จริงๆ อยากบอกว่า เท่าที่ประสบพบมาด้วยตนเอง การสอบได้รอบ Portfolio มันชั่งแตกต่างจากรอบ Admission มากพอสมควร ทั้งในเรื่องของความเครียด ความกดดัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ด้วยสภาวะที่อยู่ในสนามรบโควิดแบบนี้ . . . แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเชียรให้ทุกคนมาปักหลักที่รอบ TCAS-1 นะครับ เราต้องรู้ตัวเราเองก่อนว่าจะไปทางไหนอย่างไร แล้วทางที่อยากไปนั้นมันมีอยู่ในรอบ TCAS-1 มั๊ย ถ้ามีมันต้องลงทุนลงแรงขนาดไหน
ถ้าเราเป็นเด็กที่มุ่งมั่นเรียนอยู่แล้ว การเลือกเดินทางรอบ admission ย่อมไม่ใช่เรื่องยาก ตั้งหน้าตั้งตาเดินชนได้เลยครับ เพราะยังไงก็น่าจะได้ที่เรียนอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิดวะรอบพอร์ต
ในเมื่อท่านขอมา เราก็จัดให้ …. ความจริงมี ผปค.จำนวนหนึ่งสอบถามเข้ามาและอยากให้ช่วยสรุปให้หน่อย เรื่องการสอบเข้ารอบ TCAS-1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ภาคเรียนปกติ (ไม่ใช่พวก International School) ก็เลยคิดว่า ถ้างั้นก็สรุปเป็นว่า … วิศวะปกติรอบพอร์ต … ละกัน แต่จะเน้นวิศวะคอมพิวเตอร์ให้
เลยไปเริ่มตามหาเก็บข้อมูล ซึ่งเวลานี้ ก็เริ่มหายากละ เพราะบางมหาวิทยาลัยก็จะประกาศเป็นรอบๆ พแผ่านรอบนี้ไปก็เอาออกแล้วเอาของรอบถัดไปมาแสดงแทน ก็จะหาข้อมูลให้ไม่ได้
บางมหาวิทยาลัย จะดุ่มๆเข้าไปดูก็ไม่ได้ ต้องลงทะเบียนสมัครก่อนใส่ข้อมูลเต็มที่ … ไอเราก็ไม่กล้าเข้าไปสิ เพราะต้องใส่ข้อมูลส่วนตัวเพียบ…
ก็เลยเก็บมาเท่าที่จะเก็บได้ หามาเท่าที่จะหาได้ สรุปไปเท่าที่จะสรุปได้ บางทีก็แยกแยะไม่ออกระหว่างรอบ portfolio กับรอบ Quota ซึ่งผมเองก็อาจจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเด็กเรียนดี มีความมุ่งมั่นตั้งใจในโครงการต่างๆ
พอรวบรวมมาได้เป็น Folder แล้วก็สตั๊นไปแพ๊ลบ . . . มันเยอะเหมือนกัน ดังนั้นก็จะค่อยๆสรุปเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยไปเลยละกันนะครับ
- CMU – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- CU – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- KKU – มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- KMITL – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง
- KMUTNB – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- KMUTT – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- KU – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- MFU – มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- MU – มหาวิทยาลัยมหิดล
- NU – มหาวิทยาลัยนเรศวร
- PSU – มหาวิทยาลัยวงขลานครินทร์
- SU – มหาวิทยาลัยศิลปากร
- SWU – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- TU – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
CMU – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จะมีวิธีการรับในรอบ TCAS-1 อยู่หลายโครงการเช่นกัน
ซึ่งถ้าดูจำนวนรับแล้ว จะค่อนข้างเยอะมากๆ ในหลากหลายโครงการ สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ภาคปกติ จะ HighLight เอาไว้ให้นะครับ
รายละเอียดโครงการเท่าที่พอจะหาข้อมูลได้นะครับ
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
โครงการการรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (โครงการรับนักเรียนที่มีอัจฉริยภาพทางคอมพิวเตอร์ )
- รับ 15 คน (มีผู้ยื่น 68 คน)
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ฟิสิกส์ไม่น้อยกว่า 3.00
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) คณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3.00
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) ฟิสิกส์ไม่น้อยกว่า 3.00
