10 เรื่องน่าสนใจจากงาน Samsen Open House 2019

Samsen Open House 2019

มาส่งลูกชายที่นี่ เพราะลูกมาช่วยอธิบายและตอบคำถามที่บูทของโครงการ English Program ในงาน Samsen Open House 2019 ก็เลยได้โอกาสเดินดู เก็บข้อมูลบ้าง หยิบมือถือขึ้นมาถ่ายรูปบ้าง เดินไป เินมา ก็อาจจะไม่ได้ concentrate กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เดินไปตึกอื่นๆอีกด้วย แต่ที่ไม่ได้เดินไปก็คือท้องฟ้าจำลอง น่าเสียดายจริงๆ

ดังนั้น จึงขอมาสรุปว่า ที่ไปเห็น ไปได้ยินมา ปีนี้มีอะไรแปลกใหม่บ้าง มีอะไรที่คนที่ไม่ได้ไปร่วมในงานนี้ น่าจะรู้บ้าง

ประธานในการเปิดงาน ดร.สหชัย สาสวน ผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย


10 เรื่องที่จับใจความมาได้

  1. ผลงานทางการศึกษาของนักเรียน
  2. ไม่ได้เด่นแต่เรื่องการเรียน
  3. ค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET ระดับ ม.3
  4. จบ ม.3 หัวกะทิ ไปโรงเรียนดังเกือบหมด
  5. ระดับ ม.ปลาย ก็เยี่ยม จากผล O-NET และ การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
  6. หลักสูตรการเรียนต่างๆ ทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย
  7. การรับนักเรียนในปีการศึกษา 2562 และ ค่าเทอม ค่าเล่าเรียน
  8. จำนวนผู้สมัครและคะแนนสูงสุดต่ำสุดปีที่ผ่านมา
  9. หลายๆห้องที่ไม่เคยได้เห็นว่าเป็นอย่างไร วันนี้มีโอกาสได้เดินดู
  10. โครงการ English Program

ผลงานทางการศึกษา

เด็กๆได้รับรางวัลเหรียญต่างๆจากทั้งการแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลงานทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ ทั้งมัธยมต้นและมัธยมปลาย ทั้งหุ่นยนต์ทั้งภาษาต่างประเทศ ทั้งสิ่งประดิษฐ์ทั้งการแสดง เยอะแยะไปหมด นอกจากนี้ก็มีทุนการศึกษาตรีโทเอกทั้งในและต่างประเทศ ทั้งสาขาชีววิทยา คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา ฯลฯ ซึ่งมันเยอะมากแต่บังเอิญว่าผมไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ เพราะกำลังเดินชมงานอยู่ที่อาคารอื่น ๆ


ไม่ได้เด่นแต่เรื่องการเรียน

จริงๆตรงนี้ไม่ได้มีครูหรือท่านใดพูดออกมา(หรือพูดผมไม่ได้ยิน) แต่สิ่งที่งานนี้พยายามสื่ออกมาให้กับสาธารณะชน ผู้ปกครอง และ นักเรียนที่สนใจโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยทราบว่า ที่นี่ไม่ได้เยี่ยมยอดเฉพาะทางด้านการเรียน แต่ในกิจกรรมอื่นๆก็ไม่แพ้กันทั้งทางด้าน ดนตรี ดนตรีไทย นาฏศิลป์ ศิลปะวัฒนธรรมไทย วงโยธวาทิต และ อื่นๆ ซึ่งในแต่ละปี เด็กๆก็จะมีไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ประเทศต่างๆ เช่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ฯลฯ

ชมรมนาฏศิลป์ไทย
https://www.facebook.com/nadtasinsamsenwittayalai/

การแสดงของเด็กนักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

O-NET ม.3 ระดับไม่ธรรมดา

ตัวชี้วัดหนึ่งสำหรับโรงเรียนระดับมัธยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนสังกัดรัฐบาล ส่วนหนึ่งก็ต้องมาดูกันที่ค่าเฉลี่ยของการสอบวัดระดับ O-NET ในระดับชั้น ม.3 ซึ่งจะเป็นค่าเฉลี่ยรวมของ ม.3 ทั้งหมด ทั้งห้องปกติ ห้อง EIS ESC MSEP และ EP เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ

ซึ่งในทุกๆปี ทางโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ร่วมกับ เครือข่ายผู้ปกครอง โดยการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ก็ได้จัดให้มีการเตรียมความพร้อม(ติวก่อนสอบ) ก่อนสอบ O-NET โดยจัดให้มีในวันอาทิตย์ช่วงเวลาก่อนสอบ O-NET

https://www.facebook.com/t.prapakorn/media_set?set=a.2385547948186788&type=3


จบ ม.3 หัวกะทิ ไปโรงเรียนดังเกือบหมด

เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ และถือว่าเกือบจะเป็นเรื่องปกติไปแล้วก็คือ เด็กๆที่เข้ามาเรียนในระดับมัธยมต้นที่นี่มีเป้าหมายในระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนชื่อดังอื่นๆเช่น MWIT KVIS และ เตรียมอุดม ซึ่งในแต่ละปีมีเด็กไปต่อมัธยมปลายในโรงเรียนเหล่านี้มากกว่า 100 คน หรือ 1 ใน 4 ของนักเรียนในระดับชั้น ม.3 เอาง่ายๆปีที่ผ่านมาไปเตรียมอุดมก็มากกว่า 100 คนแล้ว(มีอีกหลายคนที่สอบได้เตรียมอุดม แต่ยังเรียนต่อที่สามเสนวิทยาลัย)


ระดับ ม.ปลาย ก็เยี่ยม จากผล O-NET และ การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

ตามที่ทราบ หัวกะทิโดนคั้นไปโรงเรียนดังจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้น ผลชี้วัดทางการศึกษาในระดับชั้น มอปลายก็ถือว่ายังดีเยี่ยมอยู่ และในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เด็กๆก็ทำได้ดี ได้เรียนในสาขาวิชาที่ตัวเองตั้งใจและอยากจะเรียน




หลักสูตรการเรียนต่างๆ

ก็เป็นอีกเรื่องที่หลายคนอยากทราบรายละเอียด ข้อมูล ของหลักสูตรการเรียนต่างๆที่ทางโรงเรียนเปิดสอนในปีการศึกษา 2562 นี้

ซึ่งในระดับชั้น ม.1 นั้น ก็เป็นไปตามที่เคยเขียนไว้ใน 12 ห้อง ม.1 สามเสนวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 เลยครับ

ส่วนรายละเอียดของแต่ละห้องเคยเขียนไว้คร่าวๆนานมาแล้ว
12 ห้องเรียน ม.1 สามเสนวิทยาลัย มีอะไรบ้าง? แบ่งเป็นอะไรบ้าง?

ลองเล่าใหม่ละกัน (ตามความเข้าใจส่วนตัว) ถึงห้องต่างๆของ ม.ต้น

ESC – Enrichment Science Classroom :: ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม แต่เราๆมักจะเรียกกันติดปากว่า ESC หรือห้องวิทย์ ซึ่งจะสอนตามแนวทางของ สสวท. และ สอวน. มีเรียนเสริมหลังเลิกเรียน และ วันเสาร์ด้วย(คิดเกรด ด้วย)

ค่าเทอม+เงินบำรุงการศึกษาห้องเรียนพิเศษ+ค่าประกันอุบัติเหตุ = 3,500+17,000
และค่าประกันอุบัติเหตุ 400 บาท ต่อปีการศึกษา

MSEP – Mathematics Science Enrichmanr Program :: ห้องเรียนพิเศษด้านคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ เรียกสั้นๆว่า ห้อง MSEP หรือ ห้องคณิต ซึ่งก็มีเรียนเสริมหลังเลิกเรียนเช่นกัน ส่วนวันเสาร์ก็มีเรียนและเช็คเวลาเรียน

ค่าเทอม+เงินบำรุงการศึกษาห้องเรียนพิเศษ+ค่าประกันอุบัติเหตุ = 3,500+15,000
และค่าประกันอุบัติเหตุ 400 บาท ต่อปีการศึกษา

