แพทย์เชียงใหม่ รอบ PORTFOLIO ปีการศึกษา 2568

เป็นคณะแพทย์ที่ออก Requirement มาแทบจะเป็นที่สุดท้ายเลยเพราะต้องออกพร้อมๆกับทางมหาวิทยาลัย ไม่สามารถแตกแถวได้ (เฮ้ออออออ) ยังมีของมหาวิทยาลัยบูรพา และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเข้าใจว่ารับในรอบ 1.2 ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ก็ไม่เป็นไร เรามาค่อยๆดูของแพทย์เชียงใหม่กันดีกว่า

กำหนดการคร่าวๆ

+ เปิดรับสมัคร Online : 05 – 14/11/67
+ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ : 12/12/67
+ สอบสัมภาษณ์ Onsite รูปแบบ MMI : 21/12/67
+ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกครั้งที่ 1 รอบ 1.1 : 13/01/68
+ ยืนยันสิทธิ์ “ภายใน มช.” : 13-14/01/68
+ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกครั้งที่ 2 รอบ 1.2 : 24/01/68
+ ยืนยันสิทธิ์/สละสิทธิ์ “ภายใน มช.” : 24-28/01/68
ผู้ที่ยืนยันสิทธิ์รอบ 1.1 แล้วสามารถสละสิทธิ์ : 24-28/01/68
+ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกครั้งที่ 3 : 31/01/68

ตามที่เราติดตามมากันตั้งแต่ปีที่แล้วหรือหลายๆปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่อง timeline ที่ขัดๆกันอยู่ทำให้คนที่สอบได้ที่อื่นที่ชอบกว่า ไม่สามารถสละสิทธิ์ที่เคยยืนยันไว้กับ มช. ได้ ก็เลยทำให้เกิดที่ว่างในรอบนี้ยกไปรอบต่อไป

อย่างน้อยปีนี้ก็น่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ในเรื่องของการเรียกสำรอง เพราะถ้าดู timeline ของมหาวิทยาลัยหลักๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดที่นั่งว่างนั้น ปีนี้
+ รามาประกาศผล : 17/01/68
+ ศิริราชประกาศผล : 23/01/68
+ เชียงใหม่ให้สละสิทธิ์ได้ : 24-28/01/68
+ เชียงใหม่เรียกสำรอง : 31/01/68

นอกจากนี้ก็ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ทราบผลก่อนวันสละสิทธิ์ที่เชียงใหม่ปิดลง เช่น
+ NMU ประกาศผล : 17/01/68
+ CICM ประกาศผล : 13/01/68

คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน และภาพรวม

ในเรื่องของวุฒิการศึกษานั้น ปีนี้ที่แตกต่างจากปีที่แล้วคือ ไม่ได้รับ GED แล้ว ปีที่แล้วเป็นปีเดียวที่เปิดรับ GED ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีคนที่ใช้ GED เข้ากี่คน

ซึ่งนอกเหนือจากนั้นก็ยังคงเหมือนเดิมคือรับเด็ก ม.6 ไม่รับเด็กซิ่ว ยกเว้นโครงการ E สำหรับนักเรียนนานาชาติที่รับซิ่วไม่เกิน 2 ปี

ที่มีเพิ่มเติมอีกอย่างก็คือ GPAX ที่ปรับเปลี่ยนจาก ≥ 3.00 มาเป็น ≥ 3.50

ACDEMIC ACHIEVEMENT

จะคล้ายๆเดิมก็คือมีให้เลือกว่าจะใช้เกณฑ์ไหน ซึ่งที่ simple ที่สุดก็คือ การใช้เกรดเฉลี่ยรายวิชา GPA แต่ว่ากันว่าปีนี้โหดกว่า 3-4 ปีที่ผ่านมา ที่บอกว่าโหดก็เพราะว่า ปีนี้มีการปรับเกณฑ์ขั้นต่ำของ GPA รายวิชาเป็น 3.50 จากเดิม 3.00 ซึ่งเท่าที่ทราบ มีเด็กๆหลายคนตกม้าก่อนลงสนามเยอะมาก เตรียมพร้อมมาเต็มที่ ไม่นึกว่าจะมาตายแบบนี้ ก็ต้องเดินหน้าหาที่ที่ใช่

