ได้รับการบ้านเรื่องนี้มาก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่างน้อยเราก็เป็นติ่งซีรี่ย์เกาหลีเหมือนกัน แฮะๆ ก็เลยไปลองขวนขวายหามาดูว่า ที่ไหนมีบ้างน้อ…..
แต่ก่อนอื่น ลองมาคิดกันดูก่อนว่า จบทางด้านนี้แล้ว จะสามารถไปประกอบวิชาชีพอะไรกันได้บ้าง?
- พนักงานด้านภาษาเกาหลีในหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ (พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับในโรงแรม พนักงานหน่วยงานของเกาหลี)
- พนักงานแปล/ล่ามภาษาเกาหลี
- บุคลากรทางการศึกษาด้านภาษาเกาหลี(ครูมัธยม ครูในสถาบันภาษาเอกชน)
- เลขานุการในบริษัทเกาหลี หรือในบริษัทที่ใช้ภาษาเกาหลีในการดำเนินธุรกิจ
- นักเขียน/นักวิจารณ์
- อาชีพด้านการท่องเที่ยว
- อาชีพด้านสื่อสารมวลชน
ตามไปดูกัน……
มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก วิชาเอก-วิชาโทภาษาเกาหลี
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
สาขาวิชาภาษาเอเชียศึกษา (โครงการพิเศษ)
+ แบบที่ 1 เรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
+ แบบที่ 2 (7+1) เรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร 7 เทอม และที่มหาวิทยาลัยประเทศเจ้าของภาษา 1 เทอม
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 31,550 บาทต่อเทอม (แบบ 7+1 ไม่รวมค่าใช้จ่ายค่าเทอมค่าอื่นๆที่เรียนที่ต่างประเทศ)
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
https://www.su.ac.th/th/faculty-arts.php
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาตะวันออก (วิชาเอกภาษาเกาหลี)
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 16,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
https://sites.google.com/psu.ac.th/huso-academics/
มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเกาหลี
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
http://www.human.nu.ac.th/th/index.php
มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 17,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเกาหลี(วิชาโท)
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 12,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
+ เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
http://human.msu.ac.th/husoc/index.php?
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเกาหลี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี
- ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,000 บาท ต่อภาคการศึกษา (ยังไม่รวมอื่นๆ)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาโทสาขาวิชาเกาหลีศึกษา
อันนี้ก็อาจจะไม่ใช่การเรียนทางด้านภาษาเกาหลีอย่างเดียว แต่จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับประเทศเกาหลีอย่างจริงจังทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี-วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ
- ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,300 บาท ต่อภาคการศึกษา
- เปิดรับในรอบ Admission (TCAS-3)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะอักษรศาสตร์ วิชาโทภาษาเกาหลี
+ ค่าใช้จ่ายประมาณ 12,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาเกาหลี(วิชาโท)
http://www.human.cmu.ac.th/index.php
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก วิชาโทภาษาเกาหลี
http://www.east.human.ku.ac.th/2561/activities4.html
หลักสูตรและคณะระดับปริญญาตรี
Computer Graphics – Media Design – Animation – อีกสาขาที่เด็กๆถามถึง
มันมีที่มาที่ไปอยู่พอสมควร แต่เชื่อไหมว่า ส่วนหนึ่งก็มาจากพวก ipad นี่แหละ ที่เป็นอุปกรณ์ที่เด็กๆสามารถนั่งวาดโน่นวาดนี่ได้ตลอดเวลาและในเกือบๆทุกสถานที่ และส่วนใหญ่ก็จะวาดไปในแนว animation การ์ตูน รูปหนุ่มหล่อ สาวสวย ตาม idol หรือ จินตนาการ ตอนแรกก็ยังไม่รู้ว่าจะตั้งหัวข้อว่าอะไรดี เพราะเอาเข้าจริงๆ ไอเนื้องานที่คิดอยู่ในหัว มันครอบคลุมไปได้หลายคณะ บางมหาวิทยาลัยก็ตั้งชื่อผสมกันไปผสมกันมา แต่เอาที่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวอาชีพทำนองนี้ มีคณะต่างๆที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องก็คือ นิเทศ+สถาปัตย์+วิทยาศาสตร์+วิศวกรรมศาสตร์+ศิลปศาสตร์+คอมพิวเตอร์+ฯลฯ ก็แล้วแต่ว่าใครจะคิดหลักสูตรอะไรที่มันเข้ามาเกี่ยวข้องกับคณะตัวเอง ประมาณนั้น
อาชีพนักการทูต – ต้องเรียนจบคณะไหน?
