เรื่องเรียนของลูก :: ตอนที่ 8 – สามเสนวิทยาลัย ในมุมมองของผู้ปกครองบ้านๆ(บ้านนอก) แบบผม

samsenX

ติดตามข่าวสาร ความก้าวหน้าของเด็กๆ และเรื่องท่องเที่ยวแบบครอบครัว ได้ผ่านทาง

https://www.facebook.com/myRemainingTime

ท่านใดเพิ่งเข้ามาอ่าน หาอ่านได้ตั้งแต่ตอนที่ 1 มาจนถึงตอนนี้ ตอนที่ 8 แล้วครับ เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ล้วนๆ ครับ


 

ในตอนนี้ … จะขอเล่าเรื่องที่ผ่านมาเกือบหนึ่งเทอม ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้ปกครองบ้านๆแบบผม ในหัวข้อต่อไปนี้นะครับ

> ว่าด้วยเรื่องโรงเรียนและสิ่งแวดล้อม
> ว่าด้วยการปรับตัวของเด็กๆ
> ว่าด้วยการจัดการการใช้งานโทรศพท์มือถือ
> ว่าด้วยเรื่องการเรียนการสอน
> ว่าด้วยเรื่องการงานการบ้าน
> ว่าด้วยเรื่องผู้ปกครอง – เครือข่ายผู้ปกครอง
> ข้อเสียหละ มีอะไรบ้าง


ก่อนอื่น ก็ขอประชาสัมพันธ์ การสอบวัดระดับความรู้ของลูกๆหลานๆกันด้วยนะครับ เปิดรับสมัครถึงวันที่ 7 กันยายน 2558 นี้แล้วครับ (จันทร์หน้านี้เอง)

โครงการ Samsen Pre-Test 2558 รับสมัคร นร. ป.5-6 ทดสอบศักยภาพของตนเองในการเตรียมความพร้อมก่อนสอบเข้าม.1 จัดโดยสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย รับสมัครทางออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 58 – 7 กันยายน 58

aaIMG_4187


อนึ่ง… เรื่องเล่านี้ มาจากการนั่งมโนของผมคนเดียวล้วนๆนะครับ ไม่ได้ถามลูกเลยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะเห็นเขามีความสุขล้วนๆ …

ผ่านมาเกือบสามเดือน สำหรับชีวิตลูกในวัยมัธยมต้น …

เมื่อวันก่อนโน้น …  วันที่ 8 สิงหาคม 2558 อันเป็นวันที่ทางโครงการ EP สามเสน นัดผู้ปกครองมา เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบผลการเรียนที่ผ่านมาครึ่งเทอม คะแนนเก็บ คะแนนสอบมิดเทอม ว่าลูกของเราเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับเพื่อนๆในห้อง เทียบกับเพื่อนๆในกลุ่มโครงการ EP ด้วยกัน และ เทียบกับเพื่อนๆในระดับ ม.1 ของสามเสนวิทยาลัยทั้งหมด และสามารถสอบถามกับคุณครู teacher ประจำชั้น ได้โดยตรง

นั่นเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้มาสัมผัสกับโรงเรียน คุณครู และ Teacher มากยิ่งขึ้น ทำให้เรารับรู้หลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับลูกเราซึ่งในบางลีลาอาจจะไม่เหมือนกับที่เราคิดหรือเราวาดภาพสวยหรูไว้ หรือว่าบางลีลาที่ดีกว่าที่เราคิดมากมาย …

ที่สำคัญ … เราได้มานั่งโต๊ะเรียน โต๊ะตัวที่ลูกนั่งเรียน (EP จะมีห้องเรียน โต๊ะเรียนประจำ ไม่ได้เดินเรียนเหมือน MSEP ESC EIS และ ห้องสามัญ)

ก่อนอื่นก็ขอนำบรรยากาศ ภายในโรงเรียนมาบันทึกเอาไว้ก่อนคร่าวๆ เดี๋ยวมีเวลาอาจจะเขียน “ทัวร์สามเสน” สักรอบ นะครับแฮะๆ


 

ว่าด้วยเรื่องโรงเรียน และ สิ่งแวดล้อม 

aaIMG_1730

aaIMG_1728 aaIMG_1726

รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 65 จึงไม่ต้องบอกเลยใช่ไหมครับว่า โรงเรียนแห่งนี้ จะมีประวัติมายาวนานขนาดไหน ตัวตึก อาคารเรียน ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ปรับปรุงบ้าง สร้างเพิ่มบ้างตามกาลเวลาและยุคสมัย

