วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร หรือที่พวกเราเรียกกันสั้นๆว่า “วัดราชประดิษฐ” นั้น อยู่กันคนละฟากฝั่งของคลองหลอดกับวัดราชบพิธฯ เราลองดูแผนที่ที่อ้างอิงมาจากโพสต์ของวัดราชบพิธฯกันนะครับ
ถ้าอยากทราบว่าอยู่ตรงไหนจะเดินทางไปยังไง แล้วจอดรถตรงไหนได้บ้าง ก็ลองกลับไปอ่านที่โพสต์นี้นะครับ
กราบสักการะพระบรมราชสรีรางคาร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่วัดราชบพิธฯ และ วัดบวรฯ
หรือหากว่าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับวัดราชประดิษฐ์ฯ ก็ลองติดตาม facebook ของทางวัดได้นะครับ
https://www.facebook.com/Watrajapradit/
ประวัติวัดราชประดิษฐ
จะคัดลอกประวัติโดยสังเขปมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้รู้ที่มาที่ไป (Cr. วิกิพีเดีย)
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย
เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นสวนกาแฟหลวง สมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการในรัชกาลที่ 4 ทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัดธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2407 เพื่อสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น เพราะใกล้พระบรมมหาราชวัง ในพระวิหารหลวงมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้วาดไว้ มีสถาปัตยกรรมที่น่าชม เช่น ปาสาณเจดีย์, ปรางค์ขอม, ปราสาทพระบรมรูป (ปราสาทพระจอม), ปราสาทพระไตรปิฎก ฯลฯ และเพราะด้วยธรรมยุติกนิกายนั้นเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เขตสังฆาวาสนั้นจึงห้ามสตรีผ่านเข้าออกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
เดินชมรอบวัด
ในวันที่เดินเข้าไปชมนั้น สามารถนับจำนวนคนที่พบเจอได้เลย เพราะมีแค่หลักเดียว ผมเินวนไปวนมาในพื้นที่เล็กๆตรงนั้นนานเกือบ 30 นาที ไม่เจอพระสงฆ์เลย เจอคนไทยกลุ่มนึง เจอฝรั่ง 2 คน มันก็จะวังเวงอยู่หน่อยๆนะครับ
ต่อจากนี้ไปก็เน้นไปทางรูปละครับ แฮะๆ
จริงๆวันนี้ ผมเจอมาสองวัดแล้วที่ประตูทางเข้าวัดเป็นขนาดเล็กแบบเปิด 2 บานแบบนี้ เลยมโนไปว่า น่าจะเป็นยุคสมัยนั้น เพราะเดินหาประตูทางเข้าวัดแบบใหญ่ๆโตๆที่เคยเห็นเป็นประจำ แต่หาไม่เจอ ตอนเช้าที่วัดราชบพิธก็ทีนึงละ (เจอคนไทยกลุ่มนี้ เขาก็นึกว่าผมเป็นนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น)