พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ Bangkokian Museum เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คนทุกรุ่นทุกวัยไม่ควรเพียงแค่เคยได้ยินแล้วผ่านเลยไป แต่ควรที่จะมาสัมผัส มาเรียนรู้ เพราะที่นี่เป็นสถานที่ที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในยุคโน้นสมัยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ของจริงไม่ต้องใช้สแตนด์อิน หลังจากที่เป็นข่าวครึกโครมไปเมื่อช่วงกลางปี 2559 เกี่ยวกับการระดมทุนรับบริจาคคนละ 100 บาท เพื่อซื้อที่ดินที่อยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์ทางด้านหน้า เพื่อที่ไม่อยากให้ก่อเกิดเป็นอาคารสูงที่จะมาบดบังทัศนียภาพของพิพิธภัณฑ์ จากวันนั้น ถึง วันนี้ เมื่อทุกอย่างผ่านไปด้วยดี ก็ถึงเวลาที่ผมจะมาเยี่ยมเยียนที่นี่บ้าง เพราะทราบมาว่าช่วงนั้น มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากหน้าหลายตา โดยเฉพาะชาวไทย ผมก็เลยได้แต่รอเวลา เพราะไม่อยากไปช่วงที่คนเยอะๆ ยิ่งเราเป็นคนที่ใช้เวลาค่อนข้างเยอะด้วย ดูแล้วก็พิจารณา เลยไปถึีงนึกย้อนไปในวัยเด็กอีกต่างหาก ของแบบนี้เราเคยใช้ ของแบบนั้นเราเคยเห็น ทำให้ใช้เวลามากก็จะยิ่งเกรงใจคนอื่นเขา
จากเดิมที่เคยจะมาหลายครั้งแล้ว แต่ติดที่ว่า ไม่รู้จะไปจอดรถที่ไหน เพราะเราเดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่คราครั้งนี้ ถือว่าปัญหาเหล่านั้นก็เป็นอันหมดไป เพราะว่ามีที่จอดรถสะดวกสบาย สามารถจอดได้ประมาณสัก 20 คัน แต่ในอนาคตก็ยังไม่รู้ว่า พื้นที่ส่วนนี้จะพัฒนาเป็นอะไรต่อไป
การเดินทาง
สำหรับผมเองแล้ว การเดินทางมาจากปทุมธานี ก็ต้องอาศัยทางด่วนนี่แหละครับ และมาลงที่ทางลงถนนสีลม แต่พอลงแล้วจะไปทางไหนต่อเนี๊ยะ ผมใช้บริการล่วงหน้าของ googlemap เลยครับ ผนวกกับการวิ่งตามเส้นทางที่ google แนะนำด้วย streetview ถ้าผมไม่ได้ดู streetview มาก่อน วันนั้นผมหลงแน่ๆ 5 5 5 เพราะว่าหลังจากลงทางด่วนแล้ว เราก็ U-Turn เพื่อใช้ถนนใต้ทางด่วนนั่นเลย วิ่งมาจนกระทั่งไฟแดง ด้านหน้าก็จะเป็นด่านเก็บตังขึ้นทางด่วน แต่เลนส์ทางขวามือสุด จะมีทางเบี่ยงทางลัด ที่พอสำหรับรถคันนึงวิ่งเข้าไปพอดีๆ เพื่อที่จะไปออกที่ถนนมหาเศรษฐ์ ที่ต้องลำบากวิ่งแบบนี้เพราะว่าเส้นทางแถวๆนั้นจะเป็นแบบ oneway เราคนต่างถิ่นยิ่งไปกันใหญ่เลย แฮะๆ
แต่จริงๆแล้วก็มาได้หลายทาง แล้วแต่ว่าเราจะมากันทางไหน ถ้าใครมาทางถนนเจริญกรุง ก็เข้าทาง ถนนเจริญกรุง 43 ได้เลย
ชื่อสถานที่ :: พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก Bangkokian Museum
ที่อยู่ :: 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจิญกรุง เขตบางรัก กทม.
