International Program
เส้นทางสาย EP ตอนที่ 2 – เป็นหัวข้อต่อเนื่องจากที่เขียนมาครั้งที่แล้ว ตามคำสัญญาว่า ไอที่บอกว่าสามารถไปเรียนได้ทั้งมหาวิทยาลัยภาคปกติ และ มหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์นั้น สำหรับภาคปกติ เราก็คุ้นเคยกันมาหลายสิบปีแล้ว แต่สำหรับภาคอินเตอร์นั้น ขอบอกตามตรงเลยว่า ไม่ทราบว่ามีมากน้อยขนาดไหน เท่าที่ได้ยินกันแบบถี่ๆก็มีอยู่ไม่กี่ที่ แล้วเด็กๆจะพอมีที่นั่งเรียนพอหรือปล่าว? มีสาขาที่น่าสนใจมากน้อยขนาดไหน?
เกี่ยวกับเส้นทางสาย EP มาคราวนี้จะขอพูดถึง International Program บ้างหละว่าคืออะไร? ดีงามอย่างไรบ้าง? มีให้เลือกเยอะมั๊ย? มีที่ไหนบ้าง? ฯลฯ ถามได้หมด แต่ตอบไม่ได้ทั้งหมด 5 5 5 เพราะยังมือใหม่ … บอกเลย ไม่เคยได้หาข้อมูลมาก่อนเลยว่า มีอะไรที่ไหนบ้าง เอาเป็นว่าใน post นี้เราจะพยายามพูดคุยกันถึงเรื่องต่อไปนี้
- International Program คืออะไร
- ข้อดีข้อเสีย เอ๊ะมีข้อเสียด้วยหรอ แล้วจะเรียนทำไม?
- มหาวิทยาลัย และ สาขาวิชาต่างๆ
- ฯลฯ ตามแต่จะอ่านเจอและนึกออก
หลายๆท่านอาจจะรู้เรื่องเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แต่สำหรับผมมันเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยหาความรู้(รอบตัว)เหล่านี้มาก่อน เมื่อใกล้ถึงเวลาก็เลยลองหาอ่านดู อาจจะเด๋อๆด๋าๆ ผิดๆถูกๆ มากบ้างน้อยบ้าง นะครับ
อ้างอิงจากบทความที่แล้ว
เส้นทางสาย EP ไปทางไหนกันบ้าง? ก้อนหินหรือกลีบกุหลาบ?
International Program คืออะไร?
แฮ่ม ว่าจะเอานิยามของ EP มาแปะมันก็ไม่ใช่นะ เอาเป็นว่า International Program ก็คือการเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เหมือนกับว่าเราส่งลูกไปเรียนเมืองนอกว่างั้นเฮอะ แต่ว่าสิ่งแวดล้อมและหลักสูตรมันจะไม่ได้เหมือนกับการไปเรียนเมืองนอกเท่านั้นเอง เมื่อมองดูหลักสูตรของภาคอินเตอร์แล้วถามว่า เรียนเหมือนภาคปกติหรือไม่? อันนี้ตอบเลยนะครับว่า แล้วแต่ผู้เขียนหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย บางแห่งก็อาจจะเหมือน บางแห่งก็มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นสากลให้มากขึ้น
ผมลองค้นหาอ่านจากที่ผ่านมาในช่วงกว่าสิบปีนี้ กับประสบการณ์ การเรียนการสอนแบบอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยบ้านเรา มีรุ่นแรกๆที่ได้เรียนก็บ่นให้ฟังกันเยอะว่า มหาวิทยาลัยอินเตอร์แบบไทยๆ เรียนไปก็สะอื้นไป โดยในอดีตนั้น อาจารย์ที่สอนแทบทั้งหมดเป็นคนไทย มาสอนพวกเราเป็นภาษาอังกฤษด้วยภาษาอังกฤษแบบไทยๆ เอาเป็นว่าอาจารย์ก็ยังคุยกับฝรั่งไม่รู้เรื่องเลย และเนื้อหาที่สอนก็เด็กๆมากง่ายกว่าภาคปกติเสียอีก ไม่เหมือนกับหลักสูตรที่เขียนเอาไว้อย่างสวยหรู
มาทุกวันนี้ เข้าใจว่าปัญหานั้นเริ่มได้รับการแก้ไขลุล่วงไปแล้วพอสมควรตามค่าเทอมที่แพงขึ้นแตกต่างกับภาคปกติหลายเท่าตัว คราวนี้พออาจารย์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ปัญหามาก่อเกิดกับนิสิตนักศึกษาว่าฟังไม่ทัน ภาษาอังกฤษไม่ลื่นหู …. กลับกันเลย … เด็กๆหลายคนที่ไม่คุ้นเคยการเรียนภาคภาษาอังกฤษมาก่อน มีปัญหาเยอะแยะมากมาย จนในที่สุดก็เรียนไม่ไหว ต้องออกกลางคัน เพื่อไปหาที่เรียนใหม่ในภาคปกติ !!!…แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดหรอกครับ … ค่อยๆติดตามกันไป
จากการไล่เปิดดูจากทาง Website ของแต่ละสถาบัน หลายสถาบันก็ใช้ instructor จากต่างประเทศเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังคงมีบางสถาบัน บางหลักสูตรที่ใช้ Instructor ชาวไทย ทั้งนี้ส่วนหนึ่งผมก็มองว่า ตลาดที่สถาบันนั้นวางเป้าว่าเด็กประมาณไหนที่จะเข้ามาเรียน ทั้งในแง่ของพื้นฐานภาษา และ งบประมาณทางการศึกษา เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกมากขึ้น (แต่ก็ต้องระวังเรื่องมาตรฐานทางการศึกษาของภาคอินเตอร์ด้วยนะครับ)
