พูดถึงองค์ประกอบภาพรวม ไม่ได้พูดถึงสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เพราะทุกอย่างส่งผลกระทบซึ่งกันและกันอยู่ มันเกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมเรียกสำรองกันเยอะมากมาย เรียกแล้วเรียกอีก แล้วจะมีจุดสิ้นสุดตรงไหน?
เอาแบบเบสิกๆก่อนละกันก็คือ ม.1 เพราะว่าตัวแปรน้อยกว่าสอบเข้า ม.4 ตัวแปรสำคัญหลักๆก็คือ
- วันสอบคัดเลือก
- วันประกาศผล
- วันรายงานตัว / วันมอบตัว
ของบรรดาโรงเรียนสังกัดต่างๆประมาณนี้
- โรงเรียนสังกัด สพฐ
- ห้องเรียนพิเศษ
- ห้องเรียนปกติ
- โรงเรียนสาธิต ต่างๆ
- โรงเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เช่น จุฬาภรณราชวิทยาลัย
- โรงเรียนเอกชน และ โรงเรียนอื่นๆ
สิ่งสำคัญคือ ตาราง Schedule ของแต่ละกลุ่มโรงเรียนนี้
ผมสมมติ sequence เป็นอย่างนี้นะครับ
ยกตัวอย่างง่ายๆเอาเฉพาะโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่มีการสอบรอบห้องเรียนพิเศษ ประกาศผล มอบตัว เสร็จแล้วมีการสอบรอบปกติของ สพฐ. ประกาศผล มอบตัว / ถ้าสมมติว่าเด็กที่สอบได้รอบห้องเรียนพิเศษโรงเรียน A เรียบร้อยแล้ว และมาสอบได้รอบห้องเรียนปกติโรงเรียน B ตัดสินใจเลือกเรียนที่โรงเรียน B
ซึ่งหมายความว่า โรงเรียน A ก็จะต้องเรียกตัวสำรอง / อันนี้คือตัวอย่างเล็กๆนะครับ
ตัวอย่างที่สอง สมมติว่าโรงเรียนสาธิต C ซึ่งเป็นเป้าหมายสำหรับหลายๆครอบครัว สอบและประกาศผล หลัง สพฐ. ทั้งสองรอบ และเด็กๆก็แห่มาเรียนที่ โรงเรียน C นั่นก็หมายความว่า ก็ต้องสละสิทธิ์ โรงเรียนที่เคยสอบได้และมอบตัวไปแล้ว ก็อาจจะเกิดผลกระทบส่งผลไปถึงแบบตัวอย่างแรกด้วย
ต่อมาโรงเรียนสาธิต D ซึ่งก็เป็นเป้าหมายใหญ่ของครอบครัวเด็กเก่งเด็กล่าเหรียญล่ารางวัล รวมทั้งเด็กที่มีเป้าอยู่ที่โรงเรียนสาธิ C และโรงเรียน สพฐ. ทั้งหลาย จัดสอบ และประกาศผล มอบตัว
คราวนี้ก็เป็นการกระทบกันเป็นลูกโซ่เลยครับ
เกิดมีโรงเรยีพิเศษวิทยาศาสตร์แทรกเข้ามาอีก ไม่ว่าจะแทรก timeline ระหว่างทาง หรือ มาท้ายสุด ย่อมเกิดผลกระทบแน่นอน
ข้างบนนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆครับ เพราะระดับ ม.1 ยังมีตัวแปลซับซ้อนน้อยกว่า ม.4 เยอะมาก
สอบเข้า ม.4 !!!