website :: www.bkkfolkmuseum.com (รู้สึกว่า Link ตายอยู่)
facebook :: https://www.facebook.com/BkkMuseum/
โทรศัพท์ :: 022337027, 022346741
เวลาเปิดปิด :: 10:00 – 16:00 น. หยุดวันจันทร์และวันอังคาร
เมื่อมาถึงก็สามารถจอดรถที่ด้านข้างพิพิธภัณฑ์ได้เลย ซึ่งพื้นที่ตรงนี้นี่แหละครับ ที่เป็นที่มาของการระดมทุน ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนโดยรื้ออาคารเก่าออก(ดูจาก google street view น่าจะเป็นอู่รถยนต์) แต่ยังไม่ได้จัดทำอะไรเป็นกิจลักษณะ จึงได้ใช้เป็นสถานที่จอดรถสำหรับผู้ที่จะมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ไปพลางก่อน ซึ่งอย่างน้อยก็แก้ปัญหาถูกจุด เพราะหลายๆคนติดตรงเรื่องที่จอดรถนี่แหละครับ
ถ้ามองจากทางด้านหน้าฝั่งตรงข้ามพิพิธภัณฑ์
ตอนแรกผมก็ไม่ทราบหรอกครับ แต่ถามเจ้าหน้าที่คุณน้าสุดหล่อ จึงทราบว่าจอดด้านข้างได้เลย
หลังจากนั้น ก็เดินเก็บบรรยากาศด้านนอกก่อนเล็กน้อยชัดเจนนะครับ จะได้มาไม่ผิดวัน ไม่ผิดเวลา
เดินชม
ได้เวลาเดินชมกันแล้วหละ อย่าได้ช้า เราเข้าไปกันเฮอะ …
แว๊บบบบ แรก ที่เห็น ก็คือความเขียวสดชื่น …. ต้นไม้น้อยใหญ่เขียวขจี ดูดีเหมือนบ้านสมัยก่อนๆตอนเราตัวจิ๋วๆ คือไม่ได้ใสวิ๊งงงงงง เหมือนคฤหาสน์ หรือ สวนฝรั่ง สวนอังกฤษ สวนยุโรป แต่เป็นความร่มเย็นแบบชาวบ้านที่เห็นได้อย่างชินตาในสมัยก่อน สำหรับบ้านที่มีฐานะดีหน่อย
แต่ก่อนอื่น ก็ต้องเซนต์ชื่อเข้าชมกันก่อน สมุดเซนต์ชื่อเข้าเยี่ยมชมก็วางอยู่ใต้ร่มไม้ตรงบริเวณทางเข้านั่นแหละครับ วันนั้นเราเข้าชมเป็นคนที่สาม สองคนที่เข้ามาก่อนเป็นไทยหนึ่งฝรั่งหนึ่ง จนกระทั่งเวลาเราจะกลับก็เลยแวะมาดูอีกครั้ง มีคนเข้าเยี่ยมชมประมาณ 10 + นิดหน่อย
ที่นี่จะมี 4 อาคารหลักๆ
- เรือนไม้สักปั้นหยา
- เรือนไม้สักที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆ
- อาคารจัดแสดงนิทรรศการภาพรวมของกรุงเทพ
- อาคารจัดแสดงและขายของที่ระลึก
อาคารหลังที่ 1
เรือนไม้สักปั้นหยา เป็นอาคารหลัก อาคารแต่ดั้งเดิม ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็น ปั้นหยาบั้นปลาย หรือ ปั้นหยารุ่นหลังๆแล้ว ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 2,400 บาท ซึ่งในปัจจุบันก็๊ยังคงอยู่ในสภาพที่ีีดีเยี่ียม จนได้รับรางวัล อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีพ.ศ.2551
ประตูทางเข้าบ้านดั้งเดิม ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว เก็บรักษาไว้ในรูปแบบเดิมๆ ให้เราได้ชมกัน
ขึ้นเรือน
เดินดูด้านนอกก็นานอยู่ ค่อยๆดู ค่อยๆชื่นชม เนื่องจากว่าเวลานั้น เป็นนักท่องเที่ยวคนเดียวที่กำลังชมอยู่ เมื่อหนำใจแล้ว ก็ได้เวลาเข้าไปชมด้านในกันบ้าง ซึ่งทางอาจารย์ก็บอกว่า ข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ก็ยังคงจัดวางไว้แบบเดิมๆ เหมือนเมื่อสมัยที่ียังคงใช้ชีีวิตกับครอบครัวอยู่ที่ีบ้านหลังนี้ เพื่อที่จะได้ให้คนในยุคหลังเห็นว่า ในยุคนั้นสมัยโน้น มีการใช้ชีวิตเป็นอยู่อย่างไร
