ตามมารยาทและธรรมเนียมหรือจะทำเนียนก็ได้ ก็ต้องขอขอบคุณ พี่ๆ DEK68 ที่ช่วยกันแชร์ข้อมูล เพื่อที่ว่าน้องๆในรุ่น DEK69 DEK70 . . . จะได้ดูเป็นแนวทาง อาจจะมีบ้างเล็กน้อยเพราะเข้าใจว่า ทางกรรมการก็พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบอยู่เหมือนกัน
ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณ เด็กๆและผู้ปกครองที่ช่วยแชร์ข้อมูลในห้อง “ยื่นพอร์ตแพทย์เชียงใหม่” ด้วยนะครับ
และข้อความที่เขียนที่มาจากการบอกเล่านี้ อาจจะไม่ตรงเป๊ะกับเรื่องจริงหรือคำถามจริงๆ แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงความเป็นจริงในระดับนึง อาจจะมีใส่มุขใส่อารมณ์เข้าไปบ้างเล็กน้อย
จำนวนเรียกนักเรียนเข้าสัมภาษณ์ในโครงการต่างๆ
ถ้าดูจากที่ประกาศมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าโครงการไหนจะเรียกมาสัมภาษณ์กี่คน
ซึ่งจำนวนที่เรียกมาสอบสัมภาษณ์ก็อาจจะแตกต่างไปบ้างเล็กน้อย
โครงการโอลิมปิก เรียกสัมภาษณ์ 97 คน ขาด 2 คน
โครงการเรียนดีภาษาอังกฤษ เรียกสัมภาษณ์ 79 คน
โครงการแพทย์วิทยาการข้อมูล เรียกสัมภาษณ์ 18 คน ขาด 2 คน
โครงการผู้มีอัจฉริยภาพทางด้านนวัตกรรม เรียกสัมภาษณ์ 32 คน ขาด 1 คน
+++ เป็นข้อมูลที่จำและสังเกตุกันออกมา มีความคลาดเคลื่อนได้ +++
รูปแบบการสอบสัมภาษณ์ 2568
ปีนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่แตกต่างไปจากปีที่แล้ว เหมือนๆกับว่ารูปแบบจะกลับไปคล้ายกับช่วงยุค DEK63 DEK62 . . . . เพราะรุ่น DEK64 เป็นรุ่นพิเศษ งดทุกอย่าง ปรับรูปแบบต้อนรับโควิด-19 อย่างเต็มที่ และเมื่อช่วงโควิดผ่านไปก็ค่อยๆกลายกลับคืนสู่รูปแบบเดิม
จะมีการแบ่งกลุ่ม ครึ่งนึงไปสัมภาษณ์ก่อน อีกครึ่งไปทำแบบทดสอบสุขภาพจิต(MMPI) และ ตรวจสอบ/พิมพ์ผลคะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษ
ในแต่ละรอบจะมี 5 วง วงละ 4 Stations เฉลี่ยรอบนึงก็ประมาณ 30-40 นาที
ปีนี้มีแค่ 4 stations แถมเป็น station ที่เป็นห้องพักหรือห้องว่างถึง 2 Stations คือห้อง 2 และห้อง 4 แต่ในแต่ละ Station ที่มีการสอบสัมภาษณ์นั้นจะมีคำถามอยู่ 3 คำถาม ต้องตอบทั้ง 3 คำถาม และให้ตอบตามลำดับคำถาม ภายในเวลา 7 นาที
โดยกฏเกณฑ์ที่อธิบายก็คือตอบตามลำดับ ไม่ให้ย้อนกลับมาตอบ แต่ก็มีเด็กหลายคนบอกว่า ตัวเองตอบเสร็จเร็ว กรรมการถามว่า อยากจะย้อนกลับไปตอบอะไรเพิ่มเติมไหม ซึ่งบางคนก็ย้อนกลับไปตอบ แต่บางคนบอกว่าไม่แล้วที่ตอบมาดีอยู่แล้ว(เหมือนกับว่าเด็ดเดี่ยวมั่นใจว่าสิ่งที่ตอบไปแล้วคือความมั่นใจของเรา ไม่มีอะไรต้องแก้ไข)
บางคนก็บอกว่า กรรมการน่ารักมาก ยิ้มแย้มแจ่มใส เราตอบคำถามเสร็จเร็ว กรรมการก็ชวนคุยโน่นนี่นั่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์เลย ก็ช่วยเราผ่อนคายไปได้เยอะ
บางคนก็บอกว่า เดินเข้าไปเจออาจารย์ผู้หญิงสองคน ตีหน้าเข้มขรึมออกแนวโหดๆ แต่ดูออกแหละว่าทำหน้าปั้นหน้าให้ดูน่ากลัว…แต่ใจดี แรกๆคุยก็ยังเก๊กน้ำเสียงออกหนักแน่น แต่แอบมีหัวเราะคริคริอยู่ สุดท้ายก็อ่อนโยนใจดีเข้ากับลักษณะที่มองเห็น
การแจ้งเตือนโดยกระดิ่งเวลา เห็นเด็กๆบอกว่าในห้องมีนาฬิกา แต่ไม่ได้ดูเลย !!!