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (6 เทอม) คณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3.00
- รับเฉพาะแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า
- เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
- เป็นผู้ที่ได้รับรางวัล
- เป็นผู้ที่ได้รับรางวัล (ระดับประเทศ) ในการแข่งขันโครงการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) หรือ
- เป็นผู้ที่ได้รับรางวัล (ระดับประเทศ) การประกวดโรงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (YDC.CS & YSC.EN) หรือโครงการอื่นที่เทียบเท่า หรือ
- เป็นนักเรียนจากโครงการคอมพิวเตอร์โอลิมปิกที่ผ่านเข้าค่าย 2 จากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ หรือ
- เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันวิชาการในระดับเดียวกันกับในข้อ 1-3 ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือก
- แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio)
- รูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
- ให้จัดทำเป็นรูปเล่มมีความหนาไม่เกิน 10 หน้ากระดาษขนาด A4 (ไม่รวมปกและคำนำ)
- เนื้อหาในแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
- รายละเอียดที่แสดงถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนรางวัลที่ได้รับตามที่โครงการกำหนด
- รูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
โครงการการรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (โครงการรับนักเรียนผู้มีผลการเรียนดีเด่น )
- รับ 10 คน (มีผู้ยื่น 180 คน)
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 3.50
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) คณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3.00
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ฟิสิกส์ไม่น้อยกว่า 3.00
- รับเฉพาะแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า
- เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
- เรียงความแสดงแนวคิดและความตั้งใจที่จะปฏิบัติตัวเป็นวิศวกรที่ดี (ให้นักเรียนเขียนหรือพิมพ์เรียงความเพื่อแสดงแนวคิดและความตั้งใจที่จะปฏิบัติตัวเป็นวิศวกรที่ดี โดยมีความยาวไม่เกิน 2 หน้า กระดาษ A4)
- ถ้ามีผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรม ให้แนบข้อมูลเพิ่มเติม
โครงการการรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (โครงการรับนักเรียนผู้มีความรู้ความสามารถด้านหุ่นยนต์ )
- รับ 4 คน (มีผู้ยื่น 51 คน)
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 2.75
- รับเฉพาะแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า
- เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
- เป็นผู้ได้รับรางวัลจากโครงการการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับชาติ หรือ โครงการการแข่งขันหุ่นยนต์ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมดำเนินการ
- ให้นักเรียนส่งเอกสารอธิบายรายละเอียดว่านักเรียนได้ร่วมทำชิ้นงานนี้ส่วนไหนบ้าง และร่วมทำอย่างไร โดยให้เขียนด้วยลายมือหรือพิมพ์ในกระดาษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
CU – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการของจุฬาในรอบ TCAS-1 จริงๆก็พยายามดูนะครับว่ามีอะไรบ้าง แต่ไม่แน่ใจว่าเก็บมาได้ครบไหม ลองดูนะครับ
โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จำนวนที่รับ 5 คน
หลักๆคือ ต้องอยู่ในกลุ่มเยาวชนโครงการ Genius ของ สวทช. และมีผลงานทางวิชาการระดับชาติ
โครงการคัดเลือกนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
จำนวนที่รับ
โครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จำนวนที่รับ 50 คน