ถ้าถามผม …  คือโรงเรียนกับเราอายุก็ต่างกันไม่มาก … ผมกลับชอบบรรยากาศแบบนี้มากกว่าโรงเรียนอาคารใหม่ๆสูงๆเสียอีก ดูแล้วมันขรึงขรังสมกับเป็นสถานศึกษา ซึ่งก็เป็นลักษณะโรงเรียนที่เราพบเห็นได้ในต่างจังหวัดประมาณนั้นแหละครับ บังเอิญว่าเราเป็นเด้กต่างจังหวัดสุดไกลด้วยนะสิ ก็เลยคุ้นเคยสภาพโรงเรียนเก่าๆแบบนี้

aaIMG_4138

ด้านหลังโรงเรียน เป็นทางรถไฟใกล้สถานีรถไฟสามเสน

ด้านซ้ายก็เป็นทางขึ้นลงทางด่วน

ด้านหน้าเป็ถนนพระรามหกคลองประปา

ด้านขวาเป็นสโมสรทหารบก และ พรรคประชาธิปัตย์

2015-08-24_11-16-40

ดูรั้วรอบขอบชิดแล้ว โอกาสที่จะปีนกำแพงโดดเรียนเหมือนผมตอนมัธยมต้น คงยากแน่ๆ ประตูทางเข้าออกมีเวลาเปิดปิด มีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าอยู่

ที่นี่ … ผมชอบบรรยากาศหลังเลิกเรียนตอนเย็น เด็กๆก็จะมีจับกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆตามที่ชอบ ตามมุมต่างๆของโรงเรียน

บ้างก็ร้องเล่นเต้นสนุก  บางกลุ่มมีเครื่องเล่น MP3 เล็กๆมาวางแล้วเปิดเพลงร้องกัน เต้น cover ก็มี

บางกลุ่มก็แบกกีต้าร์มานั่งเล่น เคาะกล่องไม้ร้องเพลง

มีกล่มที่ซ้อมดรัมเมเยอร์ และ เชียร์ลีดเดอร์ของสีต่างๆ สร้างบรรยากาศได้ดี

หลายกลุ่มเข้าใจว่าคงมีการแสดงหรืออะไรสักอย่าง มีการซ้อมการแสดง หลายฉากหลายมุม

บางคนนั่งรอผู้ปกครองก็นั่งอ่านหนังสือทำการบ้านไป

(แต่ตอนนี้ ไม่สามารถเข้าออกได้แล้วครับ ผปค.ต้องรอบุตรหลานอยู่บริเวณลานพระ หรือไมก็ลานจอดรถใต้ทางด่วนโน่นเลย ตั้งแต่มีเหตุบึ๊มที่ราชประสงค์)

aaIMG_3513 aaIMG_3989

บริเวณใต้อาคารสาม ก็เป็นอีกสถานที่ท๊อปฮิตในการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ นี่ขนาดวันเสาร์ก็ยังมาร่วมกันซ้อนโน่น ทำนี่

aaIMG_1618 aaIMG_1615x

 

วันก่อนเดินผ่านไปช่วงวันแม่ ก็มีการจัดกิจกรรม จัดบอร์ดเกี่ยวกับวันแม่ ก็เลยแอบถ่ายรูปบอร์ดของเด็กๆ English Program มาด้วย

aaIMG_4704 aaIMG_4702

ข้อนี้ ถ้าถามผม …. ผมให้ผ่านครับ 


ว่าด้วยเรื่องการปรับตัวของเด็กๆ

เรื่องแรกของการปรับตัวก็คือ การมาให้ทันโรงเรียนเข้าแถว 5 5 5 อันนี้้องปรับกันหลายคนเลยครับ ทั้งตัวเด็กและคนที่จะมาส่ง โดยเรามีเป้าหมายไว้ว่า มาให้ทันก่อน 07:00 น. เพื่อที่ว่าจะได้มีเวลาทานข้าวเช้าก่อนเข้าแถวที่เวลา 07:30 น. เอาเข้าจริง วันแรกไปถึง 06:20 น. แล้วก้เห็นว่า ช่วงเวลาทุกอย่างน่าจะโอเค มีเวลาวิ่งเล่นหลังทานข้าวเช้าที่โรงอาหารได้อีก ก็เลย ปรับเป้าใหม่เป็น 06:30 น. แต่เราก็มาประมาณ 06:20 น.เกือบทุกวัน เป็นอันลงตัว ปรับแรก ….