+ กริ่งสัญญาณแบบยาวววว สำหรับเริ่มสอบ(เข้าห้องสอบ) และ หมดเวลา(ออกจากห้องสอบ)
+ กริ่งสัญญาณแบบสั้น(เสียงสั่นๆ) บอกว่าผ่านไปครึ่งทางแล้วนะ หรือ ผ่านไป 3 นาทีครึ่งแล้ว
ที่สำคัญคือ สำหรับโครงการผู้มีอัจฉริยภาพทางด้านนวัตกรรม จะมีห้องพิเศษตบท้าย(แทนที่จะมีขนมหวานตบท้าย แฮะๆ) คือเป็นห้องทวนพอร์ตตัวโครงงานนวัตกรรมนั่นเอง โดยเด้กๆบอกว่า มีห้องสัมภาษณ์อยู่ 2 ห้อง เราเข้าห้องใดห้องหนึ่งเพราะเหมือนกัน ต่างกันที่ห้องขวามือ เป็นห้องเชือด อาจารย์จะจี้ถามแหลก เจาะๆๆ อีกห้องนึงเป็นห้องปลอบ อาจารย์จะใจดีมากถามไปยิ้มไป ก็แล้วแต่ว่าใครจะได้เข้าห้องไหนแล้วแต่ดวง นะครับ โดยคำถามหลักๆก็จะถามว่า
- โครงงานที่ส่งนี้ ทำอะไร มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร
- เรามีหน้าที่ทำอะไร เราทำอะไรบ้าง
- บางคนอาจจะโดนถามเจาะลึกมากกว่า
ส่วนห้องพัก ก็คือเป็นห้องประชุมหรือห้องเรียนที่ไม่มีใครอยู่เลย ให้มานั่งสงบจิต(ไม่ใช่ดับจิตนะครับ) 7 นาที ก็นั่งตุ้มๆต่อมๆไป ไม่มีโทรศัพท์มือถือให้รูดไปไถมา ก็ได้แต่มองไปรอบๆ มีกระดาน white board มีตะกร้า มีกระดาษ A4 มีโทรทัศน์……… มีกล้อง !!!!!! ห๊ะ !!!!!!!! แต่ๆๆๆๆๆ กล้องเงยหน้าขึ้นเพดาน ไม่ได้ส่องมาที่เรา . . . .
