สอบรอบสามัญ

เด็กที่สอบได้ห้องเรียนพิเศษแล้ว ยังมาสมัครสอบรอบสามัญ เอ๊ะยังไงกันเนี๊ยะ

สอบรอบสามัญ

สอบรอบสามัญ ถือว่าเป็นสนามใหญ่สุดสำหรับเด็กส่วนใหญ่ เพราะอย่าลืมว่า จำนวนที่นั่งเรียนของเด็กสามัญ จะมีมากกว่า จำนวนที่นั่งของเด็กห้องเรียนพิเศษ แต่ถึงกะนั้นก็ตาม เด็กๆจำนวนนึงก็ยังไม่สามารถที่จะหาที่เรียนได้อยู่ดี ก็ต้องไปสอบอีกรอบในรอบสามัญ แต่เป็นอีกโรงเรียนที่ได้ชื่อไพเราะว่าโรงเรียนที่ไม่ได้มีอัตราการแข่งขันสูง และ ถ้ายังไม่ได้อีก ก็ต้องไปลงชื่อให้หน่วยงานรัฐจัดหาที่เรียนให้ ….

จะเห็นว่า เส้นทางการหาที่นั่งเรียนของเด็กๆ ไม่ธรรมดาจริงๆ  แน่นอนว่าตัวเด็กเอง ย่อมมีความกังวล แต่ก็อย่าลืมว่า พ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีความกังวลมากกว่าอีก

ปล.ภาพเด็กๆตอยสอบ Pretest สามเสนนะครับ (ขออนุญาติมา ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณครับ)

 

เด็กที่สอบได้ห้องเรียนพิเศษแล้ว ยังมาสมัครสอบรอบสามัญ เอ๊ะยังไงกันเนี๊ยะ

มาที่เรื่องที่พูดถึงกันมานานหลายปี ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ แต่ตัวผมเองได้ยินได้ฟังเรื่องนี้มา 3 ปีหลังนี้นี่เอง คือในปีที่ลูกสอบสองปีที่แล้ว ปีที่แล้ว และ ปีนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถามว่า เอ๊ะ สอบได้ห้องเรียนพิเศษ ห้องเรียนดีดีแล้ว แล้วทำไมยังมาสอบรอบสามัญอีกหละ? ไปกีดกันแย่งที่เรียน ปิดโอกาสอันควร สำหรับเด้กคนอื่นๆหรือไม่? บลา ๆ ๆ ๆ เยอะแยะมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ในหมู่ผู้ปกครองก็ได้มีการพูคุยถกเถียงกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ Social Media เข้าถึงทุกวงการทุกระดับแล้ว ก็เลยมีการเม๊าท์กันอย่างเมามัน

การที่ผู้ปกครองอยากให้เด็กมาลงสนามสอบรอบสามัญนี้ด้วย มีหลากหลายเหตุผล ร้อยแปดพันเก้า ที่ได้ยินได้ฟังมา ก็ฟังขึ้นดูดีมีเหตุผลบ้าง บางครั้งฟังก็รู้ว่า…ฮั่นแน่ ไม่พูดความจริงละ บางครั้งฟังแล้วก็อึ้ง …!!!

แต่….อย่าลืมกันว่า  เป็นสิทธิ์ของทุกคนที่คุณสมบัติครบที่สามารถสมัครได้นะครับ 

เราลองมาฟังเหตุผลต่างๆนานาที่ได้ยินมานะครับ (ใครมีอะไรเพิ่มเติม comment เสริมได้เลยนะครับ)

  • ลูกไม่ชอบโรงเรียนที่สอบกิฟท์ได้ (แป่ววววว …. แล้วมาสอบทำไม)
  • เรียนกิฟท์มันหนักไป อยากให้ลูกเรียนห้องธรรมดา (เออ…แหนะ …รู้แล้วก็ยังมาสอบ)
  • ห้องกิฟไกลบ้าน มาสอบห้องธรรมดาใกล้บ้าน ถ้าได้เดี๋ยวคิดดูอีกที
  • ตอนสอบห้องกิฟไม่คิดว่าจะได้ ไปสอบเล่นๆ เกิดได้ขึ้นมา แต่ก็ยังมั่นใจอยากเรียนสามัญ
  • ไปสอบดูเล่นๆ ได้ก็ไม่เอา
  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถ้าไปเรียนห้อง Gifted มาลองสอบห้องปกติดีกว่า
  • ไปสอบเก็บประวัติ ดูสิว่าจะได้ท๊อปทรีมั๊ย (อันนี้ผมได้ยินมากับหู เป็นการคุยกันในหมู่ผู้ปกครองด้วยกัน พอดีผมอยู่ใกล้ๆ…ตัวนี่ร้อนผ่าววววเลย)
  • ถ้าได้ห้อง Gifted โรงเรียนเกรด B กับห้องสามัญโรงเรียนเกรด A เอาไงดี?
  • เด็กบางคนความสามารถล้นเหลือ สอบที่ไหนก็ได้ รอบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น มศว. รอบพิเศษ รอบสามัญ …. เก่งเลือกได้ตริงๆ
  • ฯลฯ

