ถามว่า…. ทำไมถึงต้องเป็นรอบ portfolio?
สำหรับลูกเราแล้ว ตอบได้อย่างไม่ต้องคิดมากเลยว่า … ถ้าเป็นรอบ admission โยนผ้าตั้งแต่คิดเลยครับ เพราะไม่ได้ขยันและอึดขนาดนั้น การยื่นรอบ portfolio เราสามารถเดินขึ้นลงบันใด 3 ขั้นได้ตลอด 3 ปี พูดง่ายๆสอบเก็บสะสมมาได้(IELTS อายุ 2 ปี) ไม่ได้สอบกระจุกตัวเหมือน admission เช่น สอบ final ที่โรงเรียน / สอบ GAT PAT / สอบ O-NET / สอบ 9 วิชาสามัญ / สอบ กสพท. ที่ schedule การสอบจะมาอยู่ใกล้ๆกันหมด ยิ่งปีนี้ยิ่งโหดจัด สอบเรียงกันทุกสัปดาห์เลย เด็กๆก็จะมีความเครียดและเหนื่อยมากๆ
แต่คนที่เตรียมเพื่อรอบ portfolio และสามารถจบตั้งแต่รอบนี้ ก็สบายตัวไปเลย รออีก 3-4 เดือน จึงจะไปรายงานตัว ปฐมนิเทศน์ ฯลฯ
และชีวิตจริงของลูกที่ผ่านมาสองปีกว่า ก็ไม่ได้ focus ว่าจะไปสอบรอบ admission ไม่ได้เรียน ไม่ได้ติว เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ เลข (จริงๆได้สมัครไว้บ้าง 1 – 2 ครั้ง แต่ไม่เคยเรียน) แต่เรียน Chemistry Physics Biology Mathematics ในห้องเรียน ส่วนการไปเรียนเสริมนอกโรงเรียน ก็จะเป็นพวก IELTS BMAT SAT Subject เพื่อให้รู้แนวทางและเทคนิคเท่านั้น ที่เหลือก็ตลุยโจทย์กัน
แปลว่าอะไร? ….
แปลว่า ฉันไม่ไปรอบ 3
แปลว่า ฉันไม่ไปรอบ admission แน่ๆ
แปลว่า มันต้องจบที่รอบ 1
แปลว่า มันต้องจบที่รอบ portfolio
แปลว่า ภายใน 22 ก.พ. 64 ฉันต้องมีที่เรียนให้ได้
เพราะว่าถ้าไปรอบ admission จบเห่กันพอดี
+++ ตรงนี้ที่กล่าวมา คือการเตรียมตัวของลูกผมเองนะครับ +++
เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะไม่เหมาะกับรอบนี้ก็ได้
แต่ถ้าเป็นเด็กเก่งอยู่แล้ว มีความรับผิดชอบดี ไปรอบ admission ตรงๆเลยก็ได้ครับ
แหละผมก็เห็นหลายคนก็เหยียบเรือสองแคม เตรียมทั้งสองรอบ เพราะถ้าพลาดรอบ portfolio ก็พร้อมที่จะไปรอบ admission หรือบางคนได้รอบ portfolio แล้ว แต่ก็พร้อมที่จะไปรอบ admission เช่นกัน เผื่อได้โอกาสที่ดีกว่า ส่วนใหญ่เป็นเด็กเทพ ลูกเทพ แต่บอกตรงๆว่า ทำแบบนั้นมันหนักมาก เหนื่อยมาก
ดังนั้น สิ่งที่เล่าๆมา คือ เขามีความตั้งใจที่จะให้จบในรอบ portfolio อย่างแท้จริง !!!
คนที่เครียดคือพ่อแม่ แฮะๆ เพราะก็อยากให้ลูกเผื่อทางเลือกเอาไว้บ้าง แต่สุดท้ายแล้ว ก็มีทางเลือกสำรองที่คิดว่า จบที่รอบพอร์ต ได้จริงๆ
จำนวนที่นั่งที่เพิ่มมากขึ้น
อีกเหตุผลหนึ่งที่อยากให้หลายๆท่าน เหลียวมองรอบ portfolio บ้าง (อันนี้จะไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ครอบครัวเราคิดละ) ขออนุญาตนำ ตารางชิ้นนี้มาแปะ
จะเห็นได้ว่า จำนวนที่ประกาศรับทั้งหมด(จำนวนเรียกรับ)คือ 144,993 คน และจำนวนผู้สมัครมีเพียง 151,609 คนเท่านั้น อัตราแทบจะ 1:1 เลยทีเดียว แต่ที่น่าสนใจมากกว่าก็คือ จำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา เพียงแค่ 76,416 คน นั่นเป็นตัวเลขครึ่งหนึ่งของจำนวนที่อยากจะรับเท่านั้น !!!
ตอนที่มีประกาศรับสมัครรอบ TCAS-1 หรือขื่อเล่นว่ารอบ Portfolio นั้น ผมก็ Download ประกาศของคณะ/มหาวิทยาลัยต่างๆเก็บเอาไว้ อ่านบ้างไม่อ่านบ้าง อ่านละเอียดบ้างผ่านๆบ้าง แต่สัมผัสได้อย่างหนึ่งว่า ในบางคณะบางมหาวิทยาลัย เงื่อนไขในการพิจารณาไม่ได้ยากมาก เรียกว่าง่ายเลยดีกว่า แค่ไม่ค่อยมีคนรู้ ไม่ค่อยมีคนสนใจ มุ่งมั่นที่จะไปรอบ admission ทั้งๆที่มันเป็น คณะ/มหาวิทยาลัยเดียวกัน !!!
อีกข้อมูลหนึ่งซึ่งเป็นข้อมูลอาจจะเก่าไป 2-3 เดือน เพราะตัวเลขที่เราสนใจได้เพิ่มขึ้น นั่นก็คือจำนวนเรียกรับเมื่อ 2 ธันวาคม 2563 เป็น 144,370 คน แต่ข้อมูลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือ 144,993 คน …… แต่…เราไม่ได้สนใจตัวเลขนั้น !!!
ที่อยากจะชี้ให้เห็นก็คือ จำนวนเรียกรับ หรือ จำนวนรับ ของแต่ละรอบ จะเห็นได้ว่า รอบ TCAS-1 Portfolio มีจำนวนรับมากกว่ารอบอื่นๆมากพอสมควร
ข้อมูล ทปอ….ดูได้ที่นี่ …… myTCAS.com
บทสรุป
หลายๆคนคิดว่ารอบ portfolio เหมาะสำหรับเด็กที่เก่งมากๆ มีกิจกรรมเยอะ มีการสอบแข่งขันเยอะ มีเหรียญรางวัลมากมาย เรียนก็เก่ง อะไรก็ดูดีไปหมด …แต่เรากลับมองว่า มันเป็นรอบที่มีที่นั่งจำนวนนึงสำหรับเด็กที่ไม่เก่งมาก เด็กปานกลาง มีความสามารถเฉพาะด้าน มีความมุ่งมั่นที่จะทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ เราจึงเลือกเส้นทางนี้ !!!
บทความอื่นๆที่ผ่านมา
บทความที่ผ่านมา Series samsen2U
ตอนที่ 1 – เป้าหมาย