STATION 1
เมื่อเดินเข้าไปในห้องที่ 1 ก็จะเจออาจารย์ 2 ท่าน นั่งอยู่หลังโต๊ะ ส่วนหน้าโต๊ะก็เป็นเก้าอี้สำหรับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ บนโต๊ะจะมีกระดานอยู่ 3 แผ่น แต่ละแผ่นก็จะมีหมายเลขกำกับเอาไว้ หมายเลข 1A 1B และ 1C
ให้หยิบแผ่นกระดานขึ้นมาตามลำดับข้อ แล้วพลิกด้านหลัง ก็จะมีคำถาม ให้อ่านคำถามแล้วตอบ โดยให้เวลา 7 นาทีสำหรับทั้ง 3 คำถาม ให้ตอบไล่ไปทีละคำถาม เมื่อตอบเสร็ขแล้วก็ไปคำถามต่อไป จนครบทั้งสามคำถาม ให้รอจนกริ่งหมดเวลาดังจึงออกจากห้องสอบเพื่อไปห้องต่อไปได้
น่าจะเป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ยากนัก แต่จะตอบยังไงให้ตรงใจกรรมการ หรือตรงกับหลักจริยธรรมทางการแพทย์ หรือตามหลักสิทธิมนุษยชน และ/หรือ ตามธงที่อาจารย์ได้ปักเอาไว้ เช่น เป็นสิทธิของคนไข้ที่จะเลือกวิธีการคลอด เพราะคนไข้เป็นผู้จ่ายค่าคลอด บลาๆๆๆๆๆๆๆ …… ตอบได้หลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกก็คือ ให้เรารักษาบุคคลิกให้ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาฉะฉานมีหางเสียง รักษา eye contact ให้เหมาะสม ก็น่าจะผ่านไปได้ด้วยดี
ข้อนี้ก็เช่นเดียวกัน อย่างที่บอกหลายๆคำตอบไม่มีถูกไม่มีผิด คำตอบเหล่านั้นสมเหตุสมผลตามแต่แต่ละสถานการณ์หรือไม่
เอาจริงๆ ข้อนี้ก็ตอบได้ไม่ยาก คิดตามความรู้สึกขั้นพื้นฐานของเราเลย แต่คำว่า “เพราะเหตุใด” ของแต่ละคน อาจจะเป็นตัวบ่งบอกคะแนนก็ได้
STATION 3
ก็จะเหมือนๆกับ Station ที่ 1 คือ มี 3 คำถามเป็น 3A 3B และ 3C
ในส่วนของคำถามนั้น ก็ทำนองเดียวกันกับ STATION 1
การทดสอบสุขภาพจิต
ปีที่ผ่านๆมา การทดสอบสุขภาพจิต MMPI (Minnsota Multiphasic Personality Inventory) เราจะเห็นว่าเป็นรูปแบบ 330 ข้อหรือ 300+ ข้อ แต่ปีนี้ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบและโครงสร้างเป็นประมาณนี้
การตรวจผลคะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษ
เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องพูดถึงในปีนี้ เพราะมีผลกระทบไปทั่วทุกคณะ/มหาวิทยาลัยที่ใช้คะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ก่อนหน้านี้ก็ทราบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้มีการให้นักเรียน Login เพื่อแสดงผลสอบให้ตรวจสอบในวันสอบสัมภาษณ์เช่นกัน
แต่ประเด็นที่พูดถึงในวันนี้ วันสอบสัมภาษณ์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็คือ การรอเพื่อให้ถึงคิวในการเข้าไป Login เพื่อแสดงผลสอบให้อาจารย์ตรวจสอบ บางคนบอกว่ารอถึง 4 ชั่วโมง
เราก็เลยสงสัยว่า ทำไมถึงได้รอคอยนานขนาดนั้น เลยสอบถามจึงได้ความว่า สาเหตุหลักๆคือ