สิ่งแรกที่เห็นก็คือ รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี คือ รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น บริเวณระเบียงชานเรือนด้านหน้า เมื่อเดินเข้าประตูไป ก็จะเป็นโถงตรงกลางเรือน จะมีเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบวินเทจวางอยู่ริมผนังหน้าห้องรับแขก ถัดเข้าไปด้านในก็จะเป็นห้องรับประทานอาหารส่วนตรงข้ามกับเครื่องเล่นแผ่นเสียง ก็จะเป็นตู้ประดับมุกจากเมืองจีน ภายในตู้ก็จะเป็นเครื่องใช้ต่างๆในยุคสมัยนั้นวางอยู่หน้าห้องหนังสือบันใดทางขึ้นชั้นสอง มองเข้าไปด้านในก็จะเห็นห้องน้ำ ซึ่งก็ยังคงเป็นโถส้วมที่ใช้กันในสมัยนั้น ห้องน้ำนี้ มีประตูทางเข้าได้สองทางคือทางนี้และอีกทางเข้ามาจากห้องหนังสือ
ห้องนั่งเล่น
ห้องแรกที่เดินเข้าไปชมก็คือห้องนั่งเล่น จะมีโต๊ะรับแขกอยู่ตรงกลาง โซฟาริมหน้าต่าง และเปียโนหลังเก่า และยังมีตู้กระจกเก็บเครื่องแก้วอยู่ริมประตูด้านริมระเบีียง
ห้องรับประทานอาหาร
ติดกับห้องรับแขกก็จะเป็นห้องรับประทานอาหาร ซึ่งจะมีประตูทะลุถึงกัน ทำให้ลมโกรกจากหน้าบ้านถึีงหลังบ้านได้เลย เดินอยู่ในบ้านเลยไม่รู้สึกว่าร้อน
บนโต๊ะรับประทานอาหาร ตอนนี้ก็ดัดแปลงเป็นครอบกระจก ด้านในก็จะเป็นเครื่องใช้ต่างๆ ด้านหลังก็เป็นตู้กระจกเก็บเครื่องจานชาม ดูแล้วส่วนใหญ่น่าจะมาจากเมืองจีน
เห็นตู้กระจกก็เกิดสงสัยว่า ทำไมเขามาโชว์เหรียญ หรือ ที่เราเรียกกันว่า ตังส์รู หรือ สตางค์รู แต่ไม่ใช่หรอกครับ ก็ในเมื่อสมัยก่อนเขายังไม่มีกาวตาช้างใช้แบบเรา นี่ก็เป็นเทคนิคนึงของคนโบราณในการซ่อมกระจกแตกตู้โทรทัศน์ที่วางอยู่ในห้องรับประทานอาหาร ยี่ห้อ Emerson ไม่รู้ว่าในปัจจุบันยังคงมียี่ห้อนี้อยู่อีกหรือปล่าวกระจกฝ้าลายโบราณแบบนี้ ตอนเด็กๆเห็นบ่อย
ห้องหนังสือ
อีกห้องหนึ่งของชั้นล่างนี้ก็คือ ห้องหนังสือ ซึ่งเป็นห้องที่ผมเดินวนไปเวียนมาหลายต่อหลายรอบ ด้วยความที่ว่าเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยให้เวลากับห้องนี้เพิ่มมากขึ้น ภายในห้องมีการจัดแสดงหนังสือทั้งในยุคที่อาจารย์เป็นเด็กนักเรียนตัวน้อยๆ หนังสือนิยาย หนังสือของท่าน
เมื่อก่อนยังใช้คำว่า “ภาสาไทย” “กระซวงสึกสาธิการ”
หนังสือกามนิต เล่มนี้เคยเห็น รุ่นปัจจุบัน TU79
ไปห้องอื่นๆกันบ้าง โคมไฟห้อยลงมาจากเพดาน รูปทรงแบบนี้ ยังเกิดทัน แฮะๆ
เดินขึ้นบันไดไปชั้นสองกัน ระหว่างที่พักกลางบันใด มีอุปกรณ์นี้วางอยู่ ภายหลังทนอดสงสัยไม่ได้ ลงมาด้านล่างแล้วก็ไปถามเขา มันคืออุปกรณ์พับผ้า … !!!เมื่อเดินขึ้นมาถึงชั้นสอง ก็จะเห็นว่ามีห้องเล็กห้องน้อยอยู่สามสี่ห้อง เดี๋ยวเราไปเดินดูกัน
ตรงโถงกลางนั้น ก็มีวางอุปกรณ์ต่างๆที่น่าสนใจเช่น จักรเย็บผ้า เตียงสาน เครื่องจับจีบผ้า ฯลฯบนเตียงก็มีแผนที่การจราจรเนื่องในงานรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ. 2496 นอกจากนั้นก็มีพัดใบลาน(หรือปล่าว?)