KKU – มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศทางการ
ในภาคปกตินั้น ที่พวกเราๆสามารถที่จะยื่น Portfolio เพื่อทำการสมัครได้นั้น ก็จะมีโครงการนี้
ซึ่งเงื่อนไขหรือข้อกำหนด ก็เป็นเรื่องทั่วไปมาก น่าสนใจทีเดียว
แบบฟอร์ม Portfolio ก็ไม่ได้ยุ่งยาก
KMITL – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เทคโนลาดกระบังเป็นอีกที่หนึ่งที่รับรอบ TCAS-1 Portfolio เยอะมาก และอาจจะมีห3-4 โครงการ แต่จะดูรายละเอียดสำหรับนักเรียนทั่วๆไปละกันนะครับ
ซึ่งถ้าดูโครงการต่างๆที่ทางลาดกระบังรับ และ เด็กๆสามารถแทรกตัวเข้าไปได้บ้าง ยกตัวอย่างเช่นโครงการแรก เรียนดีช้างเผือกกลุ่มโรงเรียนสามัญ ซึ่งก็ค่อนข้างน่าสนใจ
ซึ่งจะต้องให้ทางโรงเรียนเราทำ List รายชื่อ ผู้มีสิทธิได้เสนอชื่อเข้าเรียน ตามเงื่อนไขของทางลาดกระบัง ถ้าเราอยู่ใน List และส่งหรือสมัครด้วยโครงการนี้เราก็มีโอกาสที่จะได้รับคัดเลือก
หรือเราจะยื่นด้วยโครงการอื่น ถ้าเราเตรียมตัวมาดีตั้งแต่ตอน ม.4 ก็น่าจะทำได้ไม่ยาก
KMUTNB – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ในรอบ Portfolio นั้นทางพระนครเหนือก็ได้กำหนดคุณสมบัติคร่าวๆในขั้นต้นไว้ดังนี้
- ม.6 สายวิทย์-คณิต เรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์+วิทยาศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- GPAX 5 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.00
- คะแนนรายวิชา คณิต-ฟิสิกส์-เคมี ไม่น้อยกว่า 2.75
จำนวนที่เปิดรับ
จะลองมาดูบางโครงการที่น่าสนใจกันนะครับ
ซึ่งด้านท้ายของประกาศโครงการนี้ ภาควิชาเหล่านี้มีหมายเหตุโทงๆแบบนี้ ก็เลยไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร แต่คิดว่าน่าจะคล้ายๆกับภาควิชาถัดไป นั่คือ จะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ (ใช่เรียกว่ามีคะแนนจิตพิสัยไหม? แฮะๆ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์เหมือนกัน แต่เป็นภาควิชาคอมพิวเตอร์
อันนี้หมายเหตุแนบท้ายชัดเจนว่า จะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งหลักๆก็จะเป็นโรงเรียนใกล้ๆมหาวิทยาลัยหรือที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี กับ โรงเรียนที่มี MOU กัน (สามเสนก็ใกล้นะ แฮะๆ แต่อยู่เขต กทม. เอ๊ะหรือว่าไม่ได้คุยกัน?)
นอกจากนี้ก็ยังมีโครงการอื่นๆอีก ทั้งเป็นภาคภาษาอังกฤษ และ โครงการนานาชาติ ลองดูเพิ่มเติมจากประกาศทางการของเขานะครับ
KMUTT – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อีกหนึ่งเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ก็มีโครงการไม่ใช่น้อย หาได้น้อยหน้ากันไม่
โครงการคัดเลือกตรงเรียนดี
นอกจากนี้ก็มี Robotic & AI ด้วย
โครงการ Active Recruitment
โครงการ Active Recruitment เป็นโครงการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีผลการเรียนดี มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน กล้าแสดงออก ส่งเอกสารหรือแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่ตนเองสนใจ
KU – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีการคัดเลือกในรอบ TCAS-1 โครงการต่างๆดังนี้
โครงการโควต้าโอลิมปิกวิชาการ
บอกแล้วไงว่ารอบ Portfolio กับรอบ Quota อาจจะแยกกันไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้นในปี 66 เข้าใจว่าจะรวม 2 รอบนี้เป็นรอบเดียวกัน จะได้ไม่เสียเวลาด้วย
โครงการเรียนล่วงหน้า
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการเรียนล่วงหน้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 15 ปีการศึกษา 2563 เพื่อเข้าศึกษาสังกัดคณะในปีการศึกษา 2564
โครงการช้างเผือก
MFU – มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โครงการรับตรงสำนักวิชา
