึกษาปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างพอควร ไว้มาสรุปให้ทีหลังนะครับ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #medcu รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล …

หาข้อมูล…หมอรอบ portfolio Read More »

ลูกสนใจแพทย์รอบ portfolio … เอาละสิ !!

ถ้าใครติดตามข้อมูลผมมาโดยตลอด ทั้งจากการเขียน การบรรยาย การพูดคุย จะทราบว่า คณะสาขาวิชาและอาชีพหนึ่งเดียวที่ผมไม่อยากให้ลูกเป็นก็คือ แพทยศาสตร์ หรือที่เราเรียกอาชีพสั้นๆว่า “หมอ” ด้วยเหตุผลอะไรอย่างไรก็แล้วแต่ แต่นั่นเป็นความคิดของพวกเรามานานละ ตั้งแต่ลูกอยู่ประถมยันมัธยมต้นจนมาปัจจุบันมัธยมปลาย ทำไมไม่อยากให้ลูกเป็นหมอ ?! คือหัวข้อนี้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าควรจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายคำถาม ปรัศนี (?) หรือ เครื่องหมายตกใจ อัศเจรีย์ (!) ก็เลยใส่มันทั้งสองเครื่องหมายเลยละกัน กลายเป็น ปรัศเจรีย์ (?!) ถ้าเห็นรูปนี้ ไอ้เจ้าอุนจิหรืออิโมจิหรืออะไรก็ไม่รู้ พอจะสื่อสารบ่งบอกอารมณ์ได้นะครับว่า เหมือนจะไม่แฮปปี้ 5 5 5 ความรู้สึกนี้เป็นมาตั้งแต่ต้นละ จนกระทั่งมาหาคำจำกัดความได้ในภายหลัง เหตุที่ไม่อยากให้ลูกเรียนทางด้านแพทย์ในตอนนั้นก็คือ เรามีลูกคนเดียว ก็อยากจะอยู่กับลูกเยอะๆ นานๆ 5 5 5 จะเรียกว่าติดลูกก็ว่าได้ แฮะๆ เพราะเป็นที่รู้กันว่า ถ้าลูกเรียนแพทย์และลูกเป็นหมอแล้ว โอกาสที่เราจะได้ใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดลูก คงยากแล้วหละ (เห็นแก่ตัว สุดๆ แฮะ แฮะ) และหรือกลัวลูกจะเรียนหนักเกิน เตรียมตัวสอบเข้ายิ่งหนักกว่า ทั้งอ่านทั้งเรียนพิเศษกันหัวโตยิ่งกว่าแตงโม …

ลูกสนใจแพทย์รอบ portfolio … เอาละสิ !! Read More »

ปักธงแรก … สำคัญมาก

ที่บอกว่าสำคัญมากก็เพราะว่า มันยาก และกว่าจะคั้นออกมาได้ บางทีต้องคั้นน้ำตาก่อนด้วย เด็กบางคนรู้ตัวตนตั้งแต่เนิ่นๆก็ดีไป สามารถวางแผนเตรียมตัวได้ก่อน เห็นเส้นทางเดินก่อน . . . มาปักธงกัน !!! จบ ม.3 ก็คุยกับลูกว่า จะไปทางไหนอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับก็คาดเดาไม่ยาก “ยังไม่รู้เลย” “บอกไม่ถูก” ฯลฯ สุดท้าย… ก็ได้ตามที่พ่อแม่แนะนำไว้ก่อน เพราะพ่อแม่มีสายอาชีพมาทางด้านนี้โดยตรง และที่สำคัญ พี่สาว(ลูกพี่ลูกน้องของเขา) ก็จบมาทางด้านนี้ และมี Carrier Path ที่ดียิ่ง นั่นก็คือที่ Computer Engineering ของ MUIC เราก็เล่าให้ฟังถึงชีวิตการทำงาน ลักษณะงาน … ฯลฯ … ถามลูกว่า งานแบบนี้พอได้ไหม? ลูกก็เหมือนกับว่าสัมผัสกับอาชีพนี้ผ่านทางพ่อแม่มาตั้งแต่จำความได้ละมั้ง ก็เลยรู้สึกว่ามันก็โอเค แต่เราดูแล้ว เหมือนยังไม่เต็มที่ … แต่อย่างที่บอก มันต้องมีเป้าหมายอะไรบ้าง อย่างน้อยก็ใช้ในการวางแผนการเรียนในระดับมัธยมปลาย..เมื่อเดินหน้าไปแล้ว จะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เกิดไปชอบพอกับคณะอะไร(ไม่ใช่ไปชอบพอกับใคร นะ) ก็ไม่น่าจะห่างจากที่ได้เตรียมตัวเอาไว้ …. …

ปักธงแรก … สำคัญมาก Read More »

เป้าหมาย !!!