ห้องนอนคุณยายอิน
ที่เห็นชัดเจนก็คือเตียงนอน … ก็แน่ละสิ เดินเข้ามาห้องนอนก็ต้องเห็นเตียงนอน เป็นเตียงไม้มีเสามุ้งแบบยุโรปที่พวกยุโรปชอบใช้กันในสมัยนั้น
ริมผนังข้างหน้าต่างก็จะเป็นโต๊ะเครื่องแป้ง มีหวี กระปุกแป้ง เครื่องแก้วใส่เครื่องสำอางต่างๆตรงบริเวณริมหน้าต่าง ก็มีโต๊ะไม้มีครอบกระจกด้านบน เพื่อแสดงพระเครื่อง ของขลัง เครื่องลาง ตามยุคสมัยนั้นๆและเรื่อยมา อีกด้านหนึ่งตรงข้ามกับโต๊ะเครื่องแป้ง เป็นตู้เสื้อผ้า ก็มีเสื้อผ้า และ ผ้าต่างๆ ไม่ทราบว่าเป็นของท่านใด แต่ที่เห็นแล้วทำให้นึกขึ้นมาได้ก็คือ ผ้า หรือ ผ้าเช็ดหน้า จะมีการพับเป็นรูปต่างๆ เช่นกระต่าย (ใช่หรือปล่าวไม่ทราบ แต่นานมาแล้วประมาณ 20-30 ปีภรรยาผมก็มักจะพับแบบนี้อีกชิ้นหนึ่งที่เก่าแก่คู่กันมา นั่นก็คือตู้เซฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ห้องอะไร
ห้องนี้ไม่รู้ว่าเรียกว่าห้องอะไร 5 5 5 แต่มีเครื่องเบญจรงค์ตั้งโชว์อยู่ในตู้
ห้องแต่งตัว
ความจริงแล้วห้องนี้ค่อนข้างกว้างนะครับ จะมีโต๊ะเครื่องแป้งแบบยุโรป ดูเหมือนจะเป็นบานพับสามารถปิดเก็บเข้าไปได้ มีกระจกทั้งสามด้าน
ตู้นี้เก็บกระเป๋าเดินทางซึ่งเป็นกระเป๋าหนังแท้ของคุณหมอฟรานซิส และ มีรูปปั้นปูนพลาสเตอร์ของคุณหมออยู่ด้วยซึ่งอาจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผูปั้น โต๊ะอ่างล้างหน้า น้ำที่ใช้ก็น่าจะใส่เหยือกมานะครับ มีห้องน้ำอยู่ติดๆกัน
ห้องนอนใหญ่
ภายในห้องนอนมีตู้เสื้อผ้าบานใหญ่ โต๊ะแต่งตัว และเตียงขนาดใหญ่ ซึ่งห้องนี้ก็สามารถทะลุไปยังห้องน้ำได้ด้วย
หมดจากชั้นบน ก็เดินลงสิครับ เราก็เดินออกประตูหล้ง เพื่อไปยังอาคารอื่นๆต่อไป ด้านหลังนี่น่าจะเป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมเล็กๆได้
อาคารหลังที่ 2
แต่เดิมบ้านหลังนี้ปลูกอยู่ที่แถวถนนงามดูพลีย่านทุ่งมหาเมฆ(ที่ปัจจุบันไม่มีทุ่งให้เห็นแล้ว) เพื่อใช้ชั้นล่างทำเป็นคลีนิคของคุณหมอฟรานซิส คริสเตียนแต่ว่ายังสร้างไม่แล้วเสร็จ คุณหมอก็ป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ในภายหลัง เมื่ออาจารย์มีความคิดริเริ่มที่จะทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น จึงได้ทำการขายบ้านที่ทุ่งมหาเมฆ แต่ได้รื้อถอนบ้านหลังนั้น และนำมาประกอบร่างสร้างใหม่ที่นี่ โดยได้ปรับแต่งให้มีขนาดย่อส่วนเล็กลง แต่ยังคงรูปแบบเดิมๆเอาไว้ ชั้นบนของบ้านก็ได้มีการนำสิ่งขอวเครื่องใช้ของคุณหมอ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ในสมัยนั้น หรือข้าวของเครื่องใช้มาตั้งแสดงไว้ ส่วนชั้นล่างก็จัดแสดงผลงานทางด้านศิลปะต่างๆ รวมทั้งหนังสือนวนิยาย