ในหลายๆสถาบันที่ขึ้นชื่อในเรื่องของภาคอินเตอร์ จะเห็นได้ว่าได้รับการต้อนรับจากตลาดแรงงานที่เป็นบริษัทข้ามชาติเป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการสื่อสารและความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพนั้นๆ ซึ่งก็เป็นสถาบันและสาขาที่เด็กๆพยายามแข่งขันเข้าไปเรียนอีกเช่นกัน เดี๋ยวตอนหน้าจะลองรวบรวมเรื่อง สถาบันกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ นะครับ
ข้อดีข้อเสียของการเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์
มั่วเอานะครับ แฮะๆ ใครนึกอะไรออกก็บอกๆกันนะครับ และ ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกันทุกอย่างนะครับ เพราะบางครั้งผมบอกเป็นข้อดีแต่คุณอาจจะบอกว่าไม่ใช่ … ไม่เป็นไรครับ แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สุดท้ายเราและลูกเราจะเป็นผู้เลือกทางเดิน …
เอาที่นึกออกก่อนของข้อดีนะครับ
- ส่วนนึงต้องยอมรับว่าในยุคนี้สมัยนี้ ภาษาที่สองและสาม เป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติที่ถือว่าโอกาสได้รับการเรียนรู้และการทำงานในโลกกว้างมีมากยิ่งขึ้น ภาษาเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง บางท่านก็บอกว่า อย่างนั้นก็ไปเรียนภาษาเพอ่มเติมเอาภายหลังก็ได้ ก็ถูกอยู่นะครับ แต่ด้วยหลักการภาษาทางธุรกิจนั้นๆที่เราเรียนมา ความเข้าใจในศัพท์และเนื้อหาเฉพาะทางก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด …
- จากข้อแรก ทำให้การสมัครงานและได้งานมีโอกาสมากกว่าผู้สมัครที่มาจากภาคปกติ ซึ่งก็จริงอยู่ส่วนหนึ่งเช่นกัน แต่สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาหรือการสื่อสารกับชาวต่างชาติ ก็อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ อีกทั้งความสามารถในสายวิชาชีพนั้นๆก็ต้องดูด้วยเช่นกันว่าถ้าจบอินเตอร์แต่ทักษะทางวิชาชีพห่างชั้นจากเด็กที่จบภาคปกติมาก ก็ไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปได้หรอกนะครับ
- การเรียน International Program ทำให้ได้ใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนชาวต่างชาติ ซึ่งทำให้เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมขั้นพื้นฐานของพวกเขาได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งความสัมพันธ์เหล่านี้ อาจจะสามารถนำมาต่อยอดได้ในอนาคต ถ้าธุรกิจนั้นๆสามารถเชื่อมต่อกันได้
- เงินเดือนสูงกว่า คู่แข่งน้อยกว่า อันนี้เข้าใจได้เลยครับว่า สำหรับหน่วยงานที่ต้องการเด็กที่จบมาสายงานนั้นโดยตรงที่ระบุว่าภาษาต้องอย่างดี หรือ บางแห่งก็ระบุเลยว่าจบมาจากมหาวิทยาลัยอินเตอร์ ซึ่งถ้าระบุกันขนาดนี้ ก็แปลได้เลยว่า เงินเดือนที่รองรับ ย่อมต้องอยู่ใน rate ที่สูงกว่าทั่วไป และ จำนวนผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด ก็มีจำนวนที่จำกัดน้อยลงมาด้วยเช่นกัน
- มีโอกาสได้ทำงานทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และมีโอกาสก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
- ประหยัดตังส์กว่าไปเรียนที่ต่างประเทศ
แล้วข้อเสียหละ
- ค่าเล่าเรียนแพงกว่าหลักสูตรปกติหลายเท่าตัว
- ถ้าพื้นฐานภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพอ อาจจะไปไม่ไหวจริงๆ ทั้งในเรื่อง ฟัง พูด อ่าน เขียน
- นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นคนไทย พอจบจากคลาสก็จ้อภาษาไทยกันตลอด (บางที่บางทีในคลาสก็ด้วยถึงแม้ว่าจะมีข้อห้าม) จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านภาษาไม่ปั๋งเท่าที่ควร
- เดี๋ยวอ่านเจอ จะมาเขียนเพิ่มนะครับ แฮะๆ
มหาลัยอินเตอร์ แห่งประเทศไทย