ทำไมถึงบอกว่าสอบเข้า ม.4 ตัวแปลเยอะกว่า ทั้งๆที่หลายๆโรงเรียนก็มีการรับนักเรียนของตัวเองในระดับ ม.3 ขึ้นมาอยู่ ม.4 อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่า นั่นทำให้ที่นั่งสำหรับเด็กที่จะสอบเข้ามาก็จะมีน้อยด้วย
เรื่องมันเยอะกว่านั้น เรามาดูตัวแปลว่ามีอะไรบ้าง (เท่าที่พอนึกออก)
- โรงเรียนที่ไม่มีการเรียนการสอนในระดับมัธยมต้น เช่นโรงเรียนเตรียมอุดม (ความจริงโรงเรียนเตรียมอุดมจัดอยู่ในโรงเรียนห้องเรียนปกติของ สพฐ. เมื่อก่อนเวลาจัดสอบ ก็จะสอบรอบเดียวกันกับรอบปกติของ สพฐ. แต่โรงเรียนเตรียมอุดมมีความพิเศษอยู่ในตัวอยู่แล้ว)
- โรงเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ต่างๆเช่น MWIT / KVIS / จุฬาภรณราชวิทยาลัย / ดรุณสิขาลัย / วมว / ไคเซน / ฯลฯ
- นักเรียนเก่าของโงเรียนเลือกแผนการเรียนในระดับชั้น ม.4
- ห้องเรียนพิเศษภายในของโรงเรียนนั้นๆ
- การสอบเข้าของ สพฐ. รอบ ห้องเรียนพิเศษ มีทั้งแบบวิธีการคัดเลือกที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกันด้วย
- การสอบเข้าของโรงเรียน สพฐ. รอบห้องเรียนปกติ
- อื่นๆ น่าจะมีอีกมากมาย
ซึ่งเช่นเคย ก็ต้องมาเจอกับตัวแปรอีกกลุ่มนึงที่มีความสำคัญยิ่งยวด นั่นคือ Timeline
- วันสอบคัดเลือก
- วันประกาศผล
- วันรายงานตัว / วันมอบตัว
เห็นแค่นี้ก็ปวดหัวมากแล้ว ลองมานั่งนึก scenario ดูว่า จะมีความเป็นไปได้แบบไหน เอาที่มีข้อมูลอยู่ จะขอยกตัวอย่างจากเด็กสามเสนวิทยาลัย ว่าโอกาสหรือช่องทางที่จะสามารถไปสอบแล้วจะนำมาสู่การเรียกตัวสำรองที่มากมาย เรามองไปที่ นายสมชาย ละกัน
นายสมชาย เป็นเด็ก ม.3 ก็เลยมีสิทธิ์ในการที่จะขอเรียนในระดับชั้น ม.4 โดยการยื่นเกรด ซึ่งเกรดของนายสมชายสามารถได้สบายๆอยู่แล้ว นายสมชายเลือกแผนการเรียนวิทยาศาสตร์(ทั่วไปจะเรียกว่า วิทย์คณิต แต่ที่สามเสนเรียน วิทย์)
นายสมชายก็มีสิทธิ์ที่จะสอบคัดเลือกภายในเพื่อเข้าศึกษาต่อห้องเรียนพิเศษภายใน “ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เร่งรัดและเสริมคอมพิวเตอร์” หรือที่พวกเราเรียกกันสั้นๆว่า IMP ซึ่งจะสอบในวันสุดท้ายของการสอบปลายภาคที่สองของ ม.3 สมมติว่าสอบได้อีก (เมื่อก่อนกว่าจะรู้ผล ต้องรอคะแนน O-NET แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี O-NET แล้ว ความจริงก็น่าจะรู้ผลเร็วอยู่แล้ว)
ยัง ยังไม่จบ เป้าหมายของนายสมชายอยู่ที่โรงเรียนดังๆ ทั้งหลาย ซึ่งระหว่างนั้น นายสมชายก็อาจจะมีไปสอบโรงเรียนพิเศษอื่นๆเช่น MWIT / KVIS อีกด้วย ตามแต่ Schedule ของโรงเรียนนั้นๆจะออกมา และ บางโรงเรียนมีการคัดเลือก 2 รอบอีกต่างหาก สมมติว่าสอบได้ที่ MWIT เดี๋ยวจะเก่งเกินละ
นายสมชายเลือกที่จะสอบเข้าที่สามเสนในรอบห้องเรียนพิเศษ โดยเลือกสอบห้อง MSEP ในขณะเดียวกัน ก็ยื่นสมัครในห้อง พสวท.สู่ความเป็นเลิศด้วยเพราะใช้วิธีการคัดเลือกและสอบไม่ตรงกัน สมมติว่า นายสมชายก็สอบได้ทั้งสองห้องนี้ด้วย
นายสมชายหมายมั่นปั้นมืออยู่แล้วว่าจะไปสอบที่โรงเรียนเตรียมอุดม ซึ่งดูจากความสามารถแล้ว สอบได้อยู่แล้ว แต่จะอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ จะได้อยู่ห้องที่คาดหวังหรือไม่ นั่นอีกเรื่องนึง
เอาแค่นี้พอ นายสมชายบอกว่าที่อื่นไม่น่าสนใจละ สพฐ.รอบห้องเนียนปกติคงไม่สอบแล้วหละ เรามาดูว่า นายสมชายมีสิทธิ์อะไรบ้างอยู่ในมือ
- ห้องเรียนวิทย์
- ห้องเรียนพิเศษภายใน IMP