EP – English Program :: ห้องเรียนพิเศษโดยเรียนตามหลักสูตรสามัญแต่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษยกเว้นบางวิชาเช่น ภาษาไทย-ประวัติศาสตร์ ไม่มีเรียนวันเสาร์ อาจจะมีเรียนเสริมคาบ 9 บ้าง (ปกติมี 8 คาบ)

ค่าเทอม 35,000 บาท + ค่าประกันอุบัติเหตุ 400 บาท ต่อปีการศึกษา

ห้องเรียนปกติ หรือห้องสามัญ :: คือห้องที่รับเด็กนักเรียนมาในรอบปกตินั่นเอง ซึ่งเมื่อรับเข้ามาแล้ว(ปีนี้ 270 คน) ในช่วงที่มีการเรียนปรับพื้นฐานเตรียมความพร้อม ก็จะมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าห้อง EIS(เดี๋ยวจะกล่าวในหัวข้อถัดไป)สำหรับเด็กที่สนใจ จำนวน 2 ห้อง 90 คน ส่วนที่เหลืออีก 180 คน ก็จะมาจัดเรียงลำดับ 45 คนแรกเป็นห้อง King(โดยใช้คะแนนจากการสอบเข้า 90% บวกกับคะแนนจากช่วงที่เรียนเตรียมความพร้อมอีก 10%) และท้ายที่สุดที่เหลือ 135 คน ก็จะคละเข้าห้องปกติของปกติ…. งง มั๊ย อิอิ เท่าที่ได้ยินมา เด็กๆที่สอบเข้ามารอบนี้ได้คะแนนดี เลือกที่จะอยู่ห้อง King

เวลาขึ้น ม.2 ม.3 ก็อาจจะมีการขยับจัดเรียงคนที่ทำคะแนนหรือเกรดได้ดีขึ้นไปอยู่ห้อง King แล้วที่เหลือก็จะคละกันอีก (ห้อง EIS ไม่นำมารวม)

ค่าเทอม 3500 บาท + ค่าประกันอุบัติเหตุ 400 บาท ต่อปีการศึกษา

EIS – English for Integrated Study :: เป็นห้องเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์โดยใช้ตำราภาษาอังกฤษ แต่ทำการสอนโดยครูไทย ซึ่งเด็กๆก็จะคุ้นเคยกับคำศัพท์ที่ใช้ในแวดวงคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เด็กหลายคนบอกว่าสนุก แรกๆก็อาจจะงงงงกับคำศัพท์บ้างนิดหน่อย

นอกจากนี้ก็ต้องมีเรียนเสริมพิเศษภาษาอังกฤษ
– Writing จะเรียนสัปดาห์ละครั้ง สอนโดยครูคนไทย
– Conversation สอนโดยครูต่างชาติ

ค่าเทอม + ค่าห้องเรียนพิเศษ = 3,500 + 3,000 และ ค่าประกันอุบัติเหตุ 400 บาท ต่อปีการศึกษา

สรุปค่าเทอมของเด็กๆระดับชั้นมอต้นก็จะเป็นประมาณนี้(รวบรวมข้อมูลจากประกาศรับสมัครนักเรียนปีการศึกษา 2562)

ส่วนในระดับชั้น ม.ปลาย ก็จะมีเพิ่มมา 1 ห้อง คือ ห้อง พสวท. ที่เหลือก็เป็นไปตามข้อมูล 15 ห้อง ม.ปลายสามเสน
แต่ปีนี้ในห้องเรียนปกติ จะรับนักเรียนได้ห้องละ 45 คน(ปีที่แล้ว 40 คน)

15 ห้องเรียน ม.4 สามเสนวิทยาลัย มีอะไรบ้าง


การรับนักเรียนปีการศึกษา 2562

มีเรื่องที่สำคัญที่พอจับใจความได้ ก็ประมาณว่า ในห้องเรียนปกติที่ปีที่แล้วรับเด็กได้ห้องละ 40 คน ปีนี้สามารถขยายได้เป็น 45 คน ส่วนในห้องเรียนพิเศษยังคงจำนวนนักเรียนต่อห้องไว้เช่นเคย ยกเว้นในระดับ ม.4 ที่มีเพิ่มห้องเรียนพิเศษ พสวท. มาอีก 1 ห้อง รับนักเรียน 24+12 คน 24 คือสอบเข้ามาทางรอบห้องเรียนพิเศษ ส่วน 12 คน เป็นนักเรียนทุนของ พสวท.

