คัดห้องคิงส์ เลื่อนชั้นไปอยู่ห้อง KING

คัดห้องคิงส์ !!!

คัดห้องคิงส์ จริงๆเป็นเรื่องที่ผมไม่มีความรู้เลย เพราะลูกเราสายเอนเตอร์เทรนไม่ได้ข้องเกี่ยวหรือแวะเวียนไปใกล้ๆแถวนั้น ก็เลยไม่ได้ใส่ใจหรือสนใจว่าจะมี “วิธีการ” ในการคัดเลือกเด็กจากห้องธรรมดาไปสู่ห้องคิงส์ หรือจากห้องคิงส์ลงมาอยู่ห้องธรรมดา

ถามว่ามันสำคัญไหม? สำหรับ ผปค. อย่างเราย่อมต้องตอบว่า “ไม่” ในทันที แต่สำหรับ ผปค.หลายๆท่าน มันมีความหมายทั้งในด้านความมุ่งมั่น กำลังใจ ฯลฯ

แต่ความเป็นจริงแล้ว การไม่ได้อยู่ห้องคิงส์ ก็ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเพื่อนลูกที่หล่นมาจากห้องคิงส์ แต่ก็สามารถเดินตามเส้นทางที่ ผปค. ขีดไว้ให้ได้ และยังก้าวขึ้นไปเป็นอันดับต้นๆของประเทศเลยก็ว่าได้

บางคนก็ปลอบใจตัวเองว่า ก็ดี จะได้ไม่เครียดมาก เพราะการอยู่ในห้องคิงส์ก็เคร่งเครียดกับการเรียน เรื่องงาน เรื่องการบ้าน แบบว่า พลาดไม่ได้ โดยเฉพาะงานกลุ่มเข้มข้นมาก เพราะจะเสียคะแนนแม้แต่น้อยนิดไม่ได้เชียว

อย่างที่บอกแหละครับว่า การเป็นแชมป์นั้นว่ายากแล้ว
การรักษาแชมป์ยากกว่าเสียอีก !!!

นี่ไม่นับบางโรงเรียนก็มีห้องควีนด้วย ซึ่งก็น่าจะสำหรับโรงเรียนที่มีจำนวนห้องเยอะ


หลักวิธีการในการจัดห้อง

ที่ผมจะเขียน มีถูกมีผิดบ้าง แต่ไม่เยอะ
เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้ปกครองและผู้รู้หลายๆท่าน ถ้ามีผิดพลาดอะไรอย่างไรก็รบกวนท่านผู้รู้แจ้งด้วยนะครับ ผมจะได้ปรับปรุงให้ถูกต้อง

เราเริ่มจาก ตอนที่โรงเรียน present เรื่องราวต่างๆให้ผู้ปกครองฟัง ซึ่งก็พอจะจับใจความได้ประมาณนี้

ยกตัวอย่างโดยสมมติข้อมูลขึ้นมานะครับ

ซึ่งจะเอาคะแนนนักเรียนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมา Range อยู่ในนี้ เช่น ห้องสามัญ 3-4-5-6 ก็จะจับทั้งหมดมาลงตารางนี้ตามเงื่อนไขการคิดคะแนนดังกล่าว แล้วจัดลำดับ 1-45 ลงห้อง 3(คิงส์) นักเรียนที่เหลือ ก็จะแยกกระดาน ชาย-หญิง แล้วเรียงตามคะแนนเช่นกัน หลังจากนั้นก็จะจัดลงห้อง 4-5-6-6-5-4-4-5-6 ตามลำดับไปเรื่อยๆ จนหมดทั้งกระดานชาย-หญิง

หรือห้องเรียน English Program ก็เช่นกัน ห้อง 9-10-11-12 ก็จะเอาคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาเรียงแบบนี้ แล้วจัด 30 คนแรก ไปลงห้อง 12 (King) ที่เหลือก็แยกกระดานชายหญิง เรียงคะแนน แล้วจัดลงห้อง 9-10-11-11-10-9-9-10-11 ไปเรื่อยๆจนหมดกระดานชายหญิง

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เด็ดๆที่อยู้ด้วยกันที่ห้องเดิมก็ยังมีโอกาสอยู่ห้องเดียวกันอีกภายหลังการจัดห้องแล้ว

หลักการนี้ใช้เหมือนกันสำหรับ ม.1 ขึ้น ม.2 และ ม.2 ขึ้น ม.3 ส่วน ม.ปลายก็จะไม่มีการย้ายห้องแล้ว ตอนเข้ามา ม.4 อยู่ห้องไหนสีไหนก็อยู่ไปจนจบ ม.6 เลย


บทสรุป

ทั้งหมดนี้ เขียนมาจากความเข้าใจจากการคุยกับคนโน้นที คนนี้ที ถ้ามีอะไรผิดพลาดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นะครับ

  1. สำคัญเลย การจับมาเรียงกันเพื่อคัดขึ้นห้อง King ไม่ได้ใช้ GPA มาเรียง แต่จะใช้คะแนนตามที่กล่าวมา (ปีหนึ่งๆเด็กได้ 4.00 มากกว่าจำนวนนักเรียนในห้อง King เยอะมาก)
  2. อย่าได้แปลกใจถ้าจะมีนักเรียนได้เกรด GPA น้อยกว่าเรา แต่ได้ย้ายไปห้องคิงส์ นั่นเพราะว่าคะแนนดิบที่นำมาใช้ในการพิจารณาของเขาดีกว่าเรานั่นเอง
  3. อยู่ห้องไหนก็เหมือนกัน มันอยู่ที่ตัวเราเอง ดูอย่างปีที่ผ่านมา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็ได้ผลดีหมดตั้งแต่ห้อง 1 – 12

มีคำถามหรือสงสัยอะไร ลองถามมาได้นะครับ จะตอบได้หรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่ง

myRemainingtime by 9choke.com


หรืออาจจะเข้าไปพูดคุยกันที่ Line Square ตามนี้เลยครับ เพื่อว่า ผู้ปกครองท่านอื่นๆที่มีประสบการณ์ตรง จะได้ช่วยตอบให้ด้วย

“สอบเข้าสามเสน”.
https://line.me/ti/g2/VQATLPishSNyOytEaiz0Kw
รวบรวมเรื่องราว ข้อมูล ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สำหรับนักเรียนและผู้ปกครองที่ประสงค์จะเตรียมตัวและสอบเข้าโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ทั้งระดับชั้น ม.1 และ ม.4

17 ห้อง ม.ปลาย สามเสนวิทยาลัย

รีวิวสนามสอบ IELTS สมัครผ่าน IDP สอบ AUA จามจุรีสแควร์

BMAT – Capwise สอบ Ambassador Hotel มาเล่าบรรยากาศ

bmat

เด็กที่สอบเข้า ม.1 ห้อง Gifted ห้อง EP ได้…เรียนพิเศษที่ไหน?