ถ้าดูแล้วเกรดรายวิชาไม่สามารถจริงๆเนื่องจากมันย้อนเวลากลับไปแก้ไขไม่ได้แล้ว ก็ต้องลองดูตัวเลือกถัดๆไป ซี่งก็มี

  • BMAT ≥ 12C (ซึ่งปีนี้เป็นปีสุดท้ายแล้ว)
  • IB
  • AP
  • MCAT ≥ 510 (สงสัยว่าจะเอามาแทนที่ BMAT ในปีหน้า แต่เขาว่ากันว่าคะแนนสูงเว่อร์ระดับมหาเทพ ถ้าเทียบกับ BMAT 12C)

ก็จัดตามสะดวกเลยครับ

จำนวนรับ น้ำหนักคะแนน

ที่เห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงก็คือ

  • โครงการ E ที่รับเพิ่มขึ้นอีก 5 คน เป็น 25 คน
  • โครงการ E และ O ในรอบ 1.1 จะมีการแบ่งน้ำหนักจำนวนรับนักเรียนภาคเหนือและไม่ใช่ภาคเหนือ อัตรา 6:4
  • โครงการ E เพิ่มน้ำหนัก English Proficiency จากเดิท 40% เป็น 45% โดยลดน้ำหนักคะแนนกิจกรรมอื่นๆจาก 15% เป็น 10%
  • โครงการ I ปรับน้ำหนักของงานนวัตกรรมเป็น 35% (เดิม 25%) และตัดเอากิจกรรมด้านอื่นๆออก
  • โครงการ I มีการระบุว่า เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับ Health Science – นวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งปีที่แล้วไม่ได้ระบุ
  • โครงการ I มีการปรับเปลี่ยนแบบฟอร์มเพื่อให้ตรงกับลักษณะของงานนวัตกรรม (เปลี่ยนเยอะมาก)

E – English โครงการเรียนดีภาษาอังกฤษ

ปีนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ค่อยๆดูกันไปนะครับ จากประกาศด้านล่าง ขอสรุปประมาณนี้เลยนะครับ

ACADEMIC ACHIEVEMENT

+ นักเรียนหลักสูตรสามัญ
++ ไม่รับซิ่ว
++ GPAX ≥ 3.50
++ GPA ชีววิทยา เคมี ภาษาอังกฤษ ≥ 3.50 หรือ มีผลการสอบ IB หรือ AP หรือ BMAT หรือ MCAT ตามที่กำหนด

หมายความว่า ถ้าเกรด GPA เราผ่านเกณฑ์ก็ไม่ต้องไปสนใจหลังคำว่า หรือ แล้ว แต่ถ้า GPA ไม่ผ่าน ก็ต้องไปหาสอบคะแนนมาตรฐานเหล่านั้นมาแทน ซึ่งปีนี้ได้เพิ่ม MCAT เข้ามาอีกสนามหนึ่งแต่หลายท่านก็คิดว่าทำไมเพิ่งมาบอก คะแนนสูงไปไหม ผมคิดว่ามันเป็นความต้องการหลายประเด็น อย่างแรกก็คือ อาจจะบอกเป็นนัยๆว่า ปีหน้าไม่มี BMAT แล้ว เราจะรับ MCAT แทนนะ และอย่างที่ 2 ในเวลาเดียวกัน คะแนนขั้นต่ำถ้าสูงไป ปีหน้าก็ปรับใหม่ (หรือปรับไปใช้ตัวอื่น หรือเอาออกเลย เหลือแค่เกรด GPA ก็ได้)