aaIMG_2469

ปรับที่สอง … ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ

ทั้งในเรื่องของเพื่อนใหม่ๆ เด็กบางคนมาจากโรงเรียนหญิงล้วน หรือ ชายล้วน มาเจอโรงเรียนแบบสห ก็ต้องรู้สึกแปลกๆ หรือว่า ตื่นเต้นถูกใจแปลกใหม่เป็นเรื่องธรรมดา

aaIMG_2525

 

aaIMG_0065

(ภาพของบอลล์ บอลล์ถ่าย)

แต่เชื่อเหอะ … เด็กวัยนี้ ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้มาก แป๊บเดียวก็จูนเข้าหากันได้ เราทำได้เพียงแค่ประคับประคองไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่เรียนปรับพื้นฐาน 1 สัปดาห์ เมื่อมาเรียนห้องจริง ก็เป็นนักเรียนกล่มเดิมประมาณ 80% แล้ว

ช่วง สัปดาห์แรกๆ ผู้ชายในห้องที่มี 11 คน ก็สนิทสนมกันมากแล้ว แต่…แทบไม่ค่อยได้คุยกับผู้หญิงเลย (แอบถามลูกมา) คือเวลาจับกลุ่มทำ project work หรือการบ้านกลุ่ม ก็จะเป็นกลุ่มชายล้วน หญิงล้วน

แต่พอหลังจากช่วง Ice breaking ปัจจุบันนี้ โอ้โห … อย่าให้ said แทบจะกระโดดเตะกันเลย แฮะๆ (ผมก็เขียนเกินเลยความจริงไปหน่อย อิอิ) … ก็ปรับตัวกันไม่นานครับ

aaIMG_0028

(ภาพของบอลล์ บอลล์ถ่าย)

แต่มีสิ่งนึงที่ทำใจไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ก็คือการพูดจากันด้วยภาษาพ่อขุน และบ่อยครั้งที่มีทั้งคำศัพท์ที่เกินเลยตามประสาวัยรุ่นสำหรับเด็กที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

เชื่อไหมว่า ผมเดินไปเดินมาในโรงเรียน 80-90 % ของการพูดจาของเด็กๆซึ่งกันและกัน ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาพ่อขุนทั้งสิ้น (อีก 10-20% หมายถึงไม่ได้ยินว่าเขาคุยอะไรกัน แฮะๆ) ผมเพิ่งจะเจอเด็กที่คุยกันโดยใช้คำว่า “แก” แทนที่จะเป็นคำว่า “มึง” ก็เมื่อไม่กี่วันมานี้ และแน่นอนเป็นผู้หญิงด้วย แต่ก็อีกแหละ จากการสดับรับฟังเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา เด็กผู้หญิงก็ใช้คำศัพท์แรงๆมากกว่าเด็กผู้ชายเช่นกัน (ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ จากเสียงในอากาศที่ผ่านเข้ามาในหู)

ลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง ถามว่าตอนเด็กๆ เราพูดภาษาพ่อขุนมั๊ย …. “พูด แล้วก็พูดมาตลอดในช่วงวัยรุ่น” แต่ก็มาปรับเปลี่ยนการใช้ในช่วงวัยทำงาน จนปัจจุบันใช้น้อยลงมาก

ถึงแม้ว่าในวันแรกๆ ที่เราแอบได้ยินลูกพูด เราจะรู้สึกแปลกๆหูไปบ้าง เพราะที่โรงเรียนประถมแทบจะไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย”

ก็เลยแกล้งลองถาม ลองคุยกับลูกว่า “ถามหน่อยสิว่าเวลาคุยกันในหมู่เพื่อน ใช้ กูกู มึงมึง กันป๊ะ?”