รับปากกับหลายๆท่านแล้วว่าจะเล่าเรื่องที่ทีมครอบครัวเราร่วมกันคิดร่วมกันทำมาตลอดเกือบสามปีนี้ แต่ขั้นต้นนี้ จะขอเล่าเรื่องแผนสามปีก่อน เพราะมันมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่ได้บันทึกมาก่อน ก็เกรงว่าจะลืมเลือนกันไปในช่วงเวลาอันใกล้ . . ส่วนบันใดสามขั้นนั้น เดี๋ยวจะเก็บเอาไปเล่าใน post ต่อๆไป การเล่าก็จะเล่าเหมือน Timeline นับตั้งแต่จบ ม.3 และเข้าสู่ระดับชั้นมอปลายจนมาถึงวันนี้ว่าเราวางเป้าหมายเอาไว้อย่างไร และ ทำอะไรบ้างในช่วงระหว่างนั้น “เป้าหมาย” ในความรู้สึกของพวกเรา ถ้าคนที่เคยฟังพูดหรือบรรยายในหลายๆครั้ง ทั้งในหัวข้อเรื่อง “มอต้นขึ้นมอปลาย” และ “มอปลายเข้ามหาวิทยาลัย” และหรือเป็นการคุยส่วนตัว จะเห็นและจะถามอยู่เสมอว่าทำไมถึงเลือกเป้าหมายนี้ ทำไมไม่เป็นอันโน้น ทำไมไม่เป็นอันนี้ . . . ก่อนอื่น ก่อนจะตั้งเป้าหมาย เราต้องรู้จักประเมินตนก่อนว่า ลูกเรามีความสามารถมากน้อยขนาดไหน เก่งมากน้อยขนาดไหน และสามารถที่จะผสมความพยายามความตั้งใจแล้ว พอที่จะไปได้ไกลขนาดไหน เพราะถ้าตั้งความหวังหรือเป้าหมายไว้สูงมากจนเกินไป มันก็อาจจะกลายเป็นดาบสองคมได้ อย่ามัวแต่คิดว่า อยากสูงต้องเขย่ง เขย่งมากๆขาอาจจะพลิกก็ได้นะครับ ดังนั้น หาบันไดมารอง แล้วก้าวเดินขึ้นไปเฮอะ . . . (บันไดสามขั้น) “เป้าหมาย” สำหรับพวกเราก็คือ หาคณะ/มหาวิทยาลัย ที่ลูกชอบ …

เป้าหมาย !!! Read More »

มอสามขึ้นมอสี่ – สามเสนวิทยาลัย มองไกลไปถึงมหาวิทยาลัย…

คือวันก่อนโน้นนนนนนนน…… ได้เคยพูดคุยกับผู้ปกครองระดับมอต้นของสามเสนวิทยาลัย เกี่ยวกับการเลือกแผนการเรียนในระดับชั้น ม.4 ซึ่งปัญหาที่มาก่อนเรื่องที่จะเลือกแผนการเรียนก็คือ ปลายทางจะไปไหน? จะเรียนมหาวิทยาลัยอะไร? อยากเรียนคณะไหน? ชอบทำงานอะไร? ….. อีกหลากหลาย ซึ่งเชื่อว่า หลายบ้าน หลายครัวเรือน ก็ยังคงหาคำตอบกันไม่ได้ ซึ่งบอกตามตรง ไม่ใช่เรื่องง่าย การปูพื้นฐานความรู้เหล่านี้ ปกติครูแนะแนวก็จะมีส่วนในการช่วยเหลือเป็นอย่างมาก ก็ต้องภาวนาว่า ให้ได้เจอครูดี ให้คำแนะนำเด็กๆได้ดี แต่จริงๆแล้วผู้ปกครองก็มีส่วนที่จะช่วยเหลือค่อนข้างเยอะ ในการค่อยๆคุญกับลูก ถึงอาชีพโน้น อาชีพนี้ ตาวช่วงเวลาที่เหมาะสม พวกเรามักจะได้ยินคำว่า “นึกอะไรไม่ออก เลือกเรียนวิทย์-คณิต ก่อน” ซึ่งถ้าลูกเรายังครึ่งๆกลางๆจริงก็ไม่ได้มีอะไรเสียหาย แต่ถ้าวันหนึ่งเกิดโป๊ะเช๊ะมาว่าอยากจะไปเรียนทางภาษา อยากจะไปทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มันก็จะหนักหน่อย ถามว่ามีและเป็นไปได้ไหม? ตอบว่า มี และ หาใช่น้อยไม่ !!! ดูจากตัวอย่างพี่ๆปีที่แล้วก็จะเห็นว่า หลายคนเรียนสายวิทย์ แต่สอบเข้านิติศาสตร์ รัฐศาสตร์