+ นักเรียนหลักสูตรนานาชาติ
++ รับซิ่วไม่เกิน 2 ปี

PORTFOLIO และการให้น้ำหนักคะแนน

+ ENGLISH PROFICIENCY (45%)
++ นักเรียนหลักสูตรสามัญ IELTS ≥ 6.5 หรือ TOEFL iBT ≥ 79
++ นักเรียนหลักสูตรนานาชาติ IELTS ≥ 7.0 หรือ TOEFL iBT ≥ 100

ทั้งนี้ IELTS จะไม่รับผล IELTS One Skill Retake
ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนภาษาอังกฤษนั้น ก็น่าจะแปลผันตามช่องที่เรากรอกคะแนน

+ กิจกรรมหรือผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์ (10%)
กิจกรรมที่ทางคณะระบุมาว่า ไม่นับ เป็นผลงานของหัวข้อนี้ ยกตัวอย่างเช่น
++ การแข่งขันหรือตอบปัญหาทางด้านการแพทย์และหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์
++ การบริจาคให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์
++ การเรียนคอร์สออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำถามที่ตามมาก็คือ กิจกรรมอะไรบ้างที่อยู่ในหัวข้อนี้? ซึ่งผมเองก็ตอบไม่ได้หรอกครับว่าอาจารย์ท่านจะมีการพิจารณาอย่างไร แต่ถ้าดูจาก portfolio ที่ผ่านตาและเด็กๆสามารถเข้าไปเรียนได้ ก็ขอเรียงตามความสำคัญประมาณนี้นะครับ (ความสำคัญของผมหมายถึงความน่าจะเป็นในการให้น้ำหนักคะแนน โดยดูจากเนื้องานที่เราได้ทำในกิจกรรม และการ reflect ออกมาโดยการเขียนว่า ได้อะไร ได้แนวความคิดเยี่ยงไร จากกิจกรรมนั้นๆ)
++ เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพแพทย์ที่โรงพยาบาล (Doctor Shadowing)
++ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งตามชุมชนและชนบท มีบางคนขึ้นดอยด้วย(น่าสนุก น่าอิจฉา ชอบแบบนี้)

ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ยังเห็นมีบางคนนำเสนอกิจกรรมประมาณนี้ (ก็ต้องชั่งน้ำหนักนะครับว่า จะเรียกคะแนนจากอาจารย์ได้มากน้อยขนาดไหน)
++ ค่ายอยากเป็นหมอ ค่ายแพทย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
++ OpenHouse ของคณะแพทย์
++ ฝึกประสบการณ์ที่คลีนิคแพทย์ คุณลุง คุณพ่อ อะไรประมาณนั้น
++ ขึ้นรถกู้ภัย (น้าปอ น้าร่วม ประมาณนั้น) ไปฝึกการทำงาน(คหสต. น่าจะต้องได้รับอนุญาต หรืออะไรในระดับหนึ่ง เพราะอาจจะเป็นงานที่มีความเสี่ยงบ้าง)
++ อื่นๆ