“ก็มีใช้น๊ะป๊า ใช้กันหมดทั้งผู้หญิงผู้ชายเลย แฮะ แฮะ”

“อืมมมม … ก็ใช้ให้ถูกกาลเทศะละกัน”

“ครับ”

เป็นอันจบ เหมือนเป็นสัญญาณอนุญาติยังไงก็ไม่รู้ 5 5 5 เพราะเราเชื่ออย่างนึงว่า การพูดจากับเพื่อนด้วยภาษาแบบนี้ ไม่ใช่จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดี(ไม่งั้นเราก็โดนไปด้วย อิอิ)

aaIMG_4480

สำหรับหัวข้อนี้ … ไม่น่ามีปัญหาสำหรับเด็กในวัยนี้ครับ สามารถจูนเข้าหากันได้อย่างรวดเร็ว


ว่าด้วยเรื่องการจัดการการใช้งานโทรศพท์มือถือ

aa012129332f1a557bdf0693bcc03ba37f1ba7282a04

เด็กติดเกมส์ เด็กติดแชท เป็นปัญหาที่เจอกันเยอะมากโดยเฉพาะกับช่วงที่เด็กกำลังเติบโตเป็นวัยรุ่นนี่แหละ ทั้งนี้ และ ทั้งนั้น ผู้ปกครองนี่แหละที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบไปเต็มๆ เพราะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์มาให้ 5 5 5

ถามว่า … แล้วโรงเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไรบ้างไหม กับปัญหาเหล่านี้ …

เรื่องเล่า…ของลูก

วันหนึ่ง ช่วงเวลาระหว่างวัน จำได้ว่าวันนั้นน่าจะเป็นวันพุธ ประมาณ บ่ายโมง เป็นช่วงเวลาที่เรากำลังนั่งเขียนบทความเกี่ยวกับสามเสนตอนที่ 6 อยู่นั่นแหละ

เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น จำได้ว่าเป็นเสียงเดียวที่เราตั้งไว้เฉพาะสำหรับลูกชายเรา … บอลล์
การโทรมาเวลานี้ ไม่ปกติ … แน่นอนว่าไม่ปกติ เพราะปกติจะโทรมาหลังบ่ายสาม

“สวัสดีครับ ลูกบอลล์ วันนี้เลิกเร็วหรอ?”
“ป่าป๊า ………. เอ่อ……โทรศัพท์ถูกยึดครับ”

คืออารมณ์แบบว่า กลัวจะโดนดุ ในความผิดที่ได้กระทำไป …

“อ่าวหรอ…. แล้วโดนยึดกี่วันหละ?”
” 7 วันครับ ไม่รวมวันหยุด”

“โห … ยึด 7 วันเองหรอ น่าจะยึดสักเดือนนึงน๊ะ 5 5 5”
“แล้วลูกรู้แล้วใช่ไหมว่า เพราะอะไร ทำไม ครูถึงยึด ครูก็ได้บอกกฏเกณฑ์ไว้แล้ว ครูทำตามหน้าที่ก็ถูกต้องแล้วนะครับ”

แบบว่า อึ้งๆหงะ ไม่โดนดุ แถมป่าป๊ากลับดีใจด้วยแฮ๊ะ …. มันอะไรกันฟ๊ะ 5 5 5

วันนั้นไปรับที่โรงเรียน ก็ทำหน้าหงอยๆเช่นกัน มีเพื่อนๆโดนพร้อมๆกันก็หลายคนอยู่ … ผู้ปกครองแต่ละท่าน รู้สึกยินดีปรีดา ดีใจออกนอกหน้ากันหมด คริ คริ

ที่เล่ามานั้น …. เพียงแค่อยากจะบอกว่า ทางโรงเรียนเองก็ตะหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้มีการออกระเบียบปฏิบัติห้ามมิให้นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในเวลาเรียน เว้นแต่ว่าได้รับอนุญาติจากครู(บางครั้งบางวิชา จำเป็นต้องใช้ในการหาข้อมูลจาก internet) ดังนั้น ถ้าครูพบเห็น สามารถที่จะทำการยึดไว้เป็นการชั่วคราวได้ โดยมีระยะเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ตั้งแต่ 1 วัน ไปจนถึง 1 สัปดาห์ ซึ่งในครั้งแรกๆที่เราได้ยินระเบียบนี้ ก็นึกอยู่ในใจว่า ถ้าโดนสักครั้งคงดีน๊ะ จะได้รู้สำนึก 5 5 5 แล้วก็โดนจนได้

