บางลำภู

ของกินบางลำพู

บางลำพูรอบเก็บตก …. หนักไปทางของกิน … หาของกินบางลำพู

รอบเก็บตก รอบนี้มาเดินหลังจากมาครั้งแรก 1 สัปดาห์พอดี คราวนี้เดินเล่นคนเดียว อยากเดินไปไหนก็ไป ไม่ได้วางแผนมาก่อน แต่ที่แน่ๆ จะมาหา… ของกินบางลำพู ก็เลยเลือกที่จะมาจอดรถที่อาคารจอดรถของ กทม.  ความจริงแล้วแถวๆนั้น เราสามารถจอดรถแบบเสียค่าบริการได้หลายที่ เช่นตามวัดต่างๆ หรือบางท่านก็อาจจะจอดริมถนนในที่ที่ กทม. อนุญาติให้จอด(เป็นเวลา) แต่ไปจอดให้เป็นที่เป็นทางดีที่สุดครับ เพราะว่าย่านนั้นเดินไปทางไหนก็น่าสนใจทั้งนั้น ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โบราณสถาน วัดวาอาราม แหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ และที่สำคัญ … ของกินเยอะมาก อร่อยมาก … ในตอนแรกที่เคยรีวิวไปแล้วก็คือตอนที่เดินเข้าตามตรอกออกตามซอย ย่านวัฒนธรรมเก่าแก่ของบางลำพูนะครับ ติดตามอ่านได้จากที่นี่ บางลำพู เดินเข้าตรอก ออกตามซอย เยี่ยมชมวัฒนธรรมพื้นบ้านเมื่อครั้งยังเฟื่องฟูเป็นศูนย์กลางของพระนคร จอดรถเสร็จแล้วก็เดินออกมาทางด้านหน้า ซึ่งตรงด้านหน้าทางเข้าอาคารจอดรถเลย … ที่เขาบอกว่ามาแล้วต้องกินน๊ะ ต้มยำกุ้ง สุดอร่อย … เส้นทางการเดินของเราวันนี้ก็เน้นเรื่อง กิน กิน กิน แล้วก็กิน กินเท่าที่จะกินได้ ซึ่งจะแตกต่างกับวันแรกที่เดินชมแหล่งวัฒนธรรม เราเดินขึ้นมาทางด้านหน้าของห้างตั้งฮั่วเส็ง … โอวววววว แม่เจ้า ของกินที่เห็นแล้วถูกปากถูกใจดีแท้ … ของกินบางลำพู …

บางลำพูรอบเก็บตก …. หนักไปทางของกิน … หาของกินบางลำพู Read More »

พิพิธบางลำพู

พิพิธบางลำพู ชวนมาดูวิถีชุมชนเก่าแก่ชาวบางกอกย่านบางลำพูกัน

พิพิธบางลำพู พิพิธบางลำพู ฟังชื่อแล้ว ก็น่าจะมาจาก พิพิธภัณฑ์+บางลำพู อะไรทำนองนั้น แต่ผมไม่รู้ที่มาที่ไปอย่างแท้จริงหรอกครับ ด้วยความบังเอิญว่ากำลังสืบหาข้อมูลบางอย่างอยู่แล้วมาเจอ facebook ของสถานที่แห่งนี้ แว๊บบบบบบแรกก็รู้สึกสนใจขึ้นมาทันที(อาจจะเป็นความสนใจตามอายุขัยกระมัง) ก็เลยกดเข้าไปดูรายละเอียด ปรากฏว่าเขากำลังจะมีงาน เสวนาในหัวข้อเรื่อง “เสน่ห์บางลำพู ธนารักษ์คู่ชุมชน” ในวันรุ่งขึ้น …. ก็เนื้อเต้นสิครับ อยากไปๆ ก็เลยสอบถามไป ปุ๊บๆปั๊บๆ คืนนั้นก็โอเคไปล๊ะกันวันพรุ่งนี้ อิอิ เดิมทีอาคารสถานที่แห่งนี้ เคยเป็นโรงพิมพ์คุรุสภามาก่อน และ ก่อนหน้านั้นก็เป็น โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของกรมธนารักษ์ อาคารหลังนี้ออกแบบโดย พระสาโรชรัตนนิม แบ่งเป็นอาคารสองหลัง อาคารหลังแรกอยู่ริมถนนพระสุเมรุ ก่ออิฐถือปูนแบบเบาเฮาส์ ที่มีลักษณะหลังคาสูง และมีหน้าต่างรายล้อม ชั้นบนทำด้วยไม้สัก ส่วนอาคารด้านหลังซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางลำพู หรือ คลองรอบเมืองตรงข้ามกับวัดสังเวช มีลักษณะเป็นโถงสูง ทำจากไม้สักและไม้สแบก ได้รับอิทธิพลการออกแบบจากศิลปะอาร์ตเดคโคที่นิยมสร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคแรกๆที่ออกแบบโดยคนไทยในยุคสมัยรัชกาลที่ 7  ซึ่งที่ตรงนี้เป็นของ พระยานรนารถภักดี(เอม) ณ มหาไชย ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ขอใช้บ้านพระยานรนารถภักดี เพื่อเป็นที่จำหน่ายแบบเรียน หลังจากนั้นที่ดินก็ตกเป็นที่ราชพัสดุ ในภายหลังได้มีการรื้อและซ่อมแซมอาคารเดิมปรับปรุงเป็นโรงพิมพ์ในปี …

พิพิธบางลำพู ชวนมาดูวิถีชุมชนเก่าแก่ชาวบางกอกย่านบางลำพูกัน Read More »