+ ผลงานด้านอื่นๆ 1 ผลงาน (10%)
ก็มีหัวข้อให้เลือกอยู่ 4 กลุ่มด้วยกันว่าเราจะนำเสนอผลงานกลุ่มไหน ไม่ว่ากลุ่มไหนก็คะแนน 10% เหมือนกัน ดังนั้น เลือกผลงานที่มันมีคุณค่าที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ในการนำเสนอ
++ นวัตกรรม / งานวิจัย
++ คุณธรรม/จริยธรรม/จิตอาสา/บำเพ็ญประโยชน์(ไม่นับการบริจาคทุกชนิด)
++ กีฬา/ศิลปะ/ดนตรี
++ งานทางวิชาการ/การแข่งขันวิชาการ
ซึ่งจากผลงานที่เรานำเสนอนั้น ก็ยังมีการแบ่งอีกด้วยว่าเป็นผลงานในระดับใด ซึ่งเราคงมองเห็นและสังเกตุได้นะครับว่า มันเหมือนลำดับขั้นบันใดการให้คะแนนเลย(คหสต.)
++ การอบรม / สมัครเรียน
++ ระดับโรงเรียน
++ ระดับจังหวัด/เขต/มหาวิทยาลัย
++ ระดับชาติ
++ ระดับนานาชาติ
ลึกไปกว่านั้น ยังมีให้เลือกนำเสนออีกว่า ผลงานนั้น
++ ได้รับรางวัล
++ ไม่ได้รับรางวัล
++ อื่นๆ (เช่นเกียรติบัตร . . .)
และสุดท้ายก็คือการเขียนรายละเอียดอธิบายว่าเราได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมนั้นอย่างไร(ทำอะไรบ้าง) และความภาคภูมิใจในสิ่งที่เรานำเสนอ ก็คือการเขียน reflection ไปแหละว่า มันทำให้เรารู้สึกอย่างไร ได้อะไรจากการทำงานนี้ ได้แนวคิดอะไร เอาไปต่อยอดอะไรได้บ้าง หรือบางคนก็เขียนเป็นแบบว่าสัจธรรมเลยก็มี แฮะๆ

+ STATEMENT OF PURPOSE (5%)
++ แนะนำตัวเองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลับเชียงใหม่
++ จุดมุ่งหมายในชีวิต
++ ทัศนคติ
++ ความถนัดในการเรียน
++ กิจกรรม งานอดิเรกต่างๆ
++ หรืออะไรที่แสดงความเป็นตัวตนของเรา

,มีข้อกำหนดในเรื่องของการเขียนว่า
++ พิมพ์เป็นภาษาไทย (เท่านั้น) . . . ปีที่แล้วไม่มีคำว่าเท่านั้น ปีนี้ใส่มา ก็ไม่ต้องอธิยายอะไรเพิ่มนะครับ เพราะปีทีแล้วไม่มีคำว่า “(เท่านั้น)” จึงมีการสอบถามไปว่า ภาษาอังกฤษ ได้ไหมเยอะพอสมควร ปีนี้ก็ชัดเจนดีนะครับ

การคัดเลือกเข้าสอบสัมภาษณ์

การคัดเลือกเข้าสัมภาษณ์จะพิจารณาจาก PORTFOLIO ตามที่กล่าวในหัวข้อที่แล้ว รวมทั้งหมด 70% นำมาเรียงคะแนนแล้วคัดเลือกเข้าสอบสัมภาษณ์แบบ MMI Multiple Mini-Interview จำนวน 75 คน

การคัดเลือกเข้าศึกษา

การคัดเลือกก็จะพิจารณาจากผลคะแนนที่ได้จาก PORTFOLIO (70%) และผลคะแนนจากการสอบสัมภาษณ์ MMI อีก 30% แล้วเอามาจัดเรียงคะแนน เพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในรอบ 1.1

ในการคัดเลือกเข้าศึกษานั้นปกติแล้ว มช. จะรับเป็นรอบ 1.1 และ 1.2 แต่ปีนี้มีพิเศษมากกว่าปีก่อนๆ มีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มขึ้นในรอบ 1.1

+ ในรอบ 1.1 ให้สัดส่วนที่นั่งสำหรับผู้สมัครที่เรียนใน 17 จังหวัดภาคเหนือ 60% และผู้สมัครที่ศึกษาอยู่นอกเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ 40%
+ แปลว่า จำนวนที่จะรับในรอบ 1.1 จำนวน 20 คน นั้น ก็จะแยกพิจารณาคัดเลือกเป็น
++ เด็กที่เรียนโรงเรียนใน 17 จังหวัดภาคเหนือจำนวน 12 คน
++ เด็กที่เรียนโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือจำนวน 8 คน
+ นี่ผมแอบคิดไปถึงว่า ในการเรียกเข้าสัมภาษณ์ ก็จะเรียกตามสัดส่วนด้วยหรือไม่? เดี๋ยวว่าจะโทรไปถาม

