วันก่อนได้มีโอกาสไปเดินวนไปวนมาในห้องประชุมอเนกประสงค์ ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ก็อยากจะรู้ผสมกับอยากให้คำปรึกษากับคนที่คิดว่าน่าจะมีปัญหา เพราะเดินผ่านแว๊บเดียว เห็นกระดาษคำตอบที่กำลังนั่งดูนั่งจดนั่งจ้องกันอยู่ ก็รู้แล้วว่า มี หรือ ไม่มี ปัญหา
ก็เลยจำลักษณะการระบายคำตอบที่ผิดของหลายๆคนเอาไว้ แล้วนำกลับมานั่งระบายตามที่จำได้(ตัวเลขอาจจะไม่ใช่ แต่ลักษณะการระบายเป็นเช่นนี้) ซึ่งปรากฏอยู่ตามรูป ซึ่งจะเห็นได้ว่า ยังมีการผิดที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเด็กๆที่ระดับ ป.6 ป.5 ส่วนใหญ่จะเพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรกในสนามสอบ หลายคนก็เคยเจอมาบ้างแล้วในสนามสอบอื่น หรือจากการเตรียมตัวมาล่วงหน้าที่จะมาเจอการระบายคำตอบแบบนี้
การที่มาเจอ มารู้ตัว มาได้ฝึกฝนก่อน ย่อมเป็นเรื่องดี ดีกว่าเข้าไปผิดพลาดในสนามสอบจริง ซึ่งลักษณะการระบายกระดาษคำตอบแบบนี้ เราจะต้องเจอไปอีกหลายปี มีทั้งการสอบแข่งขัน การสอบเข้า ม.4 การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งลักษณะกฏเกณฑ์ก็จะแตกต่างกันไปบ้าง จึงเน้นย้ำอยู่เสมอว่า ให้อ่านกฏกติกาการทำข้อสอบทุกครั้ง ซึ่งความยากอยู่ที่เด็กๆยังอยู่ในวัยประถมปลาย แต่ถ้าคนอื่นทำได้ เข้าใจได้ เราก็ต้องทำได้สิ . . .
แต่ในวันที่เรามีประสบการณ์แล้ว ในวันที่เรามีวัยวุฒิมากขึ้น การทำข้อสอบลักษณะนี้ในโอกาสต่อๆไปก็น่าจะง่ายขึ้น ไม่น่ามีปัญหา ปัญหาอยู่ที่ด่านที่จะต้องเจอข้างหน้านี้ คือด่านสอบคัดเลือกเข้า ม.1 กันแล้ว . . . ฮึดกันนะครับ …
กระดาษคำตอบ !!!
ในการสอบ Samsen Pre-test แบบ Onsite ที่ผ่านมาในช่วง 4-5 ปีหลัง เราได้เห็นภาพกระดาษคำตอบซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นว่ามีอยู่ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ใช้สำหรับห้องเรียนพิเศษในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ รูปแบบที่ใช้ในวิชาภาษาอังกฤษและการสอบในรอบปกติ
ซึ่งถามว่า แล้วจะเหมือนกับกระดาษคำตอบในการสอบคัดเลือกจริงไหม? ซึ่งก็ไม่น่าจะเหมือนในส่วนของรอบห้องเรียนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ เพราะว่าสอบคนละเวลากัน คณิตศาสตร์สอบเช้า วิทยาศาสตร์สอบบ่าย แต่รูปแบบการระบายคำตอบน่าจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก หรือ อาจจะพูดว่าน่าจะไปในแนวทางเดียวกัน
อันนี้คือตัวอย่างของกระดาษคำตอบการสอบ pre-test เมื่อสองปีก่อนที่ได้มีการเผยแพร่ออกมาพร้อมกับข้อสอบ(กระดาษเฉลยคำตอบ) เราแค่เอามาลบการระบายคำตอบออกเพื่อให้เป็นแบบฟอร์มปล่าว เผื่อว่าเด็กๆจะได้เอาไปฝึกหัดระบายคำตอบได้
ส่วนกระดาษคำตอบรูปแบบที่สอง หรือที่เราเรียกกันว่า “กระดาษคำตอบในตำนาน” นั้นไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ความยากจะอยู่ที่ขนาดและความถี่ ซึ่งขนาดของนางก็จะประมาณ 1 ใน 3 ของกระดาษ A4 หรือเท่ากับกระดาษ Leaflet (โบชัวร์ที่พับเป็น 3 ท่อน) ดังนั้นข้อมันก็จะเรียงถี่ๆหน่อย แต่อย่ารันข้อผิดละ ผิดข้อเดียวก็ยาวเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบรอบห้องเรียนปกติที่ทั้ง 5 วิชาจะอยู่บนกระดาษคำตอบเดียวกันจากข้อ 1- 120 (คณิตศาสตร์ 20 ข้อ อีก 4 วิชาวิชาละ 25 ข้อ)
ผิดตรงไหน? พลาดยังไง?
