จริงๆก็ไม่มีอะไรหรอกครับ วันที่ไปนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ผปค.ท่านอื่นๆ ก็ได้ทำการบ้านในหลักสูตรแผนการเรียนอื่นๆไปบ้าง อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่า ตัวย่อมันคืออะไร 5 5 5 เพราะมันเยอะมาก !!!
แน่นอนว่าทุกวันนี้ การพูดถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจต่างๆ มีหลักสูตรที่เป็นที่นิยมสมัครเข้าเรียนในแผนการเรียนหลักสูตรนานาชาติย่อมหนีไม่พ้น พาณิชยศาสตร์และการบัญชี กับ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งเอาเข้าจริงในแต่ละหลักสูตรก็ยังมีสาขาวิชาย่อยออกไปอีก
สิ่งหนึ่งที่สังเกตุได้จากผลการสอบเข้าในปีที่ผ่านมานั่นก็คือ เด็กๆมาจากเกือบทุกแผนการเรียนในระดับมอปลาย ไม่ว่าจะเรียนมอปลายในสายวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ หรือ ภาษาต่างประเทศ ต่างก็สามารถสอบเข้าได้เหมือนกันหมด รวมทั้งนักเรียนจากโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนอินเตอร์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเกณฑ์การพิจารณานั้น หลักๆจะเป็นคะแนนสอบที่เด็กๆต้องไปเตรียมตัวและสอบเองนอกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น IELTS – SAT
วันนี้เราจะมาดูรายละเอียด Requirement ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรบ้าง
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี (นานาชาติ)
Bachelor of Business Administration
CU – BBA
Official Website : https://bba.acc.chula.ac.th/
ด้วยจำนวนที่เปิดรับค่อนข้างเยอะพอสมควร แถมมีรอบ 1 รอบ 2 ก็เลยทำให้เด็กๆหลายคนคาดหวังกับที่นี่พอสมควร
ที่นี่จะมี 4 สาขาวิชาให้เลือก(ตอนปี 2)คือ
1. International Business Management
2. Accounting
3. Financial Analysis and Investment
4. Brand and Marketing Management
TU – BBA
Official website : http://www.bba.tbs.tu.ac.th/
คะแนนที่เพิ่มสูงขึ้นๆในแต่ละปี เป็นข้อบ่งบอกว่า ที่ธรรมศาสตร์ BBA ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่ได้รับความนิยมในระดับแนวหน้าเช่นกัน ไม่ใช่เพียงเพราะว่าคะแนนรับที่มีฐานที่สูงขึ้น แต่ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งความสำเร็จของรุ่นพี่ทั้งที่จบไปแล้วและที่กำลังศึกษาอยู่
ที่ BBA TU จะแบ่งออกเป็น 3 สาขาย่อยให้เลือกตอนปี 2 นั่นคือ
1. Accounting
2. Finance
3. Marketing
MUIC – BBA
Official website : https://muic.mahidol.ac.th/eng/programs/undergraduate-programs/business-administration/
ที่ MUIC พิเศษกว่าที่อื่นๆก็ตรงที่เปิดรับสมัครถึง 4 รอบ 4 ช่วงเวลาตลอดปีการศึกษา และที่นี่ก็แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา
1. Business Economics
2. Finance
3. International Business
4. Marketing
เศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ) Economics
หลายๆคนยังอาจจะสงสัยว่า เรียนเศรษฐศาสตร์จบแล้วไปทำงานอะไร? ถ้ามองอย่างหยาบๆคร่าวๆ ก็น่าจะเรียนเกี่ยวกับตัวเลขเอย สถิติเอย อะไรพวกนั้นเป็นหลักหรือปล่าว?