+ มีคอมพิวเตอร์เพื่อให้ตรวจผลสอบ เพียงแค่ 2 เครื่อง และต่อมาในภายหลังได้เพิ่มอีก 1 เครื่อง
+ เมื่อ Login เข้าไปและแสดงผลสอบให้อาจารย์ อาจารย์ก็จะ capture และพิมพ์ออกมาเพื่อส่งให้กรรมการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
+ เด็กจำ password ไม่ได้ เพราะว่าจดอยู่ในกระดาษบ้าง อยู่ในโทรศัพท์บ้าง แต่ทั้งหมดนั้นไม่ได้ติดตัวมา เพราะต้องฝากเอาไว้ข้างนอก ปีต่อๆไปก็คงต้องมีการปรับกระบวนการขั้นตอนกัน น่าจะดีขึ้น เรื่องนี้แก้ไขได้ไม่ยาก
“แต่ได้ยินอาจารย์พูดอยู่ครับ ว่าปีหน้าจะไปใช้ห้องคอม ให้เด็กเปิดไว้เลยแล้วค่อยเดินดูน่าจะเร็วกว่าเยอะครับ” น้องๆบอกมา
อื่นๆ
ก็มาดูว่า เด็กๆพูดถึงวันนี้อย่างไรบ้าง
mmi Olympic
- มี 4 ห้อง
- 2 ห้องพัก 2 ห้องสัมภาษณ์ที่มีอาจารย์
( ทุกคนจะได้ sequence สัม พัก สัม พัก ) - ห้องพักไม่มั่นใจว่าเก็บคะแนนไหม แต่มีกล้องวงจรปิดค่ะ
- ไม่มีห้องกดดัน ไม่ถามพอร์ต ไม่ถามว่ามามช. แน่เหรอ
- หนูชวนอจ.คุยเล่นได้ แต่ไม่นับคะแนนนะคะ
- ห้องสัมภาษณ์ คำถาม(เหมือนที่มีเพื่อนสรุปเลยค่ะ)
- ถ้า นร.เป็น นศพ. ปฎิบัติงานที่ห้องฉุกเฉิน มีคนไข้ฉุกเฉิน ต้องเจาะเอาน้ำคั่งออกจากปอด นร.จะทำอย่างไร จะทำไหม
- ถ้าเป็นแพทย์ และ cpr ผู้ป่วยไม่ขึ้น จำทำอย่างไรต่อไป
- ผญ 30ปี แข็งแรง ไม่อยากคลอดธรรมชาติ เพราะกลัวเจ็บ จะทำอย่างไร
สวัสดีดีค่าพ่อโชค หนูไปสัมภาษณ์เมื่อวานมาค่ะ พอดีว่าหนูตอบคำถามเร็วเลยเหลือเวลา อาจารย์ชวนคุยเยอะมากค่ะ อาจารย์เป็นกันเองใจดีมากๆ ตอนตอบคำถามก็ยิ้มตอนคุยกันก็ยิ้ม และดูสนใจในตัวเด็กมากๆเลยค่ะ
กรรมการ2คนต่อห้องครับ ตอนแรกมีการชี้แจงก่อนเข้าสอบว่าแต่ละห้องจะมีคำถาม3ข้อ A B C วางปิดอยู่บนโต๊ะ มีเวลาให้7นาทีในการตอบทุกข้อรวมอ่านโจทย์ บริหารเอาเอง มีกริ่งเตือนตอน3.5นาที ต้องทำเรียงข้อ ถ้าตอบcเสร็จแล้วเวลาเหลือก็กลับไปตอบข้อa,bไม่ได้ครับ แต่ตอนสัมจริงกรรมการทุกห้องอนุญาตครับ และพยายามถามว่ามีเวลาเหลือ อยากตอบข้อไหนเพิ่มไหมครับ
บางห้องบอกว่ากรรมการไม่ได้บอกอะไรเลยค่ะ. ท่านนิ่งอย่างเดียว และไม่ได้ถามว่าอยากตอบอะไรเพิ่มอีกไหม.. และเพื่อนอีกห้องบอกว่าอาจารย์อนุญาตให้กลับไปตอบข้อก่อนหน้านั้นใหม่ได้ค่ะ
ลูกไปคนเดียว บอกว่า มองๆ เด็กมากับครอบครัวกันทั้งนั้น เด็กในกลุ่มก็จะเล่าลงคอร์ส mmi (อย่างนี้ คอร์ส MMI ไม่จำเป็นเลย ตัดทางทำมาหากินพวกติวเตอร์ได้เลย จะได้ไม่ต้องเสียเงินด้วย)
เด็กที่อยู่เลขท้ายๆ กับถูกกรรมการบอกว่าให้พูดเร็วๆ เวลาไม่พอใจ ..ตลกมาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผมO เกือบท้ายสุดเลยนะครับ คิดว่าขึ้นกับเจอกรรมการท่านไหน(วงไหน)มากกว่าครับ