ชั้นล่างจัดแสดงและน่าจะจำหน่ายด้วย ภาพวาดต่างๆ สวยจับใจจริงๆ ผมไม่ได้ถามหรอกครับว่าท่านผู้ใดเป็นคนจรดปลายภู่กันลงบนผืนผ้าใบเหล่านี้ หนังสือนิยาย
ขึ้นไปดูชั้นสองกันบ้างระหว่างทางบันได ก็มีจัดแสดงเครื่องใช้ของคุณหมอ
รูปปั้นคุณหมอ ห้องนอน เตียงนอน โต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะทำงาน มีแบบแปลนของบ้านวางอยู่บนโต๊ะ ห้องเล็กทางนี้เก็บพวกอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งอ่างล้าง ทั้งเหยือกหรือคนโท ที่ใช้กันในสมัยโน้นตาชั่งรูปร่างหน้าตาพิลึกตัวเลขแสดงน้ำหนักกลับทิศกลับทาง เรื่องของเรื่องก็คือ คนที่ขึ้นไปยืนอยู่บนตาชั่ง มองลงมาผ่านกระจก(ที่เหมือนฝามีโซ่ยึดอยู่) เพื่ีอดูน้ำหนักตัวเองเห็นอุปกรณ์ขาวๆเป็นกระบอกที่วางบนโต๊ะไหม นั่นคือโครตเหง้าบรรพบุรุษของ Comfort 100 นั่นเอง ใครไม่เคยเห็นลองใช้ google ดูครับ เป็นที่ฮิตกันมากในยามรถติดบ้านเราเมื่อสิบกว่ายี่สิบปีที่แล้วชิ้นไกลโน่นนะครับกระบอกฉี่
อาคารที่ 3
อาคารหลังที่สาม เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการข้าวของเครื่องใช้ในยุคโน้นสมัยนั้น ที่ได้มาจากที่ต่างๆ รวมทั้งของอาจารย์เอง(เป็นส่วนใหญ่) ของที่คนอื่นๆบริจาคมาบ้าง ซึ่งอย่าได้แปลกใจเพราะงานนี้มากันครบ มีทั้งครก เตา หม้อกะทะ ไห กระด้ง ฯลฯ เป็นของใช้ของชาวบางกอกในยุคนั้น หลายๆชิ้นผมยังทันอยู่ หลายๆชิ้นก็ยังหาดูได้ในปัจจุบัน
สิ่งแรกคือ บัตรประจำตัวประชาชนของอาจารย์ บัตรรุ่นนี้ผมเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกก็คราวนี้นี่แหละครับ เพราะเกิดมาก็เป็นรุ่นใบเล็กใบเดียวละ เย็บปักถักร้อย หมึก ปากกาคอแร้ง ฯลฯ กะละมัง กรงไก่ กรงสุนัข … อะไรหงะ? ยาสูบหรอ? อันนี้แน่นอน ไม้ขีดไฟเตาตู้เหล่านี้ ทันครับทัน แฮะๆ ขึ้นมาชั้นสองแล้วครับ เป็นนิทรรศการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้ามาของชาติตะวันตกในยุคนั้น หลากหลายข้อมูลทีี่น่าสนใจ ผมเองอ่านไปก็เพิ่งเคยรู้เรื่องเหล่านี้จากที่นี่นี่แหละครับ ปั้นน้ำเป็นตัว(น้ำแข็ง) หนังสือเรียนภาษาจีน
หมดแล้ว …
ได้เวลาจากลากันแล้ว เดินวนชมดูอยู่ 3-4 ชั่วโมง ประทับใจมาก ทั้งสถานที่และผู้คนที่นี่ เดินไปเจออาสาสมัครที่ไหน ก็จะบอกเราตลอดเลยว่า ถ่ายรูปได้หมดเลยนะครับ ถ่ายได้ทุกมุม ถ่ายเยอะๆเลยครับ
บริเวณนี้มี postcard มีอะไรเล็กๆน้อยๆที่ระลึกวางจำหน่าย อาจารย์ก็จะนั่งอยู่แถวๆนี้แหละครับ
พิพิธภัณฑ์
กำลังตามเก็บพิพิธภัณฑ์ต่างๆใน กทม.อยู่
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ – เรื่องเล่าที่มากกว่าดอกไม้และพิพิธภัณฑ์บนถนนสามเสน