ชื่อเท่ห์ดีกับการได้เดินเข้ามาเป็นเด็กอินเตอร์ แต่อย่าลืมว่า มีทั้งผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง และผู้ไม่ประสบความสำเร็จ ที่บอกว่าผู้ประสบความสำเร็จกับผู้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ผู้ประสบความสำเร็จนั้นเรียนเพื่อให้ได้วุฒิที่ยืนยันการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอินเตอร์ และ ผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงก็เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาเช่นกัน แต่พ่วงมาด้วยความรู้ความสามารถที่จะสามารถนำความรู้นั้นมาประกอบวิชาชีพหรือต่อยอดในเส้นทางชีวิตต่อๆไป
ยิ่งค้นคว้า ยิ่งอ่านเยอะ ก็ยิ่งมีเรื่องน่าสนใจเยอะขึ้นด้วย เอางี้ละกัน เรามาดูกันคร่าวๆว่า มีมหาลัยอินเตอร์อะไรบ้าง และ เปิดสอนในสาขาวิชาอะไรกันบ้าง จะเลือกเอาที่พอได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆหน่อยนะครับ ความจริงมีมากกว่านี้อีกเยอะ
มหาวิทยาลัยรัฐที่มีการจัดสอนภาคอินเตอร์ – Public University
- Mahidol University International College (MUIC)
- Chulalongkorn University
- Thammasat Universuty
- Kasetsart University International Studies Center
- King Mongkut’s University of Technology Thonburi
- King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
- King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok
- Chiang Mai University International College
- Srinakarinwirot University
- Burapha University International College, Chonburi
- Mae Fah Luang University, Chiang Rai
- Silapakorn University International College
- Ramkhamhaeng University Institute of International Studies
- Suan Sunandha Rajabhat University
- etc
มหาวิทยาลัยเอกชน – Private Universities
- Assumption University – ABAC / AU
- Bangkok University International College
- Rangsit University International College
- Huachiew Chalermprakiet University
- Dusit Thani College
- Shinnawatra International University
- St.Theresa International College
- Asian University, Chonburi
- Asia-Pacific International University, Saraburi
- Stamford International University
- Webster University Thailand
- Academia Italiana (Fashion&Design Institute)
- Raffles International College Bangkok
- etc
สาขาวิชาที่มีให้เลือกเรียน
ว่ากันอย่างคร่าวๆ นะครับ เพราะว่าแต่ละที่แต่ละแห่ง จัดเต็ม มีหลายสาขาวิชามาก เอาที่พอจะรู้จัก และ พอจะหาข้อมูลได้นะครับ ไว้เป็นแนวทางแนวคิดละกันว่า มันมีประมาณนี้นะ …
Chulalongkorn University
- BALAC – Language & Culture
- BBA – Business Administration
- BSAC – Applied Chemistry
- Comm Arts – Communication Management
- CommDe – Communication Design
- EBA – Economics
- INDA – Design & Architecture
- ISE – Engineering
- JIPP – Psychology
Thammasat University
- BBA – Business Administration
- BE – Economics
- BAS – British and American Studies
- BEC – Business English Communication
- BJM – Journalism (Mass Media Studies)
- TEP – Twinning Engineering Program ( 2 years @rangsit and 2 years @abroad)
- TEPE – Thammasat English Program of Engineering
- SIIT – Engineering – Management and Technology
- BMIR – Politics and International Relations
- etc
Mahidol University International College
ผมเก็บเอา คณะสาขาวิชามาจาก MUIC General Catalog โดยเลือกเอาเฉพาะสาขาวิชามาแปะไว้ให้ดูนะครับ ทั้งนี้เป็นแนวทาง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในบางปีนะครับ
- Business Administration Division
- Business Economics Program
- Finance Program
- International Business Program