เนื่องจากมีเวลาคอยนานมาก เด็กๆก็จับกลุ่มคุยกัน เขาก็เปิดใจกันแต่ละที่ จะส่งที่ไหนกันบ้าง ทำงานอะไรกันบ้าง เด็กๆเขาคุยกัน ไม่รู้ว่าเป็นแค่กลุ่มลูกเราหรือเปล่านะ
ส่วนตัว ยังงัยก็มองว่ามาจาก วิชาการงานเด็กใน Port มากกว่าคะ เรียงตามความสามารถของเด็กแต่ละคน MMI แทบไม่มีผล เพราะคำถามเดียวกันหมด น่าจะเลือกมาก่อน ยิ่งไปเสียเวลากับ ปริ้น IELTS …
(ส่วนตัวมองว่า มันก็ต้องเป็นคำถามเดียวกันหมดนะครับสำหรับทุกๆคน)
ที่คุยกับลูก น่าจะเหมือนๆกันค่ะ เตรียมตัวมาเยอะ เตรียมซ้อมเขียนศัพท์ไทยมาก็เยอะ เด็กอินเตอร์กลัวห้องเขียนไทยสุด 😄 มาเจอแค่ 2 ห้อง คำถามไม่ซับซ้อน เพื่อนๆตอบได้และตอบเหมือนๆกันหมด เลยกังวลว่าวัดจากอะไร
(น่าจะมีจุดสังเกตุในการวัดได้นะครับ ในหลายๆมุมมอง)
อาจารย์คงมีคีย์เวอร์ดในแต่ละคำถามค่ะ เด็กๆ ต้องดึงคำตอบให้แมตช์กับ จรรยาบรรณแพทย์ให้ได้ และนำเสนอมุมมองตัวเอง คำถามง่ายตอบให้ดูแพง มันยากนะคะ คหสต งานนี้ไม่ง่ายค่ะ
(คิดเหมือนกันเลย)
อยากให้ระบบเห็นใจเด็กๆมากขึ้น3ปีกับการปั้นportไม่ง่ายและมีคุณค่า เด็กหลายๆคนที่รักการเป็นแพทย์ คงเสียใจที่ความทุ่มเทของเขาจบลง แล้วต้องไปเริ่มนับ1ใหม่นมสนามTCAS3 ซึ่งถ้าเด็กผ่านเกณฑ์เอาข้อสอบวิชาการมาdouble checkอีกรอบ และเห็นว่าเด็กพร้อมจะเรียนแพทย์ได้รอบ1 น่าจะรับเลย แล้วเหลือที่ว่างอีกเท่าไหร่ค่อยไหลไปTcas2,3 คหสต. ที่มองเด็กๆและสงสารกับความทุ่มเทของเขาค่ะ
เครื่องคอมที่ให้เช็คคะแนน ielts มี 2 ตัวค่ะ สำหรับ 3 กลุ่มแรกที่สัมภาษณ์เสร็จก่อน ทำข้อสอบจิตวิทยาเสร็จก็มาต่อคิว log in คะแนน ielts ค่ะ (ค่อยมาเพิ่มอีก 1 เครื่องตอนหลัง)
ปัญหาที่ช้า มาจากเด็กลืมรหัส password ค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะจดโน้ตในมือถือหรือกระดาษที่กรรมการไม่ให้นำเข้าค่ะ ใครจำได้ก็สามารถพิมพ์ออกมาได้เลย แต่ใครจำไม่ได้ตอนหลังให้ติ๊กชื่อไว้แล้วเรียกมา log in ให้ดูภายหลังค่ะ
บางห้องกรรมการไม่ได้ให้ย้อนกลับไปตอบข้อเดิม แบบนี้การสัมภาษณ์มันจะมีความยุติธรรมมั้ยคะ ทั้งๆที่ประกาศก่อนสอบว่าไม่ให้ย้อนไปตอบข้อเก่า แต่พอเข้าห้องสอบ บางห้องบอกย้อนได้ บางห้องบอกย้อนไม่ได้ ทั้งๆที่เกณฑ์คะเเนน30%เหมือนกัน ไม่เข้าใจค่ะ
หรือแค่ทดสอบมั้ยคะๆ เพราะว่าทุกคนรู้กฏกันอยู่แล้ว ไม่น่ามีใครย้อนไปตอบค่ะ
ห้องหนูมีเวลาเหลือประมาณนาทีกว่า อาจารย์ก็ถามว่า มีเวลาเหลืออยากตอบต่อไหม แต่ก็ปฏิเสธอาจารย์ไปค่ะ
ห้องลูก กรรมการก็ไม่พูดอะไรเลยค่ะ นั่งนิ่งๆ มองหน้ายิ้มหวานให้กันอยู่ประมาณ 30 วิ 😄 เดาว่าห้องที่ให้พูดเสริม อาจจะเหลือเวลาเยอะมั้ยคะ แต่ก็อาจจะไม่มีผลกับคะแนนก็ได้นะคะ อาจจะถือเอาคำตอบแรกเป็นหลัก