โครงการรับผู้มีความสามารถดีเด่นด้านดนตรี นาฏศิลป์ และกีฬา
รับนักศึกษาผู้มีความสามารถทางด้านต่างๆที่ระบุ โดยคณะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมที่รับก็มีอยู่ 2 สาขาวิชา(ความจริงรับเกือบทุกสาขาวิชา)
- วิศวกรรมซอร์ฟแวร์
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
โครงการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษเน้นอังกฤษ
รับนักศึกษาผู้ที่ในระดับมัธยมปลายเรียนโครงการ English Program หรือ mini English Program โดยคณะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมที่รับก็มีอยู่ 2 สาขาวิชา(ความจริงรับเกือบทุกสาขาวิชา)
- วิศวกรรมซอร์ฟแวร์
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
โครงการเด็กดีมีที่เรียน
ก็รับทุกแผนการเรียนรวมทั้งทางด้านวิศวกรรมด้วย แต่ก็ไม่เห็นเงื่อนไขหรือคุณสมบัติเฉพาะที่ต้องการจากโครงการนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องทั่วๆไปจริงๆ ต้องลองสอบถามทางมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง
MU – มหาวิทยาลัยมหิดล
ในรอบ TCAS-1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปกติ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จำนวนรับ 25 คน
นอกจากวิศวคอมพิวเตอร์แล้ว ก็มีภาคอื่นอีกเช่น
- วิศวกรรมเคมี (ประกาศทางการ)
- วิศวกรรมเคื่องกล (ประกาศทางการ)
- วิศวกรรมไฟฟ้า (ประกาศทางการ)
- วิศวกรรมโยธา (ประกาศทางการ)
- วิศวกรรมอุตสาหการ (ประกาศทางการ)
- วิศวกรรมชีวภาพการแพทย์ Biomedical Engineering (ประกาศทางการ)
NU – มหาวิทยาลัยนเรศวร
โครงการเยอะมาก ลองดูจากประกาศรับสมัครนะครับ จะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ
โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ
สำหรับคณะวิศวะ ก็มีจำนวนที่รับตามตารางด้านล่างเลยครับ
โครงการเด็กดีมีที่เรียน
จำนวนที่รับในแต่ละภาควิชา
โครงการอื่นๆก็ลองอ่านรายละเอียดในประกาศทางการของทางมหาวิทยาลัยดูนะครับ
PSU – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี แค่โครงการเดียวก็ จุก จุก ละ เพราะว่ารับเยอะมาก และรับด้วยเงื่อนไขที่ง่ายด้วย ถ้าเราตั้งใจเรียนในห้องเรียน และผลการศึกษาที่ออกมาดี ก็คิดว่าไม่น่าพลาดจริงๆ
ด้วยคุณสมบัติทั่วไปที่คิดว่าพื้นฐานมากๆ
จำนวนที่รับในแต่ละสาขาภาควิชา รวมๆแล้ว กว่า 500 คน
ซึ่งการพิจารณาก็จะพิจารณา 2 เรื่องคือ GPAX(75%) และสอบสัมภาษณ์(25%) โดยที่การแปลงคะแนน GPAX เพื่อให้เกิดความยุติธรรมก็ด้วยการคูณด้วยสัมประสิทธิ์ที่ทางมหาวิทยาลัยคิดขึ้นโดยการใช้ลำดับที่ของโรงเรียนจากการสอบ O-NET เป็นสำคัญ ซึ่งถ้าฟังดูก็น่าจะสมเหตุสมผล
SU – มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีโครงการในการรับนักศึกษาหลายโครงการ ดังนั้น นักเรียนที่สนใจสามารถวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ในการคัดเลือกได้
โครงการรับนักศึกษาด้วย Portfolio
จะขอยกตัวอย่างของวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์
โครงการรับนักศึกษาผ่านค่ายอัจฉริยภาพวิศวศิลปากร
SWU – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โครงการเด็กดีมีที่เรียน
TU – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บอกตามตรงก็คือ หาประกาศทางการไม่เจอ เข้าไปเก็บในเว็บของมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ แต่ไปเจอชิ้นนึงจากในเน็ต ก็ขอขอบคุณเจ้าของภาพด้วยนะครับ
สรุป
สรุปสั้นๆเลยครับว่า เยอะมาก ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ ทุกภาควิชา แยกมารับในรอบแรกกันเยอะมาก อย่างที่บอกว่า รอบ TCAS-1 Portfolio และรอบ TCAS-2 Quota จะเป็นรอบที่ มหาวิทยาลัยสามารถคัดเลือกนักเรียนด้วยตนเองได้ ผิดจากรอบ TCAS-3 Admission ที่เด็กๆจะเป็นคนเลือกมหาวิทยาลัยด้วยคะแนน