ก่อนอื่นอยากจะขอนำคำชี้แจงหรือคำสั่งที่ปรากฏบนข้อสอบ Pre-Test ในปีนั้นว่ามีกฏกติกาการระบายคำตอบอย่างไร ซึ่งเข้าใจว่าก็จะคล้ายๆหรือเหมือนกันทุกปี และจะคล้ายๆกับแนวทางการสอบเข้าจริงด้วยหรือปล่าว!!!
ซึ่งถ้าเด็กๆได้ตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจก่อนเริ่มทำข้อสอบ หรือฟังคำอธิบายของครูคุมสอบ มีสติ สมาธิ ก็น่าจะทำได้ถูกต้องกฏระเบียบนะครับ
สรุปง่ายๆคือการระบายคำตอบ ต้องระบายทั้ง 6 หลัก ก่อนทศนิยม 4 หลักและหลังทศนิยม 2 หลัก ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเท่าไหร่ และที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ คุณภาพการระบาย เพราะอย่าลืมนะครับว่า การตรวจเขาใช้เครื่องตรวจ ไม่ได้ใช้คนหรือครูในการตรวจ ดังนั้นจึงบอกว่าคุณภาพในการระบายก็ต้องดี ชัดเจน เต็มวงกลม ดีพอที่เครื่องจะอ่านได้แบบสบายๆ แต่ก็อย่าได้ซีเรียสมากจนเกินไป
คราวนี้ก็มาดูรูปแบบการผิดในแบบต่างๆ ลองดูกระดาษคำตอบนี้เป็นตัวอย่าง แล้วดูว่าข้อไหนบ้างที่ทำถูกต้อง
ดูคร่าวๆ ก็พอจะนึกออกนะครับ ว่าอันไหน OK อันไหนไม่โอเค เดี๋ยวเราจะมาสรุปเป็นข้อๆนะครับ
ข้อ 26) ลักษณะนี้เจอมากที่สุด เพราะว่าคิดคำตอบได้เท่าไหร่ ก็ตอบแบบนั้น ระบายเท่านั้น
ข้อ 27) อันนี้เป็นวิธีการระบายคำตอบที่ถูกต้อง ที่มองว่าน่าจะโอเค
ข้อ 28) คำตอบและการระบายคำตอบจะเหมือนกับข้อ 27 เลย แต่อาจจะเจอปัญหาเรื่องเครื่องไม่อ่านผลได้ เนื่องจากการระบายที่ไม่เต็มเม็ดวงกลม
ข้อ 29) ระบายไม่ครบ 6 หลัก ทั้งหน้าและหลังทศนิยม
ข้อ 30) ถึงแม้จำนวนเต็ม(4 หลักกน้าทศนิยม) จะเป็น 0 ก็จะต้องระบาย 0 ทั้ง 4 หลักด้วย
ข้อ 31) คือการระบายที่ถูกต้อง
ข้อ 32) อันนี้ผิดแบบไม่เข้าใจเลย ก็แนะนำ ผปค. ไปว่า ให้กลับไปให้ลูกลองทำข้อสอบ pre-test ใหม่ โดยใช้กระดาษคำตอบแบบนี้แหละ
ข้อ 33) ก็น่าจะโอเคเน๊อะ
ข้อ 34) ระบายไม่ครบ 6 หลัก
บทสรุป
ก็ลอง download ข้อสอบและกระดาษคำตอบให้ลูกลองทำดูใหม่ได้นะครับ เพื่อฝึกฝนและทำความเข้าใจ
มีอีกหนึ่งคำถามที่เจอมากในวันดูกระดาษคำตอบก็คือ คำตอบที่เป็นตัวเลขที่เขียนอยู่บนช่องก่อนระบายคำตอบ ตกลงต้องเขียนด้วยปากกาหรือใช้ดินสอเขียนก็ได้ เพราะหลายคนไม่อยากเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทั้งเสียเวลาและกลัวพลาดเอาปากกาไประบายวงกลมตรงคำตอบ
ซึ่งจริงๆแล้ว ถ้าเราอ่านตามแนวปฏิบัติ จะเห็นได้ว่าเขาบอกว่าให้ใช้ปากกาเขียน ซึ่งก็ถูกต้องที่สุด (ความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่อยากให้ไปมีผลต่อเครื่องอ่าน หรือ เวลาที่มีการทักท้วงและมาขอดูกระดาษคำตอบ ก็จะเห็นได้ชัดเจนไม่เลือกลาง แต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ แฮะๆ คิดไปเรื่อย) แต่ที่ผ่านมา หลายคนมาก ก็ใช้ดินสอเขียนไปเลย บางคนไม่เขียนเลยก็มี
คำถามตามมาอีก ถ้าใช้ดินสอเขียน หรือ ไม่เขียนเลย จะผิดไหม? ความเห็นส่วยตัวอีกนั่นแหละ คิดว่าไม่น่าเป็นไร เพราะเครื่องจะอ่านจาก pattern ของการระบายคำตอบด้วยดินสอเท่านั้น (กับเลขประจำตัวผู้สอบ)
Download ข้อสอบได้ที่นี่
https://www.facebook.com/SamsenPretest/posts/pfbid01HTqeGm4nBquCG5CVTXkvka7kbfE12hPK1TMaHN2BHMTQgAY1VMQ6K8oVSeeinYjl