เปิดเทอม ม.1 มันก็จะวุ่นๆนิดๆนะครับ
เปิดเทอม ม.1 เรื่องที่จะเขียน ตอนแรกก็กะว่าจะเขียนใกล้ๆเปิดเทอม แต่มี ผปค. ทวงมา 5 5 5 แบบว่าตื่นเต้นแทนลูกละ จะเปิดเทอมละ เข้าใจแทนทุกคนครับ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ีมีลูกคนเดียวแบบผม หรือ เป็นลูกคนแรกที่จะก้าวเข้าสู่ระดับมัธยม บางคนมีคำถามในใจมากมาย เช่น ลูกมาจากโรงเรียนหญิงล้วน ต้องมาเรียนกับเด็กชายจะปรับตัวยังไงน้อออ? บลา ๆ ๆ เปิดเทอมไปส่งลูกได้ถึงไหน?
ก็จะบอกว่า มัธยมแล้วนะ มันต้องสตรอง 5 5 5
ยังมี ๆ อีกหลายเรื่องเช่น ปักจุดยังไง สีอะไร ปักตรงไหน . . .
ชุดพละหละ ต้องปักไหม? แล้วกางเกงวอร์มใส่ไปโรงเรียนเลยไม่ได้หรอ? ทำไมต้องเอาใส่กระเป๋านักเรียนไปเปลี่ยน?
ชุดลูกเสือ ผ้าพันคอสีอะไร ต้องติดป้ายอะไรบ้าง ติดตรงไหน . . .
เห็นบางคนก็เนตรนารี บางคนก็อนุกาชาด บางคนก็ผู้บำเพ็ญตน … เอ๊ะ เอายังไงดี
การปรับตัว
เรื่องการปรับตัว เรื่องที่จะเล่า จะอาศัยประสบการณ์จากการสัมผัสผ่านความรู้สึก การสังเกตุ การพูดคุย กับลูกและเพื่อนๆ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นห้องเรียน EP ที่ลูกเรียนอยู่ แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันกับห้องเรียนประเภทอื่นๆ ซึ่งผ่านมา 3 ปี ผมกล้สพูดได้ว่า ผมรู้จักเด็กนักเรียน EP รุ่นเดียวกันกับลูกมากกว่า 100 คน จาก 120 คน และรู้จัก ผปค.ของเด็กๆเหล่านั้นมากกว่า 60 คน ที่เกิดจากการคลุกคลีกับเด็กๆ
เรื่องการปรับตัว…. ปล่อยเป็นเรื่องธรรมชาติเลยครับ เด็กวัยนี้ยังปรับตัวกันง่ายอยู่ ที่สำคัญโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าเด็กหญิงหรือเด็กชาย ก็จะเจอเพื่อนหน้าใหม่ๆกันเกือบทั้งนั้น ผมกลับมองว่า เด็กที่มีเพื่อนเก่ามาเรียนด้วยกันและได้มาอยู่ห้องเดียวกันด้วย ก็จะคุยอยู่กับเพื่อนเก่าๆ ทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ได้ช้ากว่าเด็กที่ไม่รู้จักใครเลย
วันแรกที่เจอลูกหลังเลิกเรียน . . .