และเรื่องอื่นๆอีกเช่น เด็กในพื้นที่ และ เงื่อนไขพิเศษ

โดยในประกาศรับสมัครนักเรียนได้กำหนดเอาไว้ตามนี้ครับ

ส่วนการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ


จำนวนผู้สมัคร และ คะแนนสูงสุด ต่ำสุด

(ข้อมูลจากงาน Samsen Open House 2019)

อัตราการแข่งขันของระดับชั้น ม.1 ประเภทห้องเรียนปกติ ถ้าคิดให้ถูกต้องก็คือ ในการคัดเลือกรอบแรก คือรอบทั่วไปที่รับ 130 คน ต้องนำจำนวนผู้สมัครทั้ง ในเขตและนอกเขตมารวมกัน เรียงคะแนนเพื่อรับ 130 คน ส่วนในรอบที่ 2 คือรอบในพื้นที่ ก็จะเอาเด็กที่สมัครสอบในพื้นที่ ที่เหลือจากการคัดเลือกรอบแรกมาเรียงคะแนน เพื่อคัดเลือกอีก 86 คน อย่างที่พูดกันว่า ในเขตได้ 2 เด้ง นั่นแหละครับ

ขอยกตัวอย่างจากปี 2561

การคัดเลือกรอบแรก ประเภททั่วไป ซึ่งรับ 115 คน
ดังนั้น จะเอาคะแนนจากนักเรียนที่สมัครสอบทั้งหมดคือ ในเขต+นอกเขต = 259+475 = 734 คน มาเรียงเพื่อคัดเลือก 115 คนแรก (อัตราการแข่งขัน = 734/115 = 6.38)

รอบที่ 2 คือรอบนักเรียนในพื้นที่ ซึ่งรับ 77 คน
จากนักเรียนที่สมัครสอบในพื้นที่ 259 คน จะมีส่วนหนึ่งที่ได้รับการคัเลือกไปแล้วตั้งแต่รอบแรก ดังนั้นก็จะนำคะแนนของนักเรียนในพื้นที่ที่เหลือมาเรียงแล้วคัเลือกอีก 77 คน

ส่วนอัตราการแข่งขันเมื่อเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ หาอ่านได้จากของเก่าที่เคยเขียนไว้เมื่อปีที่แล้วเลยครับ

อัตราการแข่งขัน สอบเข้า ม.1 รอบห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2561


เงื่อนไขเรื่องเกรด และ คะแนนของวิชาที่สอบเข้า

คะแนนสูงสุด-ต่ำสุด


หลายๆห้องที่ไม่เคยได้เห็น

อันนี้เป็นเรื่องส่วนตัวครับ แฮะๆ เพราะว่าไม่ได้มีโอกาสในการเดินเข้าไปชมห้องเหล่านี้เหมือนเช่นวันนี้ ก็เลยยกมือถือเก็บภาพมาฝากๆกัน

ห้องแรก ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียกสั้นๆว่า ห้องสมุดอีพี ตั้งอยู่ที่อาคารอีพีนั่นแหละครับ

ห้องแหล่งเรียนรู้ประชาคมอาเซียน ซึ่งก็อยู่ติดกับห้องสมุด EP นั่นแหละครับ ห้องนี้ผมก็ไม่เคยเข้ามาก่อนเลยครับ

ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย


โครงการ English Program

เดี๋ยวขอแยกไปอีก Post ละกันนะครับ มันเยอะหน่อย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องเรียนของลูก :: รวบรวมบทความ “สอบเข้า EP สามเสน”