สำหรับข้อนี้ ผมก็ว่าเป็นมาตรการที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่จะได้ผลไม่ได้ผล อยู่ที่ตัวของเด็กเอง และ ผู้ปกครองด้วย (อย่าได้ใช้วิธีหักคะแนนเลยนะครับ อิอิ ลูกคะแนนน้อยๆอยู่ด้วย)


ว่าด้วยเรื่องการเรียนการสอน

เราจะได้ยินคำพูดนี้เป็นประจำในช่วงแรกๆที่เปิดเทอม

“เด็กต้องใช้เวลาปรับตัว เทอมแรกเกรดอาจจะตกไปเยอะจากที่เคยได้ตอนอยู่ในชั้นประถม” อะไรประมาณนั้น
“ลูกไม่ได้เรียนอีพีมา จะฟัง Teacher รู้เรื่องไหม”
“เนื้อหายากไปมั๊ย”
บรา ๆ ๆ ๆ

aaIMG_0873

(ภาพของบอลล์ บอลล์ถ่าย)

นอกเหนือจากนั้น คำถามที่เรามักจะได้รับจากบุคคลภายนอกก็คือ Teacher สัญชาติอะไรบ้าง เรียนเป็นภาษาอังกฤษหมดทุกวิชามั๊ย คณิตศาสตร์จะง่ายเกินหรืออ่อนกว่าเด็กที่เรียนสามัญเรียน gifted หรือ MSEP, MSC มากมั๊ย

ซึ่ง แน่นอน เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าลูกจะเข้ามาเรียนห้องอีพี ห้องวิทย์ หรือห้องธรรมดา ล้วนแล้วแต่ต้องปรับตัวกันทั้งนั้น และการที่เด็กๆมาเจอครูสัญชาติต่างๆ สำเนียงภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันไป ก็อาจจะต้องทำความคุ้นเคยกับสำเนียงเฉพาะบุคคล

ผู้ปกครองบางท่านถึงกับถอดใจ บางท่านคิดถึงกับว่าไปเรียนสามัญดีกว่ามั๊ย ย้ายกลับโรงเรียนเก่าดีกว่ามั๊ย ลูกตามไม่ทันจริงๆ ฟังไม่รู้เรื่องอะไรเลย

บางครั้ง ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ถามแล้ว Teacher ก็ไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมให้แจ่มแจ้ง
เด็กๆก็กลับมาบ่นให้ผู้ปกครองฟัง

ซึ่งผู้ปกครองก็แจ้งไปที่ English Program Office ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของอาคาร 8 สามารถเข้าถึงได้สะดวก (ทางโครงการน่าจะไม่อยากให้ผู้ปกครองคุยโดยตรงกับ Teacher)

ทาง EP office ก็จะเรียก Teacher มาปรับทัศนคติ เอ๊ยยยย มาพูดคุย เพื่อการปรับปรุงที่ดีขึ้น ซึ่งหลังจากนั้นก็ดีขึ้นมาตามลำดับ และอีกอย่าง เด็กก็จะเริ่มคุ้นเคยกับภาษาของ Teacher แล้วด้วย ซึ่งเข้าใจว่าในส่วนของ Teacher เองแล้วก็จะต้องมีการถูกประเมินผลงานด้วยเช่นกัน

มาถึงปัจจุบัน คิดว่าเด็กๆส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับ Teacher แต่ละคนกันแล้ว เพราะได้ยินเสียงบ่นน้อยลง

aaIMG_4489

(ปล.ภาพนี้เป็นการเรียนการสอนเสริมในวันเสาร์ หัวข้อ 7 habits of highly effective มั้งได้ยินมาแว่วๆ แต่ว่าชอบบรรยากาศแบบนี้ น่านั่งเรียนด้วยจัง อิอิ)

Teacher เป็นสัญชาติอะไร :: เท่าที่ทราบก็มี อังกฤษ ไอร์แลนด์ ฟิลิปปิน อะไรทำนองนี้แหละครับ

เรียนเป็นภาษาอังกฤษหมดทุกวิชามั๊ย :: น่าจะไม่นะครับ อย่างน้อยก็มี วิชาภาษาไทยกับ ประวัติศาสตร์ ที่เรียนเป็นภาษาไทย บอกเลยวิชาพุทธศาสนาเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ….. ยากกกกกกสสสส มาก ยากตรงที่คำศัพท์นั่นแหละครับ

aaIMG_4448

(ปล. ภาพนี้เป็นภาพวันประชุมผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองได้มานั่งตรงโต๊ะที่ลูกๆนั่งเรียน โดยรวมห้องละ 30 คน กำลังดีเลยครับ เหลือที่ด้านข้างกว้างหน่อยให้เด็กๆนั่งเล่นนอนเล่น ระหว่างพักได้)