ความจริงก็ไม่ได้มีความรู้ด้านนี้มาก่อนเลย ก็เลยไปลอง Search หาข้อมูล คณะทูตศาสตร์ ก็ไม่มี แต่ก็ไปเจอหลายๆบทความที่ใกล้เคียงกับโจทย์ที่ได้รับมา ก็เลยนั่งอ่าน นั่งทำความเข้าใจ หาอ่านไปเรื่อย ใครเขียนอะไรก็เชื่อ !!! จับใจความได้ว่า ถ้าเอาตรงสุดน่าจะเป็น คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความเป็นจริงยังมีคณะและสาขาอื่นๆอีกหลายแห่งที่ก็อยู่ในข่ายที่สามารถเป็นได้เช่น รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ บริหารธุรกิจ การจัดการ นิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
TCAS-1 : ทันตแพทย์รอบ portfolio ถึงจะมีน้อยแต่ก็มี
ต้องยอมรับกันอย่างหนึ่งว่า ในช่วงสิบกว่ายี่สิบปีที่ผ่านมานี้ ทันตแพทย์เป็นอาชีพที่มาแรงได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าเป็นอาชีพที่ทำเงินได้เร็ว และ มีอิสระในเรื่องของเวลามากกว่าอาชีพแพทย์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มีหลายคนที่คะแนนสามารถยื่นเรียนแพทย์ได้สบายๆ แต่ก็เต็มใจที่จะเลือกทันตแพทย์มากกว่า วันนี้ เราจะมาดูว่า สำหรับรอบ TCAS-1 หรือรอบ portfolio นั้น มีที่ไหนรับกันบ้าง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เท่าที่สืบหาข้อมูล มี 2 โครงการที่เปิดรับในรอบ TCAS-1 เป็นหลักสูตรนานาชาติ
TCAS-1 : Engineering – วิศวะรอบ 1 มีหลากหลาย
พอดีเป็นข้อมูลที่เก็บพร้อมๆกับ หมอรอบพอร์ต ที่จะไป present ให้ผู้ปกครอง EP ม.5 ฟังเมื่อสัปดาห์ก่อนโน้น (ใครมีเวลาจะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องรอบพอร์ต รวมกลุ่มนัดมานั่งคุยกันได้เลยครับ ตามร้านกาแฟ ฯลฯ ผมก็เก็บความรู้ไปเรื่อยๆด้วย) วันนี้ก็เลยเอาส่วนที่เป็น วิดวะอินเตอร์ มาลงให้ก่อน แต่จริงๆในรอบ 1 นั้น ในส่วนของวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรปกติ ก็มีเปิดรับบ้างหลายที่ แต่ดูแล้วออกไปในแนว เด็กเรียนดี หรือ ทายาทผู้ประกอบการ
TCAS-1 : หลักสูตรนานาชาติ สาย BBA – BE – EBA – EEBA
จริงๆก็ไม่มีอะไรหรอกครับ วันที่ไปนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ผปค.ท่านอื่นๆ ก็ได้ทำการบ้านในหลักสูตรแผนการเรียนอื่นๆไปบ้าง อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่า ตัวย่อมันคืออะไร 5 5 5 เพราะมันเยอะมาก !!! แน่นอนว่าทุกวันนี้ การพูดถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจต่างๆ มีหลักสูตรที่เป็นที่นิยมสมัครเข้าเรียนในแผนการเรียนหลักสูตรนานาชาติย่อมหนีไม่พ้น พาณิชยศาสตร์และการบัญชี กับ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งเอาเข้าจริงในแต่ละหลักสูตรก็ยังมีสาขาวิชาย่อยออกไปอีก สิ่งหนึ่งที่สังเกตุได้จากผลการสอบเข้าในปีที่ผ่านมานั่นก็คือ เด็กๆมาจากเกือบทุกแผนการเรียนในระดับมอปลาย ไม่ว่าจะเรียนมอปลายในสายวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ หรือ ภาษาต่างประเทศ
Samsen2U : หมอรอบพอร์ต : Medical TCAS1(Portfolio)
พอดีเมื่อวานได้มีโอกาสไปนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับ ผปค. และเด็กๆ EP วิทย์ ระดับชั้น ม.5 ซึ่งหัวข้อหลักๆก็คือ TCAS รอบ Portfolio อันเกี่ยวข้องกับ คณะแพทยศาสตร์ – วิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอื่นๆที่ปรากฏอยู่ในรอบ portfolio สิ่งหนึ่งที่รู้สึกดีใจมากๆกับการเสวนาครั้งนี้ก็คือ คำถามที่สอบถามเรื่องโน้นเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามที่มาจากเด็กๆ ทุกคำถามจะตั้งใจฟังมาก เพื่อหาคำตอบเท่าที่พอจะมีอยู่ในหัวที่คิดว่าตรงตามคำถามที่สุด แต่ก็มีบางคำถามที่ขอเก็บไปเป็นการบ้าน ก่อนไปนั่งคุย