จริงๆแล้ว ก็มีการเสวนาเรื่องนี้กันกว้างขวางหลายสนามมากมาย เช่น

นาย ก. :: ทำอย่างนี้ไปกีดกันเด็กคนอื่น ทำให้เขาเสียโอกาสนะครับ
นาย ข. :: เสียโอกาศอะไร เดี๋ยวเราก็สละสิทธิ์ เขาก็เรียกตัวสำรองอยู่ดี

ตรงนี้ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆนานาว่า ถ้าทางโรงเรียนเรียกตัวสำรองตามลำดับคะแนนที่ได้ในลำดับต่อๆไป มันก็โอเคนะครับ แต่ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้นหรือปล่าวเราไม่สามารถรู้ได้ เพราะว่า โรงเรียนไม่ได้ประกาศคะแนนของนักเรียนในลำดับต่อๆไปจากคนที่สอบได้ที่สุดท้าย ส่วนใหญ่ที่มีการพูดถึงก็คือ เรียกคนพิเศษในกรณีเรียกสำรอง

จริงๆความคิดเห็นส่วนตัวอยากให้ทุกโรงเรียนประกาศคะแนนสอบของเด็กๆทุกคนทุกวิชา ไม่ว่าจะสอบได้หรือสอบไม่ได้นะครับ ทำไมระบบการศึกษาบ้านเราต้องสร้างอะไรให้เป็นสีเทาตลอด แต่ก็มีเสียงค้านว่า ผู้ปกครองบางท่านไม่อยากให้ประกาศคะแนนเพราะลูกเขาทำได้ไม่ดี !!!

อีกเรื่องที่พบเจอมากับตัวเองจริงๆ ก็คือ เด็กที่สอบได้ห้องกิฟ แล้ว มาสอบในห้องสามัญโรงเรียนเดิม ทั้งๆที่ห้องกิฟของโรงเรียนนั้น ได้ชื่อว่าสอบเข้าได้ยากเย็นแสนเข็ญ อัตราการแข่งขันก็สูง สุดท้าย ผู้ปกครองและเด็กเลือกที่จะเรียนห้องสามัญ ด้วยเหตุผลที่แท้จริงเป็นเช่นไร ผมก็ไม่อาจจะทราบได้ แต่เท่าที่ทราบก็คือ ไม่อยากให้ลูกเครียดเรียนหนักมากเกินไปที่โรงเรียน …. ก็เป็นอีกแนวความคิดหนึ่ง… สิทธิส่วนบุคคลครับ


บทสรุป

ซึ่งทั้งหมดนี้ กรณีที่สอบได้ สละสิทธิ์ ไม่ว่าสละสิทธิ์รอบไหนก็ตาม ตัวหมากรุกบนกระดานมันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจากที่มันควรจะเป็น

  • เป็นสิทธิ์ของเด็กทุกคนที่มีคุณสมบัติครบ ที่จะสามารถเข้าสอบในรอบนั้นๆได้
  • เด็กบางคนที่ควรจะได้เรียนโรงเรียนใกล้บ้าน แต่ด้วยจังหวะชีวิตที่ผู้อื่นร่วมขีดเขียนให้ เลยจำต้องไปเรียนโรงเรียนที่ไกลบ้านออกไป
  • เด็กบางคนที่อาจจะมีโอกาสได้เรียนห้องกิฟ กลับต้องสูญเสียโอกาสนั้นให้กับใครก็ไม่รู้ที่ถูกเรียกว่าตัวสำรอง
  • ในทุกๆปี จะมีการเล่นเกมส์กันระหว่างโรงเรียนกลุ่ม สพฐ. กับโรงเรียนกลุ่มสาธิต ในเรื่องของวันสอบ วันรายงานตัว วันมอบตัว ฯลฯ แทงกั๊กกันไป กั๊กกันมา แต่ผู้ปกครองก็เรียนรู้ที่จะปรับ Logic เรียงลำดับว่า อะไรก่อน อะไรหลัง อะไรได้ อะไรไม่ได้ ถ้านี้แล้วโน้นไม่ได้ (นึกถึงตอนหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆเลยเมื่อเกือบสี่สิบปีที่แล้ว)
  • “ถ้าเอากิฟแน่นอนก็ไม่ต้องไปสอบค่ะ นึกอะไรไม่ออกนึกถึงตอนที่ลูกตัวเองร้องไห้ ตอนสอบไม่ได้ว่าเป็นยังไงค่ะ” Cr: Arunrat Techataweewan ปล. ผมชอบคอมเม้นท์นี้ก็เลยขออนุญาตเอามาแปะไว้นะครับ

ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ

สรุปข้อสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2560

เรื่องเรียนของลูก :: สรุปแนวข้อสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนต่างๆ

EP SAMSEN 2560 คะแนนสูงสุด ต่ำสุด ชายกี่คน หญิงกี่คน

เรื่องเรียนของลูก :: รวบรวมบทความ “สอบเข้า EP สามเสน”

สอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ทำไม…ข้อสอบยากกว่าที่เรียนในห้องเรียนไปเยอะ จนเด็กๆต้องไปหาที่เรียนพิเศษกัน