สำหรับข้อนี้ ผมว่าเรียนไปสักพักนึง ก็จะปรับตัวได้ทั้งเด็กนักเรียน และ ผู้ปกครองเองด้วยครับ 


ว่าด้วยเรื่องการบ้าน

….. มีบางเรื่องสำหรับเด็กๆที่ต้องปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง … จนกระทั่งวันนี้ ก็ยังแก้ไขไม่ได้เสียที นั่นก็คือ “ความรับผิดชอบ” “Responsibility” 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนนะครับ … ความรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องการบ้าน รายงาน งานกลุ่ม เตรียมตัว Test เตรียมตัวสอบ บราๆๆ ที่เมื่อก่อนตอนเรียนชั้นประถม ยังมีการติดต่อสื่อสารผ่านสมุดจดการบ้าน ผ่าน Line ผ่าน Facebook กับครูประจำชั้นบ้าง แต่มาตอนนี้ ไม่มีแบบนั้นอีกแล้ว เด็กบางคนสามารถดูแลตัวเองได้ ก็จะมีการจดเหมือนสมุดจดการบ้านเป็น Check List ในส่วนของผู้ปกครองบางห้องก็จะมีการพูดคุยกันผ่านตาม Line Group ต่างๆ ก็อาจจะมีการแชร์ข้อมูลกัน เพื่อที่พ่อแม่จะได้ไปตามงานลูกๆได้

การสอบ Mid Term ลูกๆไม่ค่อยเครียด แต่พ่อแม่เครียดมากกว่า …. คือถ้าลูกเราเก่ง ขยัน ตั้งหน้าตั้งตาเรียน เราก็คงสบายใจมากกว่านี้ แต่เทอมนี้ หลายคนปล่อยลูกสบายๆกัน(รวมทั้งผมด้วย) เพราะรู้ว่าเหนื่อยมากับการสอบเข้าพอควร มาเทอมแรกก็เพลาๆลงบ้าง แต่ก็ต้องพยายามรักษาสถานะ อย่าลืมว่า 3.50 ถึงจะได้ต่อ ม.4 แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น คะแนนเก็บจะมีความสำคัญมากกว่า เพราะ midterm+final ก็ประมาณ 40% ของคะแนนทั้งหมดเท่านั้นเอง ดังนั้น การบ้าน งานกลุ่ม project work ต่างๆ ต้องส่งให้ครบ ส่งให้ทัน

ยกตัวอย่างงานกลุ่มของเด็กๆ ม.1 กันครับ วิชาหน้าที่พลเมือง ครูให้จัดกลุ่มถ่ายทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับเรื่องปัญหาของนักเรียนในห้องเรียนหรือในโรงเรียนอะไรทำนองนั้นหงะ เห็นเด็กๆทำงานกันแล้วสนุกดีครับ

aaIMG_4523aaIMG_1612

aaIMG_1600

 

ได้เห็นเด็กๆทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม แบบทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น …. เออ … รู้สึกดี น๊ะaaIMG_4497

สำหรับข้อนี้ ก็ต้องปรับตัวกันไปตลอดเทอมแหละครับ


 

ว่าด้วยเรื่องผู้ปกครอง – เครือข่ายผู้ปกครอง

คำว่าเครือข่ายผู้ปกครอง ผมเพิ่งจะมาเคยได้ยินก็ที่นี่นี้แหละครับ ตอนแรกก็นึกภาพไม่ออก แต่สามารถสัมผัสได้ถึงพลังแฝงหลายๆอย่าง

ต่อมาในภายหลัง ก็พบว่า โรงเรียนอื่นๆเขาก็มีกันทั้งนั้น ทั้งโยธิน บดินทร์ ฯลฯ แสดงว่าที่ผิดปกติก็คือเรา ที่ไม่ได้รู้จักอะไรเลย บ้านนอกจริงๆ

