สอบเข้าสามเสน

อัตราการแข่งขันรอบห้องเรียนปกติ ม.4 ปีการศึกษา 2566

ความจริงก็พยายามทำของรอบปกติ ม.4 มาอยู่เหมือนกัน แต่เนื่องด้วยข้อมูล ม.4 จัดระเบียบได้ยากมาก เหตุเพราะแต่ละโรงเรียนมีโครงสร้างแผนการเรียนที่แตกต่างกัน บางโรงเรียนก็เหมือนลองของใหม่ เดี๋ยวมีแผนการเรียนนี่โน่นนั่นเพิ่ม พอปีถัดไปก็หายไปแล้วเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทน อาจจะเป็นเพราะว่าคิดแผนได้แต่ผู้เรียนยังไม่ buy idea ก็เลยคนสมัครน้อยมาก เลยกลับมาใช้แบบเก่า บางโรงเรียนรับแผนโน่นนี่หลายแผน แต่เวลารายงานยอด รายงานเป็นยอดรวม ซึ่งอย่างที่บอก เอาข้อมูลมาสรุปค่อนข้างยากมาก แต่ไม่เป็นไร ปีนี้เริ่มเก็บไปก่อนปีหน้าว่ากันอีกที(ถ้ายังทำอยู่) อัตราการแข่งขัน ม.4 ปกติ 2566 ที่ผ่านมา

ม.4 – พสวท.(สู่ความเป็นเลิศ) สามเสนวิทยาลัย ผลคะแนนสอบ 2566

จริงๆก็ไม่ได้ทำข้อมูลของ พสวท.(สู่ความเป็นเลิศ) มาก่อน เพราะว่าเปิดมาไม่นาน และ หลักในการรับก่อนหน้านั้น ก็จะไม่ค่อยเหมือนกับห้องเรียนพิเศษอื่นๆ แต่จากเมื่อ 2 ปีก่อน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก พสวท. จึงเริ่มมีการจัดสอบแบบเป็นตัวของตัวเอง ถึงแม้จะไม่ได้สอบรวมพร้อมกับพวกห้องเรียนพิเศษต่างๆก็ตาม ก็เลยคิดว่า ถ้างั้นก็มาเริ่มต้นเก็บเลยละกัน เผื่อว่าอนาคตใครจะเอาไปทำต่อจะได้มีแหล่งข้อมูล อื่นๆ

อัตราการแข่งขันรอบห้องเรียนปกติ ม.1 ปีการศึกษา 2566

เป็นรอบที่อัตราการแข่งขันสูงในบางโรงเรียนที่ต้องบอกว่าสูงมาก ซึ่งคำถามถัดไปก็คือ ถ้าสอบไม่ได้แล้วจะอย่างไรต่อ? . . . คอยติดตามตอนต่อไปนะครับ ที่สรุปนี้ ณ เวลา 08.30 น. ของวันที่ 16 มีนาคม 2566 และจะมา Update ให้เรื่อยๆนะครับ ตัวเลขของแต่ละโรงเรียนอาจมีขยับบ้างเล็กน้อยภายหลังการตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยครับ อัตราการแข่งขัน 2566 อื่นๆ 2566

ม.4 – MSEP SAMSEN 2566 ผลคะแนนสอบ

อีกหนึ่งแผนการเรียนยอดฮิต ที่สอบเอาไว้เป็นที่สำรองสำหรับผู้ที่มุ่งหวังที่จะไปเตรียมอุดม จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะมีการสละสิทธิ์มากมาย

ม.4 – EP SAMSEN 2566 ผลคะแนนสอบ

EP SCIENCE อีกหนึ่งสนาม หนึ่งแผนการเรียนที่นักเรียนที่ตั้งความหวังสอบเข้าเตรียมอุดม วางเอาไว้ว่าเป็นที่เรียนสำรองที่คาดหวังไว้ถ้าสอบเตรียมฯไม่ได้แต่ได้ที่นี้ก็ยังโอเค(เช่นเดียวกันกับ MSEP มอปลายของสามเสน) ดังนั้นถ้าเห็นมีการเรียกตัวสำรองเยอะแยะมากมาย อย่าได้ตกใจ เพราะผู้ที่สอบได้เหล่านั้น ก็สามารถสอบเข้าได้ที่เตรียมอุดมด้วย ก็เลยสละสิทธิ์ที่นี่ EP MATHEMATICS EP MATHEMATICS ก็คือห้อง EP ศิลป์คำนวณนั่นเอง จะเป็นนักเรียนห้อง 13 ทั้งห้องมี 30 คน แต่เป็นนักเรียน EP Math 15 คน ส่วนอีก 15 คน เป็นนักเรียน EP Lang EP LANGUAGE ของมอต้นโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