- พสวท. สู่ความเป็นเลิศ
- MSEP
- MWIT
- เตรียมอุดม
ความทุกข์ก็จะเกิดแก่นายสมชายละว่าจะเลือกอะไร โดยเฉพาะ 2 ตัวเลือกสุดท้าย ทั้งนี้และทั้งนั้น อยู่ที่ timeline เป็นสำคัญว่าอะไรมาก่อนมาหลังของทั้ง 6 ที่นั่งที่นายสมชายใช้ความสามารถเก็บมาได้
แต่ท้ายสุดและสุดท้าย นายสมชายไปเรียนได้ที่เดียวเท่านั้นจาก 6 ตัวเลือกนี้ นั่นหมายความว่าอย่างไร อีก 5 ที่นั่งก็จะต้องเริ่มดำเนินการเรียกตัวสำรอง และในแต่ละที่นั่งนั้น ก็อาจจะเป็นคนทุกข์หนักเหมือนนายสมชายด้วยก็ได้เพราะมีหลายเก้าอี้เช่นกันถ้าเรียกแล้วไม่มา ก็ต้องเรียกคนต่อไป แต่นั่นหมายความว่าต้องเรียกในรอบต่อไปด้วย เพราะต้องให้เลยวันที่เรียกให้มารอบตัว แล้วไม่มา ถึงจะเรียกคนต่อไปได้
หลายปีก่อน จะเห็นว่าการเรียกตัวสำรองห้อง MSEP เขาเรียกกันว่า พลิกกระดาน คือ 72 คนแรกแทบจะไม่เหลือ !!! เพราะอะไร? ก็เพราะว่าเด็กๆที่คาดหวังว่าจะไปเตรียมอุดมซึ่งจะจัดสอบทีหลัง ก็จะสมัครสอบที่นี่เพราะถ้าหลุดเตรียมอุดม อย่างน้อยที่นี่ก็เป็นทางเลือกที่ดี ถ้าเราดูจากตารางเรียกตัวสำรองย้อนหลังไป https://www.facebook.com/myremainingtime/posts/2625308314280416 ความจริงผมมีจดเอาไว้ในปี 2560 ลงไป 100+ 150+ ทั้งนั้น แต่ผมหาเอกสารทางการยืนยันไม่ได้ เลยลงเป็น NA เอาไว้
ท่านคงมีคำถามว่า อ่าวแล้วทำไมปี 2562 ถึงเรียกสำรองแค่ 10 คน เกิดอะไรขึ้น?
นั่นคือความพยายามในการหาวิธีการแก้ไขเรื่องวิกฤตการเรียกตัวสำรองแบบส่งผลกระทบวงกว้าง นั่นคือการย้ายวันจัดสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมมาตรงกันกับวันสอบเข้ารอบห้องเรียนพิเศษของ สพฐ. ซึ่งเด็กก็ต้องเลือกแล้วหละว่าจะไปสอบเตรียมฯ หรือ จะเลือกสอบพวกห้องเรียนพิเศษต่างๆเช่น MSEP / ESMTE / EP ซึ่งนั่นก็แปลว่า จะทำให้เด็กปานกลางได้มีโอกาสมาสอบและสัมผัสกับการเรียนห้องเรียนพิเศษเหล่านี้บ้าง เพราะพวกยอดวิทยายุทธ ก็ยังคงมุ่งหน้าไปสอบเตรียมกันอยู่ คนที่มาสอบห้องเรียนพิเศษก็คือเลือกแล้วที่จะเรียน ไม่ไปเสี่ยงกับสนามใหญ่
การเรียกตัวสำรอง
ว่ากันว่าการเรียกตัวสำรองของระดับชั้น ม.4 มีความยุ่งยากมากกว่าระดับชั้น ม.1 เพราะว่า ระดับชั้น ม.4 มีทั้งกระดานนักเรียนเก่า และ กระดานนักเรียนสอบเข้าใหม่ ดังนั้นเหตุที่ทำให้เกิดสำรองมาจากกระดานไหนก็จะเรียกกระดานนั้น
ถ้าการสละสิทธิ์มาจากการสอบคัดเลือก ก็จะเรียกตัวสำรองจากการสอบคัดเลือก
ถ้าการสละสิทธิ์มาจากที่นั่งของนักเรียนเก่า ก็จะเรียกจากสำรองนักเรียนเก่า จนกว่าจะหมด หลังจากนั้นก็เป็น “ดุลยพินิจ” ของทางโรงเรียน
เคยได้ยินมาว่า เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เลยจากกรอบเวลาการรับนักเรียนของ สพฐ. แล้ว โรงเรียนก็จะสามารถรับนักเรียน เปลี่ยนแผนการเรียน ตาม “ดุลยพินิจ” ของทางโรงเรียน อันนี้ไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหน
จะแก้ไขอย่างไร
บอกตามตรงเลย “ไม่รู้” ตราบใดที่ยังมีคำว่าโรงเรียนดัง โรงเรียนพิเศษ ฯลฯ เพราะ ผปค.และเด็กๆก็ย่อมจะแสวงหาสิ่งเหล่านั้นตามไปด้วย และเป็นบ่อเกิดถึงเรื่องที่กำลังคุยกันอยู่นี่แหละ
- หลายท่านก็เสนอว่า จัดสอบพร้อมกันทั้งหมดได้ไหม?
- จัดสอบรวมแล้วให้เลือกเรียงลำดับโรงเรียนเหมือน entrance
- ให้โรงเรียนดังๆจัดสอบคัดเลือกให้เสร็จสิ้นก่อนเลย
- ฯลฯ
สรุป
เคยเขียนเอาไว้สองปีที่แล้ว เนื้อหาใกล้เคียง แต่ลองอ่านดูเพื่อความเข้าใจระบบการศึกษาบ้านเราที่ดีขึ้น