เครือข่ายผู้ปกครองที่นี่ไม่แน่ใจว่าจะเหมือนกับที่โรงเรียนอื่นๆหรือไม่ ในแต่ละห้อง ก็จะมีการจัดตั้งเลือกตั้งกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ห้องละ 5 คน แล้วจาก 5 คนนี้ก็จะไปรวมกับห้องอื่นๆในชั้นปีเดียวกัน เพื่อเลือกตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองของชั้นปี แล้วไปประชุมเครือข่ายในระดับโรงเรียน

ทั้งนี้ทั้งนั้น เครือข่ายผู้ปกครองจะเป็นแกนกลางในการประสานงานเรื่องต่างๆรวมทั้งกิจกรรมกับทางโรงเรียน

ทุกวันนี้ เกือบทั้งหมดก็ใช้ Line Group เป็นช่องทางในการสื่อสารกัน จากที่เราไม่ชอบใช้เลย Line เพราะว่าสายตาไม่ค่อยดี อ่านยาก จะถนัด Facebook มากกว่า ก็จำต้องหันมาใช้ Line ในการสื่อสารอย่างเป็นจริงเป็นจัง

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในช่วงหลายเดือนนี้ ก็ได้เครือข่ายผู้ปกครองนี่แหละครับ เป็นสื่อกลางในการนัดแนะจัดการเรื่องต่างๆ ทั้งกิจกรรมของเด็ก กิจกรรมของเครือข่ายรวม การเรียนการสอน การนัดแนะติวเพิ่ม ข่าวสารการเรียนการสอนการสอบ ฯลฯ

นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆในนามสมาคมผู้ปกครองและครู เช่น กิจกรรมโยนโบว์ลิ่ง กอล์ฟ แรลลี่ ฯลฯ รวมทั้งการจัดสอบ Pretest สามเสน ด้วย

aaIMG_3282 aaIMG_3311

ถามว่า ทำกิจกรรมเหล่านี้ แน่นอนสมาคมก็ต้องมีรายได้ แล้วรายได้เหล่านั้นนำไปใช้อะไรอย่างไรบ้าง? เชื่อว่า ผปค. ส่วนใหญ่ก็ต้องคิด !!!

ก็เท่าที่เห็นๆมา ทางสมาคมผู้ปกครอง ก็ได้มีการไปติดต่อเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อขอใช้พื้นที่บริเวณใต้ทางด่วนเป็นลายกิจกรรมและลานจอดรถของโรงเรียน ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี ทางสมาคมก็ได้ใช้เงินในการปรับปรุงสถานที่ ปรับพื้น ราดปูน ทำรั้วรอบขอบชิด ปลูกสวนหย่อม ฯลฯ อะไรประมาณนี้แหละครับ …

aaIMG_3713 aaIMG_3719


ว่าด้วยเรื่องข้อเสียบ้าง

มีข้อดีมาเยอะแยะแล้ว มาดูว่ามีข้อเสียอะไรบ้าง แบบว่าพยายามนึกน๊ะ เพราะบางทีคนเราก็มี Bias จะมองเห็นแต่ส่วนดีดี บางทีส่วนที่ไม่ดีอยู่ใกล้ตัวมากๆก็อาจจะมองไม่เห็น 5 5 5

เอาเป็นว่า พูดตามความรู้สึกของผมล๊ะกันนะครับ

  • รถเมล์ ผ่านน้อยมาก เท่าที่เห็นๆมีไม่กี่สาย
  • ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน เห็นเด็กๆหลายคนรวมกลุ่มกัน(หารค่ารถ)ขึ้นรถตุ๊กๆหน้าโรงเรียนแล้วไปลงที่สถานีอารีย์ เพื่อขึ้นรถไฟฟ้า
  • ใกล้พรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นไม่รู้ว่าถ้ามีเหตุการณ์ทางการเมือง จะได้รับผลกระทบอะไรอย่างไรบ้าง (เหตุการณ์ที่ผ่านๆมาผมก็ยังไม่เคยมาแถวนี้ ก็เลยไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร)

aaIMG_1739

 

aaIMG_1731


 

สนใจบทความเกี่ยวกับการเรียนการสอบเข้า EP สามเสน ตามไปที่ Link นี้ได้เลยครับ 

เรื่องเรียนของลูก :: รวบรวมบทความ “สอบเข้า EP สามเสน“

1160x500-เดือนแดงเดือด