เท่าที่เห็นในทุกวันนี้ คนที่จบทางด้านนี้สามารถเข้าทำงานและเป็นกำลังสำคัญในองค์กรทางด้านเหล่านี้เช่น งานทางด้านเศรษฐศาสตร์ สถาบันการเงิน นักวางแผนการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่ปรึกษา บริษัทวิจัย สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ
CU EBA
Official website : http://www.eba.econ.chula.ac.th/
เริ่มที่แรกที่จุฬา ซึ่งก็มีคะแนนสถิติปีก่อนๆให้ดูเป็นน้ำจิ้มใน website ว่าพี่ๆที่สอบเข้าได้ ได้คะแนนกันเท่าไหร่บ้าง
TU BE
Official website : http://www.be.econ.tu.ac.th/
เศรษฐศาสตร์อินเตอร์ก็มีให้เลือกสาขาเช่นกัน
1. Theoretical and Quantitative Economics
2. Business Economics
3. Monetary and Financial Economics
4. Public Economics De elopement and Political Economics
5. Public Economics and Public Policies
KKU BEcon
Official Website : https://econ.kku.ac.th/app/webroot/cro/
เศรษฐศาสตร์อินเตอร์ ขอนแก่น ก็ถือได้ว่าเป็นการกระจายหลักสูตรอินเตอร์ให้กับเด็กๆที่อยู่ต่างจังหวัดได้มีโอกาสได้ศึกษา
KU EEBA
Official website : http://eco.ku.ac.th/2019/?page_id=8058
มีเพื่อน ผปค.แจ้ง update เข้ามาว่า ค่าเทอมนั้นในปี 1 ปี 2 อาจจะแพงกว่าที่เห็น คือตก 65,000 ถึง 75,000 บาทเลยทีเดียว และในการเลือกสาขานั้น จะได้เลือกตอนปี 3 / ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ในส่วนของสาขาต่างๆนั้น ก็มีให้เลือกดังนี้ (เลือกตอนขึ้นปี 3)
1. Economic of Logistics
2. Economic of Agricultural Business and Food
3. Economic of Information Technology, Communication and Innovation
4. Economic of Tourism and Hospitality
CMU BE
Official website : https://www.econ.cmu.ac.th/
หลักสูตรอื่นๆ
เดี๋ยวจะค่อยๆเอาที่เหลือมาลงให้นะครับ . . .
TCAS-1 : Engineering – วิศวะรอบ 1 มีหลากหลาย
พอดีเป็นข้อมูลที่เก็บพร้อมๆกับ หมอรอบพอร์ต ที่จะไป present ให้ผู้ปกครอง EP ม.5 ฟังเมื่อสัปดาห์ก่อนโน้น (ใครมีเวลาจะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องรอบพอร์ต รวมกลุ่มนัดมานั่งคุยกันได้เลยครับ ตามร้านกาแฟ ฯลฯ ผมก็เก็บความรู้ไปเรื่อยๆด้วย) วันนี้ก็เลยเอาส่วนที่เป็น วิดวะอินเตอร์ มาลงให้ก่อน แต่จริงๆในรอบ 1 นั้น ในส่วนของวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรปกติ ก็มีเปิดรับบ้างหลายที่ แต่ดูแล้วออกไปในแนว เด็กเรียนดี หรือ ทายาทผู้ประกอบการ
Samsen2U : หมอรอบพอร์ต : Medical TCAS1(Portfolio)
พอดีเมื่อวานได้มีโอกาสไปนั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับ ผปค. และเด็กๆ EP วิทย์ ระดับชั้น ม.5 ซึ่งหัวข้อหลักๆก็คือ TCAS รอบ Portfolio อันเกี่ยวข้องกับ คณะแพทยศาสตร์ – วิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอื่นๆที่ปรากฏอยู่ในรอบ portfolio สิ่งหนึ่งที่รู้สึกดีใจมากๆกับการเสวนาครั้งนี้ก็คือ คำถามที่สอบถามเรื่องโน้นเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามที่มาจากเด็กๆ ทุกคำถามจะตั้งใจฟังมาก เพื่อหาคำตอบเท่าที่พอจะมีอยู่ในหัวที่คิดว่าตรงตามคำถามที่สุด แต่ก็มีบางคำถามที่ขอเก็บไปเป็นการบ้าน ก่อนไปนั่งคุย
รีวิวสนามสอบ IELTS สมัครผ่าน IDP สอบ AUA จามจุรีสแควร์
IELTS เลือกสอบสนามไหนดี? เอาจริงๆมันก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย เพราะผลการสอบมันอยู่ที่ความพร้อม ความรู้ ความสามารถ ของผู้เข้าสอบ ส่วนสิ่งแวดล้อมอื่นๆถือว่าเป็นองค์ประกอบเล็กๆน้อยๆ เคยหาข้อมูลก่อนสมัครสอบเหมือนกันว่าแต่ละที่มีข้อดีข้อได้เปรียบ ข้อเสียข้อเสียเปรียบอะไรอย่างไรบ้าง ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่า การสมัครสอบ IELTS นั้น สำหรับประเทศไทย ณ ปัจจุบัน เท่าที่ผมรู้สามารถเลือกสมัครได้จาก 2 องค์กร นั่นก็คือ – British Council Thailand