รวม Link สมัครเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ

สารภาพเลยว่า ตอนแรกตั้งใจเขียนเก็บเอาไว้ดูเอง เพราะขี้เกียจหาไปหามา แต่พอได้เข้ามาใช้เรื่อยๆก็รู้สึกว่า เออ คนอื่นก็น่าจะได้ใช้ประโยชน์ได้นะ ก็เลยเปิดเป็นสาธารณะไปเลย ส่วนมากแล้วช่วงนี้ก็จะเน้นไปที่ TCAS64 รอบ 1 หรือรอบ Portfolio แต่ก็จะบอกอีกแหละว่า ไม่ได้ตามเก็บมาทุกมหาวิทยาลัยนะครับ เก็บมาเท่าที่สนใจ และ เก็บตามความต้องการของเพื่อนๆผู้ปกครองเวลาสอบถามหรือถามหาข้อมูลของมหาวิทยาลัยนั้นๆ … ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยมหิดลhttps://tcas.mahidol.ac.th/ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttp://www.admissions.chula.ac.th/ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒhttps://admission.swu.ac.th/admissions2/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์https://www.tuadmissions.in.th/ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังhttps://www1.reg.kmitl.ac.th/TCAS/home.php?round=1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าธนบุรีhttps://admission.kmutt.ac.th/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก้าพระนครเหนือhttp://admission.kmutnb.ac.th/ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์https://admission.ku.ac.th/ มหาวิทยาลัยขอนแก่นhttps://admissions.kku.ac.th/ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://www1.reg.cmu.ac.th/ugradapply/ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์https://admission.pccms.ac.th/ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชhttps://reg1.nmu.ac.th/registrar/apphome.asp มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงhttps://admission.mfu.ac.th/bachelor-degree/bachelor-home.html มหาวิทยาลัยศิลปากรhttps://www.admission.su.ac.th/ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์https://entrance.psu.ac.th/ มหาวิทยาลัยบูรพาhttp://regservice.buu.ac.th/ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตhttp://entrance.dusit.ac.th/ ใครสนใจอยากจะแนะนำ หรืออยากจะขอเพิ่มที่ไหนเชิญได้นะครับ บทความอื่นๆ เข้ามหาวิทยาลัย Computer Graphics – Media Design – Animation – อีกสาขาที่เด็กๆถามถึง

จบศิลป์เกาหลี จะไปต่อมหาวิทยาลัยที่ไหนได้บ้าง?

ได้รับการบ้านเรื่องนี้มาก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่างน้อยเราก็เป็นติ่งซีรี่ย์เกาหลีเหมือนกัน แฮะๆ ก็เลยไปลองขวนขวายหามาดูว่า ที่ไหนมีบ้างน้อ….. แต่ก่อนอื่น ลองมาคิดกันดูก่อนว่า จบทางด้านนี้แล้ว จะสามารถไปประกอบวิชาชีพอะไรกันได้บ้าง? พนักงานด้านภาษาเกาหลีในหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ (พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน  พนักงานต้อนรับในโรงแรม  พนักงานหน่วยงานของเกาหลี) พนักงานแปล/ล่ามภาษาเกาหลี บุคลากรทางการศึกษาด้านภาษาเกาหลี(ครูมัธยม  ครูในสถาบันภาษาเอกชน) เลขานุการในบริษัทเกาหลี หรือในบริษัทที่ใช้ภาษาเกาหลีในการดำเนินธุรกิจ นักเขียน/นักวิจารณ์ อาชีพด้านการท่องเที่ยว อาชีพด้านสื่อสารมวลชน ตามไปดูกัน…… มหาวิทยาลัยศิลปากร หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก วิชาเอก-วิชาโทภาษาเกาหลี+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท ต่อภาคการศึกษา+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)สาขาวิชาภาษาเอเชียศึกษา (โครงการพิเศษ)+ แบบที่ 1 เรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร+ แบบที่ 2 (7+1) เรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร 7 เทอม และที่มหาวิทยาลัยประเทศเจ้าของภาษา 1 เทอม+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 31,550 บาทต่อเทอม (แบบ 7+1 ไม่รวมค่าใช้จ่ายค่าเทอมค่าอื่นๆที่เรียนที่ต่างประเทศ)+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3) …