- เพื่อนส่วนใหญ่ก็มาจากห้องเรียนปรับพื้นฐานแหละป๊า มีบางคนไปห้องอื่น มีห้องอื่นย้ายมาห้องบอลล์ แต่ส่วนใหญ่เหมือนเดิม
- เล่าเรื่องราว เพื่อนที่นั่งด้วยกัน เล่นด้วยกัน คุยด้วยกัน . . . . อ่าว เฮ๊ยยยย ทำไมมีแต่ผู้ชาย . . . “ก็ผู้หญิงเขาก็จับกลุ่มของเขาหงะป๊า” ….. หลังจากนั้นไม่นาน ….. 5 5 5 ทั้งเด็กหญิงเด็กชายก็คุยกันเพลิน
- เริ่มเห็นแวว . . . เสื้อผ้าเลอะละ 5 5 5 แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร เห็นเขาสนุก มีความสุขมันก็สุดยอดละ
การรับส่ง
แน่นอนว่า ผู้ปกครอง ม.1 จำนวนหนึ่ง วันแรกๆก็อยากจะส่งลูกจนเข้าแถวเข้าห้อง เย็นก็อยากจะมารอรับในโรงเรียน เช้ามาก็มาจอดรถแล้วเดินเข้าไปส่งลูก เย็นก็จะมาจอดรถแล้วเดินเข้าไปรับลูก แต่บางคนก็แค่มา drop แล้วก็ไป เย็นก็มาโฉบรับ เพราะระดับมัธยมแล้ว ที่แน่ๆ ผ่านไปไม่กี่วัน ลูกๆก็ไม่อยากให้ท่านเข้ามาส่งแล้วหละ ด้วยเหตุผลก็คือ อายเพื่อน !!! 5 5 5
ปีนี้มีอะไรที่พิเศษกว่าปีที่ผ่านมาก็คือ จะไม่อนุญาตให้ ผปค. จอดรถบริเวณที่จอดรถใต้ทางด่วน เพราะจะกันไว้เป็นที่จอดรถครูและบุคคลากร เนื่องจากว่า ปีนี้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ภายในโรงเรียน ทำให้ครูและบุคคลากรไม่สามารถจอดรถภายในโรงเรียนได้ ซึ่งหมายความว่า ผปค. จอดไม่ได้ทั้งวันไม่ว่าเวลาไหน และคิดว่าจอดไม่ได้อย่างนี้ไปตลอดทั้งปีการศึกษา หรือ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
นึกภาพนะครับ นึกภาพ . . . . ว่าจะทำอย่างไร เพื่อช่วยกันไม่ให้เกิดการติดขัดอย่างมโหฬาร(เขียนถูกไหม ไม่ได้เขียนคำนี้มานานมากละ) ซึ่งแน่นอนหละ มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องติด เพราะปกติก็ติดอยู่แล้ว ถ้า ผปค. ที่อยากจะลงไปส่งลูกที่โรงเรียนจริงๆ ควรใช้วิธีประมาณ พ่อขับมา drop แม่กับลูกลง อะไรประมาณนั้น หรือ ไปจอดรอบนอกของโรงเรียนแล้วเดินมาเช่น ด้านหลังโรงเรียน ที่จอดรถสวัสดิการ ทบ. ฯลฯ
เช้าก็ยังไม่เท่าไหร่ เพราะมากันต่างเวลา แต่ตอนเลิกเรียนนี่สิ ถ้ามารับพร้อมๆกันมันก็โกลาหล(อีกละ คำนี้ก็ไม่ได้ใช้นาน)นะสิ แต่หลายๆครอบครัวจะประสบปัญหาที่มากกว่านั้นก็คือ ลูกๆเลิกบ่ายสาม แต่พ่อแม่เลิกงาน 5 โมงเย็น . . . เอาไงหละ ชีวิตเริ่มยุ่ง สมัยประถมปลาย ยังมีเรียนสอนการบ้าน ฯลฯ
ส่วนใหญ่ เด็กๆก็จะรอกันบริเวณ ใต้อาคาร 3, ถนนต้นไม้, ลานพระ ฯลฯ แล้วแต่จะนัดแนะกันครับ ถ้าขับรถมาโฉบรับ ก็โทรบอกกันให้มารอตรงลานพระ ขับรถเข้ามาถึงลานพระเด็กขึ้นรถแล้ววนออกเลย สะดวกดีครับ
ผปค. บางท่านก็จะมีการรวมกลุ่มกันแล้วจ้างครูหรือ Tutor ดังๆมาสอนข้างโรงเรียน โดยใช้การเช่าสถานที่ของโรงเรียนพิเศษแถวๆนั้น ซึ่งก็มีกันมากมายทุกปี จนแทบไม่มีห้องว่างหลงเหลือให้เช่า . . . ซึ่งก็จะเรียนกันช่วง 16.00-18.00 น. หรือ บางช่วงบางตอนก็มีเรียนกันถึง 2 ทุ่ม
เด็กกลุ่มนี้ยึดลานพระเป็นอาจิณ พอผู้ปกครองขับรถเข้ามา ปิ๊นนน ก็จะวิ่งไปหยิบกระเป๋าแล้วกระโดดขึ้นรถ เป็นอย่างนี้เรื่อยมา …. เห็นหน้าละอ่อนตอนมอหนึ่งแล้ว . . . .
บทสรุป
ตอนนี้เป็นตอนที่สองแล้วนะครับ อยากให้เขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็แจ้งได้นะครับ
ตอนแรก – เกริ่นนำ