แปลว่าจากคะแนนที่ได้(Portfolio 70% + MMI 30%) และจัดเรียงคะแนนโดยแยกเป็น นร.ภาคเหนือ และ ไม่ใช่ นร.ภาคเหนือ เพื่อคัดเลือกตามสัดส่วน

+ ในรอบ 1.2 จะพิจารณาจากผู้ที่เคยผ่านการสอบสัมภาษณ์ MMI โดยจะไม่มีการรับสมัครเพิ่มในรอบนี้
และการคัดเลือกจะไม่ได้มีการแยกสัดส่วนภาคเหนือแล้ว โดยหลักวิธีการคัดเลือกจะใช้คะแนนจากสองส่วน
++ ส่วนแรกคือ คะแนนจากรอบ 1.1 คิดเป็น 80% นั่นคือ (Portfolio 70% + MMI 30%) x 0.8
++ ส่วนที่สอง มาจากคะแนน TGAT ซึ่งจะนำมาปรับเป็นคะแนนแบบ T-SCORE คิดเป็น 20%

ที่โทรสอบถามมา ในกรณีที่รอบ 1.1 มีผู้ไม่ยืนยันสิทธิ์ หรือ สละสิทธิ์ ก็จะยกที่นั่งว่างไปรอบ 1.2 และในกรณีที่รอบ 1.2 มีผู้ไม่ยืนยันสิทธิ์ หรือ สละสิทธิ์ ก็จะไปเรียกสำรองในการเรียกครั้งที่ 3 (วันที่ 31 มกราคม 2568)

อย่างน้อยปีนี้ก็น่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ในเรื่องของการเรียกสำรอง เพราะถ้าดู timeline ของมหาวิทยาลัยหลักๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดที่นั่งว่างนั้น ปีนี้
+ รามาประกาศผล : 17/01/68
+ ศิริราชประกาศผล : 23/01/68
+ เชียงใหม่ให้สละสิทธิ์ได้ : 24-28/01/68
+ เชียงใหม่เรียกสำรอง : 31/01/68

นอกจากนี้ก็ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ทราบผลก่อนวันสละสิทธิ์ที่เชียงใหม่ปิดลง เช่น
+ NMU ประกาศผล : 17/01/68
+ CICM ประกาศผล : 13/01/68

เป็นกำลังใจให้เด็กๆทุกท่านครับ

++ แบบฟอร์ม PORTFOLIO ส่วนที่ 1 ++

รายละเอียดในตัวเอกสารส่วนที่ 1 ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องข้อมูลส่วนตัว GPAX GPA และผลคะแนนภาษาอังกฤษเป็นหลัก ท่านสามารถ download แบบฟอร์มแล้ว เขียนหรือพิมพ์ลงในแบบฟอร์มได้เลยครับ

++ แบบฟอร์ม PORTFOLIO ส่วนที่ 2 ++

ในส่วนที่ 2 นี้ ก็จะเป็นเรื่องของกิจกรรมผลงานของเรา ซึ่งอาจจะไม่เหมือนที่อื่นๆ เพราะมีให้ใส่แค่ไม่กี่ชิ้น ดังนั้นจะเลือกชิ้นไหนมานำเสนอก็ต้องคิดให้รอบด้านนะครับ จริงๆรายละเอียดเขียนไว้บ้างแล้วด้านบน

O Olympic โครงการ เรียนดีโอลิมปิก

จะพยายามหาส่วนที่ไม่เหมือนกับโครงการ E มาสรุปให้นะครับ ของโครงการ O D I จะดูง่ายกว่า E เพราะว่ารับเฉพาะเด็กหลักสูตรสามัญ ไม่ได้รับหลักสูตรนานาชาติ