ผลสอบ MSEP สามเสนวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566

ผลคะแนนของ MSEP นะครับ เอามาเกาๆหน่อยนึง ปีนี้นักเรียนชายมากันเยอะเนอะ ถ้าชื่อนามสกุลผิด รบกวนแจ้งด้วยนะครับ แปลงจาก PDF มาครับ ข้อมูลสถิติต่างๆ โรงเรียนไหน กี่คน สรุปหลายปีที่ผ่านมา ของปีที่แล้ว

เลือกไม่ถูกเลย ในเขตหรือนอกเขตดี? กลัวพลาดจริงๆ

จริงๆคำถามนี้ผมได้รับทุกปี ในอดีตตอบแบบไม่ต้องคิดเลยว่า “ในเขต” เป็นคำตอบสุดท้าย เพราะเมื่อก่อนยังมีระบบ 2 เด้ง ใครอยากรู้ว่า 2 เด้งคืออะไรไปตามอ่านโพสต์เก่าได้ครับ “หมดยุค 2 เด้ง ในพื้นที่ – สามเสนวิทยาลัย” ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องของกระดานใครกระดานมัน ที่หยิบมาเขียนมาพูดมาคุยนี้หมายความว่า ผู้ปกครองที่ถามมานั้น ลูกมีชื่ออยู่ในฐานะเด็กในพื้นที่ แต่หลายอย่างทำให้ไข้วเขวว่าจะเอาอย่างไรดี เพราะลูกไม่ได้เป็นเด็กเก่ง อาจจะปานกลาง+/- จึงคิดไม่ตกว่าจะสมัครในเขตดี หรือ นอกเขตดี เพราะนอกเขตรับเยอะกว่ามาก เรียกสำรองก็เยอะกว่ามากด้วย จะเห็นว่าองค์ประกอบที่ทำให้ผู้ปกครองต้องมานั่งคิดนอนคิดก็มีดังต่อไปนี้+ ในเขตพื้นที่บริการรับน้อยลง น้อยลง และ น้อยลงทุกปี + ตัวสำรองที่เรียกก็น้อยนิดเมื่อเทียบกับการเรียกสำรองของนอกเขตพื้นที่ ซึ่งถ้าเราดูจากตารางแล้วจะเห็นว่า คะแนนต่ำสุดของนอกเขตพื้นที่ จะประมาณเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของในเขตพื้นที่เลยทีเดียว และเมื่อเราเอาคะแนนของตัวสำรองคนสุดท้ายปีการศึกษา 2565มาเปรียบเทียบดูด้วย ก็จะเห็นว่า คะแนนตัวสำรองคนสุดท้ายของนอกเขตพื้นที่บริการ(51.20) ก็ยังสูงกว่าคะแนนต่ำสุดของในเขตพื้นที่(47.40) ยังไม่ต้องพูดถึงตัวสำรองคนสุดท้ายของในเขต(43.80) ที่จะยิ่งต่ำกว่าอีก ดังนั้น ถ้าเป็นผมที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ก็คงต้องยื่นสมัครแบบในพื้นที่บริการ พูดง่ายๆ ดูจากรูปด้านล่าง ถ้าเราทำคะแนนได้ 50.00 คะแนน ถ้าเรายื่นนอกเขตเราไม่ติดแม้กระทั่งตัวสำรอง แต่ถ้ายื่นในเขตเราติดในฐานะตัวจริงเสียด้วย …

เลือกไม่ถูกเลย ในเขตหรือนอกเขตดี? กลัวพลาดจริงๆ Read More »

คะแนนสอบเข้า EP SAMSEN ปีการศึกษา 2566

ปีนี้โหดมาก ๆ ๆ ๆ ๆ เห็นบ่นกันว่ายากๆๆๆ แต่ทำไมถึงคะแนนสูงกันอย่างนี้ . . . ซึ่งอาจจะต้องย้อนกลับไปปี 64 กับ ปี 61 ที่คะแนนออกมาก็สูงประมาณนี้ เรามาดูรายละเอียดการสอบคัดเลือกห้อง EP ปีนี้กันนะครับ ที่สอบได้เข้ามาเป็นตัวจริงในรอบแรก รายชื่อ ถ้ามีผิดพลาดจากการแปลง file pdf รบกวนแจ้งด้วยนะครับ ข้อมูลทางด้านสถิติ เด็กๆมาจากโรงเรียนไหนกันบ้าง? ข้อมูลนี้ยังขาดอีกประมาณ 4-5 คน แต่ก็พอให้ดูเป็นแนวทางได้บ้าง สรุปรวมข้อมูลหลายๆปี เรียกสำรองปีที่ผ่านมา