จบศิลป์เกาหลี จะไปต่อมหาวิทยาลัยที่ไหนได้บ้าง? Read More »

Computer Graphics – Media Design – Animation – อีกสาขาที่เด็กๆถามถึง

มันมีที่มาที่ไปอยู่พอสมควร แต่เชื่อไหมว่า ส่วนหนึ่งก็มาจากพวก ipad นี่แหละ ที่เป็นอุปกรณ์ที่เด็กๆสามารถนั่งวาดโน่นวาดนี่ได้ตลอดเวลาและในเกือบๆทุกสถานที่ และส่วนใหญ่ก็จะวาดไปในแนว animation การ์ตูน รูปหนุ่มหล่อ สาวสวย ตาม idol หรือ จินตนาการ ตอนแรกก็ยังไม่รู้ว่าจะตั้งหัวข้อว่าอะไรดี เพราะเอาเข้าจริงๆ ไอเนื้องานที่คิดอยู่ในหัว มันครอบคลุมไปได้หลายคณะ บางมหาวิทยาลัยก็ตั้งชื่อผสมกันไปผสมกันมา แต่เอาที่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวอาชีพทำนองนี้ มีคณะต่างๆที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องก็คือ นิเทศ+สถาปัตย์+วิทยาศาสตร์+วิศวกรรมศาสตร์+ศิลปศาสตร์+คอมพิวเตอร์+ฯลฯ ก็แล้วแต่ว่าใครจะคิดหลักสูตรอะไรที่มันเข้ามาเกี่ยวข้องกับคณะตัวเอง ประมาณนั้น เดี๋ยวเราจะมาเริ่มค้นหากันว่า มีที่ไหนเปิดสอนกันบ้าง (แลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ที่ samsen2U)https://line.me/ti/g2/c4TJsNjW_wbiB9CArQgZ2A?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ที่เทคโนบางมด ก็มีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน Digital Media + Graphic Design กระจายไปอยู่หลายคณะ คณะเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ http://www.media.kmutt.ac.th/programs/media-technology/สาขาวิชา Digital Media Technologyสาขาวิชา Game Developmentสาขาวิชา Biomedical Media Technologyค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 304,500 บาท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และออกแบบhttps://soad.kmutt.ac.th/program/communication-design/ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of …

Computer Graphics – Media Design – Animation – อีกสาขาที่เด็กๆถามถึง Read More »

อาชีพนักการทูต – ต้องเรียนจบคณะไหน?

สนใจบทความอื่นๆ เรียนเที่ยวกิน ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/myremainingtime ความจริงก็ไม่ได้มีความรู้ด้านนี้มาก่อนเลย ก็เลยไปลอง Search หาข้อมูล คณะทูตศาสตร์ ก็ไม่มี แต่ก็ไปเจอหลายๆบทความที่ใกล้เคียงกับโจทย์ที่ได้รับมา ก็เลยนั่งอ่าน นั่งทำความเข้าใจ หาอ่านไปเรื่อย ใครเขียนอะไรก็เชื่อ !!! จับใจความได้ว่า ถ้าเอาตรงสุดน่าจะเป็น คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความเป็นจริงยังมีคณะและสาขาอื่นๆอีกหลายแห่งที่ก็อยู่ในข่ายที่สามารถเป็นได้เช่น รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ บริหารธุรกิจ การจัดการ นิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบัญชี ภาษา วรรณคดี ศึกษาศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ และล่าสุดในการประกาศรับสมัคร ก็เขียนเอาไว้ว่า “ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชาที่ ก.พ. รับรอง” เพราะว่าอย่างไรเสียก็ต้องมีการสอบคัดเลือกสามระดับคือ เมื่อสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปแล้วจึงจะได้สิทธิ์ในการสอบระดับต่อไป นั่นคือ และถ้าสอบผ่านด่านที่สองแล้ว จึงจะสามารถไปสอบด่านที่สามได้นั่นคือ จะเห็นว่า …

อาชีพนักการทูต – ต้องเรียนจบคณะไหน? Read More »