- Marketing Program
- Fine and Applied Arts Division
- Entertainment Media Production Program
- Animation Production
- Film Production
- Television Production
- Communication Design Program
- Media and Communication Arts Program
- Entertainment Media Production Program
- Humanities and Language Division
- Intercultural Studies and Languages Program
- Science Division
- Biological Science Program
- Chemistry Program
- Computer Engineering Program
- Computer Science Program
- Environment Science Program
- Food Science and Technology Program
- Physics Program
- Social Science Division
- Social Science Program
- Tourism and Hospitality Management Division
- International Hospitality Management Program
King Mongkut’s University of Technology Thonburi – International Studies
- Bachelor of Engineering
- Chemical Engineering
- Civil Engineering
- Computer Engineering
- Control System and Instrumentation Engineering
- Electronic and Telecommunication Engineering
- Environment Engineering
- Bachelor of Architecture and Design
- Architecture
- Industrial Design
- Interior Architecture
- Communication Design
- Computer Science – Information Technology
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
- Bachelor of Engineering in Software Engineering
- Bachelor of Science in Engineering and Technology Management
Silpakorn University International College
- BFA – Fine Arts in Digital Communication Design (Double Degree Program)
- BBA – Business Administration
- Event and Leisure Marketing
- Luxury Brand Management
Ramkhamhaeng University – Institute of International Studies
- Bachelor of Arts in English
- Bachelor of Arts in Mass Communication
- Bachelor of Business Administration
Suan Sunandha Rajabhat University – International College
- ฺBA – Bachelor of Arts
- Airline Business
- Hotel and Hospitality Management
- Tourism Management
- BBA – Bachelor of Business Administration
- International Business
บทสรุป
คร่าวๆ ประมาณนี้นะครับ เพราะมีอีกเยอะแยะมากมายจนนึกไม่ถึง ในแต่ละปีมีการเปิดรับสมัครสำหรับ International Program รวมๆแล้วมากกว่า 3-4,000 คน … อะไรจะเยอะขนาดนั้น และที่น่าสนใจอย่างนึงก็คือ มีเด็กจำนวนหนึ่งที่คิดว่า ถ้าไปสู้กันใน Admission ภาคปกติ คงไม่ไหวแน่ๆ ก็เลยหลบฉากมาขวนขวายพยายามในภาคอินเตอร์แทน เพราะ โอกาสมากกว่าเยอะ แต่ ….. ต้องคิดยาวๆนะครับ ทุกอย่างต้องมีการลงทุน และ ไม่ใช่จำนวนน้อยๆเสียด้วย ถ้าไปถึงฝั่งประสบความสำเร็จ ผลแห่งความพยายามก็จะช่วยผลักดันให้ก้าวหน้าต่อไป
สำหรับเด็ก EP แล้ว ก็นับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะรักษาไว้ซึ่งต้นทุนที่สะสมมาหลายปีในด้านภาษา เพื่อให้ได้ใช้ต่อไปทั้งในระดับอุดมศึกษาและในช่วงชีวิตการทำงาน …
เดี๋ยวตอนหน้าจะลองรวบรวมเรื่อง สถาบันกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ ผมก็เคยเห็นเคยเดินผ่านบ้างนะ แต่ไม่นึกว่าจะอู้ฟู่กันขนาดนี้ …
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
เส้นทางสาย EP ไปทางไหนกันบ้าง? ก้อนหินหรือกลีบกุหลาบ?
สรุปข้อสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2560
เรื่องเรียนของลูก :: สรุปแนวข้อสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนต่างๆ
EP SAMSEN 2560 คะแนนสูงสุด ต่ำสุด ชายกี่คน หญิงกี่คน
เรื่องเรียนของลูก :: รวบรวมบทความ “สอบเข้า EP สามเสน”
12 ห้องเรียน ม.1 สามเสนวิทยาลัย มีอะไรบ้าง? แบ่งเป็นอะไรบ้าง?