อัตราการแข่งขันรอบห้องเรียนพิเศษ ม.4 ปีการศึกษา 2566

อย่างที่ทราบว่า สำหรับ ม.4 นั้น จำนวนรับในแต่ละแผนการเรียน แต่ละโรงเรียนนั้น จะมีจำนวนรับที่ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบห้องเรียนปกติ ทั้งนี้คงเนื่องมาจากทางโรงเรียนได้จัดเตรียมที่นั่งให้กับนักเรียน ม.3 เก่าของโรงเรียนเองด้วย คราวนี้เรามาดูว่ารอบห้องเรียนพิเศษมีการรับสมัครกันมากน้อยขนาดไหนบ้าง ห้องเรียนพิเศษหลายๆโรงเรียนจะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดว่า จะไม่มีการเลื่อนชั้นอัตโนมัติในหลักสูตรห้องเรียนพิเศษจากมอต้นขึ้นมอปลาย นั่นก็คือหมายความว่า เด็กที่เรียนห้องเรียนพิเศษมอต้นเมื่อจบ ม.3 แล้ว หากต้องการเรียนต่อในระดับชั้น ม.4 ในแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษเดิม จะต้องไปสอบเข้ามาใหม่ร่วมกับนักเรียนทั่วๆไป เช่นห้อง MSEP และห้อง ESC(มอปลายคือห้อง ESMTE นั่นเอง) อัตราการแข่งขัน ม.4 ท้ายบท รวบรวมแนวข้อสอบเข้า ม.4 สามเสน ห้องเรียนพิเศษ ESMTE-MSEP-EP Sci และแถมของสามัญวิทย์ สอบเข้า ม.4 สามเสนวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566

อัตราการแข่งขันรอบห้องเรียนพิเศษ สอบเข้า ม.1 ปีการศึกษา 2566

ในโพสต์นี้ เราสรุปอัตราการแข่งขันจาก “จำนวนผู้สมัครสอบ” เทียบกับ จำนวนที่รับ ในแต่ละแผนการเรียนของแต่ละโรงเรียน (ทั้งนี้จำนวนผู้เข้าสอบจริงยังไม่สามารถรู้ได้จนกว่าจะถึงวันสอบจริง และเราก็จะทราบจำนวนจริงๆไม่กี่โรงเรียน จึงขอใช้ จำนวนผู้สมัครสอบในการสรุป ซึ่งก็จะสรุปประมาณนี้ + อัตราการแข่งขันภาพรวม+ อัตราการแข่งขันแยกเฉพาะห้องเรียนพิเศษ English Program+ อัตราการแข่งขันแยกเฉพาะห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์+ อัตราการแข่งขันห้องเรียนพิเศษ อื่นๆ เหมือนกับว่าเป็น routine อะไรประมาณนั้น ที่จะมารวบรวมข้อมูลส่วนนี้เอาไว้ เพื่อ? ก็ไม่ได้สลักสำคัญ(แปลว่าสำคัญมาก คือไม่ได้ใช้คำนี้มานาน รู้แต่ว่ามันติดปาก เลยต้องไปเปิดพจณานุกรมดูว่าความหมายจริงๆคืออะไร) แต่ก็พอเป็นนัยสำคัญสำหรับนำไปประกอบการตัดสินใจได้บ้างสำหรับบางครอบครัว ขั้นต้น อย่างที่เคยบอกมาตลอดว่า อัตราการแข่งขันก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องที่สำคัญคือ “การประเมินตัวเอง” โดยหลักใหญ่ๆก็เช่น + ความชอบ ความต้องการ + การเดินทางตลอดระยะเวลา 3 ปี หรือ 6 ปี ว่าถ้าไม่สามารถมาโรงเรียนได้ด้วยตนเอง ใครเป็นผู้มาส่งที่โรงเรียน และถ้าผู้นั้นไม่ว่างจะทำอย่างไร? ฯลฯ + ความสามารถ อันนี้สำคัญสุด ต้องประเมินว่า เด็กมีความสามารถระดับไหน …

อัตราการแข่งขันรอบห้องเรียนพิเศษ สอบเข้า ม.1 ปีการศึกษา 2566 Read More »