MMI 30 % วัดอะไรไม่ได้เลย ส่วนใหญ่เด็กไปรอเปิด IELTS แถวยาว ใช้เวลานานมาก ( คอมมี 2 เครื่อง ) เด็กเกือบ 200 คน คำถามส่วนใหญ่เหมือนๆกัน
สัมเสร็จบอกลูกสาว ไม่เป็นไรค่ะ เราทำดีที่สุดแล้ว อย่าเสียใจ move on ให้เร็วต่อจากนี้ ให้เป็นหน้าที่ของกรรมการและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 😅😅
ลูกเล่าให้ฟังว่าเพื่อนลูกที่อยู่ I
เล่าว่าในห้องสุดท้ายของ I กรรมการถามเค้าว่า ถ้าได้เข้ามาอยู่ในคณะแพทย์ สนใจจะทำนวัตกรรมเรื่องอะไรที่เป็นประโยชน์กับคณะได้บ้าง ด้วยอ่ะค่ะ เหมือยมงจะลงเลยนะคะ😁😅
E ไม่เห็นมีถามอะไรแบบนี้นะคะ แอบๆนอยส์ปนอิจฉาแทรค I เลยค่ะ ลูกเราเตรียมคำตอบไปซะดิบดี ไม่มีให้ตอบเลยค่าาา
ตอบยากมากกกก กรรมการจะชอบแนวไหน เชื่อทุกคนมีของดี เป็นของตัวเอง
ไม่สามารถเดาคาดการณ์ได้เลยว่าจะติดตัวจริงไหม ได้แต่ลุ้นอย่างเดียว มช. ยากมากกกก
ลูกไปไกล บินเดี่ยวคนเดียว ผญ. ครั้งแรกด้วย ผู้ปกครองไม่ว่างสักคนค่ะ มีแต่ผู้ปกครองทั้งนั้น ลูกทักมาเหงาไหม บอกนิดนึง แต่หนูเข้ากับคนง่าย แป๊บๆ เพื่อนตรึม
เราก็มาไกลลุ้นเช่นเดียวกันค่ะ 😅 อุปสรรคมีไว้พุ่งชน
อาจจะมีวิธีจัดการอย่างไรคงต้องคิดเนาะ เราก็แค่คิดๆ แตืก็ยอมรับกติกามหาลัยทุกอย่างแหละ ส้มแล้วก็จบ บ่นๆไปค่ะ
โอว งั้น 30 คะแนนี้ น่าจะมองหา character อะไรบางอย่างที่เหมาะกับ มช แล้วละมั้งคะ แล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิตละค่ะ หวังว่าจะได้ไป meet&greed กับพ่อโชคค่ะ เพี้ยง
การติดตัวจริงนี่คงต้องสวดมนต์วนไปจริงๆ🥹
ในมุมของผมมองว่าน่าจะรู้นะครับ เป็นกฏที่อธิบายได้ง่ายๆใน5วิ ’ห้ามคุยกับเด็ก’ แต่เกณฑ์การให้คะแนนอาจจะไม่ได้เคร่งครัดมากครับ บางท่านเลยอาจจะมองว่าแบบไหนก็ไม่ต่างกัน (ไม่ส่งผลต่อคะแนน) เลยชวนเด็กคุยเล่นไม่ให้บรรยากาศตึงเครียดครับ
ส่วนลูกสาวสอบเสร็จตั้งแต่เมื่อวานวันนี้เงียบอย่างเดียวเลยค่ะ มีแต่บอกว่าหนูเตรียมไปเยอะมากๆค่ะ แต่ไม่มีถามเลย คำถามที่ถามมีแค่จริยธรรมทางการแพทย์ค่ะ
ของIDPใส่ username/password เสร็จ มันต้องกรอกข้อมุลเลขบัตรประจำตัวประชาชนกับวันเดือปีเกิดลงไปในเว็บอีกทีเพื่อดูคะแนนสอบครับ จากนั้นเขาจะให้แคปหน้าจอ
เป็นแบ่งกลุ่มช่วงเช้าครับ ครึ่งนึงไปสัมภาษณ์ก่อน อีกครึ่งทำmmpi+ปริ้นผลคะแนนครับ
เห็นด้วยครับ นับเวลาที่มีให้พูดจริงๆแค่14นาทีครับ (ส่วนตัวคิดว่าคำถามปีที่แล้วสามารถใช้จินตนาการต่อยอดตอนตอบได้เยอะกว่าครับ ปีนี้หลายคนใช้เวลา14นาทีไม่ครบด้วยซ้ำเพราะไม่รู้จะตอบให้ยาวๆยังไงครับ)