+ GPAX และ GPA ก็ใช้เกณฑ์เดียวกันกับ E
+ ตารางของ English Proficiency จะต่างกับ E หน่อย ซอยช่องมากขึ้น เกณฑ์ขั้นต่ำก็ไม่เท่ากัน แต่จะไปเหมือนกับ D และ I
+ O D I จะรับคะแนน TOEFL ITP ด้วย
+ แบบแสดงข้อมูล สอวน. สสวท. เปลี่ยนแปลงไปจากปีที่แล้วหน่อย ไม่มีแยกวิชา เคมีกับชีววิทยา ออกมา แต่ก็มี ผปค.ได้โทรไปถามแล้ว ก็ได้ความว่า น้ำหนักคะแนนสำหรับวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ก็อาจจะมากกว่าหน่อย

ส่วนที่ 2 ของ O ก็จะเหมือนกับของ E ข้างต้น เพียงแต่ว่า ไม่มีผลงานหรือกิจกรรมอื่นๆ มีเพียงแค่ประสบการณ์วิชาชีพแพทย์ และ SOP และจุดที่แตกต่างกันอีกจุดคือ O จะไม่ได้เน้นคำว่า “เท่านั้น” ตรงที่ให้พิมพ์เป็นภาษาไทย เพราะ O ไม่เคยมีปัญหาเรื่องนี้มาก่อน
สรุปแล้วส่วนที่ 2 ก็จะมีอยู่สองเรื่องคือ
+ ผลงานที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางการแพทย์
+ SOP

D DataScience โครงการแพทย์วิทยาการข้อมูล

สำหรับโครงการ D นั้น ส่วนที่ 1 ก็จะเหมือนกันโครงการ O แต่ในส่วนที่ 2 นั้น ของ D จะมีผลงานเพิ่มมาอีก 1 ชิ้น นั่นก็คือผลงานทางด้านวิทยาการข้อมูล ดังนั้นสรุปแล้ว ในส่วนที่ 2 ของโครงการ D ก็จะมีดังนี้
+ ผลงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
+ ผลงานที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางการแพทย์
+ SOP

I Innovative นวัตกรรม

ปีนี้เป็นปีที่ 2 สำหรับโครงการ I ซึ่งปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าเป็น Major Change ก็ได้ในส่วนที่ 2 เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างและการให้น้ำหนักคะแนน

เรามาเริ่มจากส่วนที่ 1 ก่อนละกัน ก็จะเหมือนกับโครงการ O D เพียงแต่ตัดส่วนที่เป็นหน้ารายงานผล สอวน. สสวท. ออก เพราะว่าโครงการ I ไม่ได้ใช้

ในส่วนที่ 2 ที่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลง ก็คือ ได้ตัวในส่วนของ “กิจกรรมอื่นๆ” ออก และเพิ่มน้ำหนักคะแนนไปให้ที่ผลงานนวัตกรรม และที่สำคัญสุดก็คือ ได้มีการจำกัดว่าจะต้องเป็น “ผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์” ซึ่งทำให้ผู้ที่มีผลงานนวัตกรรมที่มุ่งมั่นจะส่งโครงการ I จำนวนมาก ไม่สามารถส่งได้ จะถอยกลับไปทำนวัตกรรมทางการแพทย์ก็ไม่ได้แล้ว เพราะผลงานแต่ละชิ้นใช้เวลา 1-2 ปีทั้งนั้น และแบบฟอร์มในส่วนของนวัตกรรมทางการแพทย์ก็เปลี่ยนเป็นเฉพาะของโครงการนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากปีที่แล้วที่ใช้แบบฟอร์มของผลงานอื่นๆ ซึ่งดูแล้วเป็นโครงการที่จะต้องเขียนรายละเอียดเยอะที่สุด

สรุปแล้วส่วนที่ 2 ของโครงการ I ก็จะมี
+ ผลงานทางด้านนวัตกรรมทางการแพทย์
+ ผลงานประสบการณ์ทางการแพทย์
+ SOP


อื่นๆ

แพทย์เชียงใหม่ รอบ PORTFOLIO ปีการศึกษา 2567 – Official