TCAS-1 : หลักสูตรนานาชาติ สาย BBA – BE – EBA – EEBA

จริงๆก็ไม่มีอะไรหรอกครับ วันที่ไปนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ผปค.ท่านอื่นๆ ก็ได้ทำการบ้านในหลักสูตรแผนการเรียนอื่นๆไปบ้าง อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่า ตัวย่อมันคืออะไร 5 5 5 เพราะมันเยอะมาก !!! แน่นอนว่าทุกวันนี้ การพูดถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจต่างๆ มีหลักสูตรที่เป็นที่นิยมสมัครเข้าเรียนในแผนการเรียนหลักสูตรนานาชาติย่อมหนีไม่พ้น พาณิชยศาสตร์และการบัญชี กับ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งเอาเข้าจริงในแต่ละหลักสูตรก็ยังมีสาขาวิชาย่อยออกไปอีก สิ่งหนึ่งที่สังเกตุได้จากผลการสอบเข้าในปีที่ผ่านมานั่นก็คือ เด็กๆมาจากเกือบทุกแผนการเรียนในระดับมอปลาย ไม่ว่าจะเรียนมอปลายในสายวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ หรือ ภาษาต่างประเทศ ต่างก็สามารถสอบเข้าได้เหมือนกันหมด รวมทั้งนักเรียนจากโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนอินเตอร์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเกณฑ์การพิจารณานั้น หลักๆจะเป็นคะแนนสอบที่เด็กๆต้องไปเตรียมตัวและสอบเองนอกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น IELTS – SAT วันนี้เราจะมาดูรายละเอียด Requirement ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรบ้าง พาณิชยศาสตร์และการบัญชี (นานาชาติ)Bachelor of Business Administration CU – BBA Official Website : https://bba.acc.chula.ac.th/ ด้วยจำนวนที่เปิดรับค่อนข้างเยอะพอสมควร แถมมีรอบ 1 รอบ 2 ก็เลยทำให้เด็กๆหลายคนคาดหวังกับที่นี่พอสมควร ที่นี่จะมี …

TCAS-1 : หลักสูตรนานาชาติ สาย BBA – BE – EBA – EEBA Read More »

Samsen2U : หมอรอบพอร์ต : Medical TCAS1(Portfolio)

พอดีเมื่อวานได้มีโอกาสไปนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับ ผปค. และเด็กๆ EP วิทย์ ระดับชั้น ม.5 ซึ่งหัวข้อหลักๆก็คือ TCAS รอบ Portfolio อันเกี่ยวข้องกับ คณะแพทยศาสตร์ – วิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอื่นๆที่ปรากฏอยู่ในรอบ portfolio สิ่งหนึ่งที่รู้สึกดีใจมากๆกับการเสวนาครั้งนี้ก็คือ คำถามที่สอบถามเรื่องโน้นเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามที่มาจากเด็กๆ ทุกคำถามจะตั้งใจฟังมาก เพื่อหาคำตอบเท่าที่พอจะมีอยู่ในหัวที่คิดว่าตรงตามคำถามที่สุด แต่ก็มีบางคำถามที่ขอเก็บไปเป็นการบ้าน ก่อนไปนั่งคุย เราก็ทำการบ้านไปบ้าง เพื่อให้มีข้อมูลพื้นฐานในการคุย ก็เลยเอาสิ่งที่เตรียมไว้คร่าวๆ มาแชร์ไว้ตรงนี้ด้วย หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงนะครับ หลักๆที่เตรียมทำการบ้าน ก็ง่ายมากๆ ถอยหลังกลับมาหนึ่งก้าวแล้วมองดูว่า “เรา” ต้องการอะไร อยากรู้อะไร เพราะเราก็ไม่ได้รู้มากกว่าคนอื่น ก็หาข้อมูลมาคุยกันไปพร้อมๆกัน หมอรอบพอร์ต วันนี้มาเริ่มเรื่องหมอรอบพอร์ตก่อน เพราะเมื่อวานหลายๆคนก็ชวนกันพูดคุยกับเรื่องนี้ เสียดายว่าในห้องที่นั่งคุยกัน ไม่มี Projector ไม่งั้นก็ได้ฉาย powerpoint พร้อมๆกับคุยไปก็เป็นการดี หมอรอบพอร์ต ก็ไม่ได้มีทุกมหาวิทยาลัยนะครับ สำหรับมหาวิทยาลัยที่เปิดรับและจำนวนที่รับ ก็แสดงอยู่ในภาพนี้ครับ(2563) ตกหล่นที่ไหนไปขออภัยด้วยนะครับ สำหรับของรามา ก็มีเพิ่มมาให้อีกแผนการศึกษา …

Samsen2U : หมอรอบพอร์ต : Medical TCAS1(Portfolio) Read More »