Aerospace Engineering – วิศวกรรมการบินและอวกาศ.. etc

ด้วยความที่ว่าไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย แต่มีคนพูดถึง ถามถึง ก็เลยลองหาข้อมูลดูว่า มันคืออะไร เรียนได้ที่ไหน จบแล้วทำอะไรได้บ้าง . . . ฯลฯ

จริงๆแล้ว วิศวกรรมการบิน อาจจะเป็นสาขาหนึ่งในบางภาควิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในหลายๆมหาวิทยาลัย แต่ทุกวันนี้เริ่มเปิดตัวเองมากขึ้น บางที่บางแห่งก็จะเป็นคณะ บางแห่งก็เป็นภาควิชา และบางแห่งก็ยังคงเป็นสาขาวิชาอยู่

เป็นที่สงสัยกันแหละว่า เขาเรียนอะไรกันบ้าง จริงๆหลักๆพื้นฐานคณะวิศวกรรมก็คือวิชา Drawing จำได้เลยว่าสมัยเรียนชอบมากวิชา Drawing ซึ่งก็ได้เอามาต่อยอดในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ก็ต้องเรียนรู้พวกโครงสร้างของอากาศยาน จรวด ยานอวกาศ (ขีปนาวุธด้วยไหม? เฮอะๆ) การวางแผนการสร้างอุปกรณ์การบินต่างๆ รวมทั้งเรียนรู้ระบบต่างๆยิบยับภายในตัวเครื่องทั้ง ระบบการสื่อสาร ระบบเครื่องยนต์ ระบบพลังงาน ระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบความดันภายในตัวเครื่อง ฯลฯ บางที่ก็ต้องเรียนในเรื่องของซ่อม สร้าง ระบบสำคัญที่เกี่ยวข้องด้วย

ที่แน่ๆ ไม่ได้มาหัดขับเครื่องบินนะครับ ไม่ใช่นักบิน แต่ก็สามารถไปเรียนต่อและสอบเป็นนักบินได้ในภายหลัง


จบแล้วไปทำงานอะไร?

จะมาเรียนก็ต้องรู้ก่อนว่าเรียนจบแล้วสามารถไปทำงานอะไรที่ไหนได้บ้าง ซึ่งจะว่าไปแล้วเป็นอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบกับความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะการมีความผิดพลาดย่อมหมายถึงความเสียหายมหาศาลที่จะตามมา จึงทำให้อาชีพนี้อาจจะได้รับค่าตอบแทนสูงหน่อย

  • วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานต่างๆ ก็น่าจะตามสนามบิน
  • วิศวกรซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ JET
  • วิศวกรควบคุณวงโคจรและสถานีดาวเทียม
  • วิศวกรด้านการบริหารการจัดการในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการบินและอวกาศ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การซ่อมบำรุงและอุตสาหกรรมอื่นๆ
  • วิศวกรการบินและอวกาศ
  • วิศวกรโครงสร้างอากาศยาน
  • วิศวกรด้านการจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
  • วิศวกรออกแบบและสร้างอากาศยาน เครื่องยนต์เจ็ท ดาวเทียม
  • วิศวกรฝ่ายวางแผนการซ่อมบำรุงอากาศยานและชิ้นส่วนประกอบ
  • วิศวกรควบคุมวงโคจรและสถานีดาวเทียม
  • วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรมโครงสร้างและอากาศพลศาสตร์
  • วิศวกรโครงการ
  • วิศวกรเครื่องจักรใหญ่
  • เจ้าหน้าที่ด้านจราจรทางอากาศ
  • เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารการจัดการอุตสาหกรรมและธุรกิจการบินและอวกาศ
  • เจ้าหน้าที่ด้านควบคุมมาตรฐานการเดินอากาศ

มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง

สถาบัน มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนในสาขาวิชานี้ หรือที่ใกล้เคียง ทั้งในระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท เช่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

โรงเรียนนายเรืออากาศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


ISE CU (AERO)

เป็นหลักสูตรนานาชาติที่เรารูจักกันในชื่อ ISE CU หรือ International school of Engineering


KU Aerospace & Aviation


Assumption University of Thailand

สอนให้คุณรู้ว่าโลกของการบินนั้นถือว่าเป็นสากลและสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งก็ตรงกับหลักสูตรของเอแบคที่เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ซึ่งมีประโยชน์มากในการทำงานในสายการบิน เรียนเจาะลึกแบบรู้จริง ในด้านอุตสาหกรรมการบินจากครูฝึกบินโดยตรง หลักสูตรนี้มี 2 แขนง คือ
1. นักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License) (CPL): อาชีพในฝันของหลายๆคน กับเงินเดือนหลักแสนขึ้นไป หลักสูตรที่ได้รับรองโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คุณจะได้ฝึกบินกับ BAC โรงเรียนการบินชั้นนำที่เป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย คุณจะ มีทักษะในการฝึกบินเครื่องบินแบบ Cessna เก็บเกี่ยวชั่วโมงบิน นอกจากนั้นครูฝึกบินจะพาคุณไปสอบ License CPLพร้อมที่คุณจะเป็นนักบินพาณิชย์ในอนาคต
2. ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance) (AME): สาขายอดฮิตในอนาคตกับเงินเดือนที่สดใสพร้อมรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค คุณจะได้เรียนการสอนตรงสายซ่อมบำรุงของเครื่องบิน Cessna โดยผู้สอนที่มีประสบการณ์ในสายงานอุตสาหกรรม เช่น การบินไทย ไทยแอร์เอเซีย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