TCAS-1 : Portfolio

ICT มหิดล เปิดรับปีการศึกษา 2567

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT มหิดล) ได้เปิด Schedule และระเบียบการบางส่วน ของการรับนักศึกษาปีการศึกษา 2567 ออกมาแล้ว ICT มหิดลจะมีอยู่ 2 ภาควิชาคือ MUICT Website : https://www.ict.mahidol.ac.thfacebook : https://www.facebook.com/ict.mahidol.university/ ICT (Information and Communication Technology) (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)+ จำนวนรับ 50 คน (ถ้ารับได้ไม่ครบ ก็จะยกยอดไปรอบถัดไป)+ ค่าเทอม เทอมละ 75,000 บาท เปิดรับในช่วงรอบ TCAS-1 Portfolioวันรับสมัคร :: 1 กันยายน 2566 วันประกาศรายชื่อเข้าสัมภาษณ์ :: 25 กันยายน 2566วันสอบสัมภาษณ์ :: 30 กันยายน 2566วันประกาศผล :: …

ICT มหิดล เปิดรับปีการศึกษา 2567 Read More »

แพทย์ศิริราช รอบ TCAS-1 Portfolio ปีการศึกษา 2567

ปีนี้น่าจะประกาศ Requirement ออกมากันเร็วกว่าปีที่ผ่านๆมากันเกือบทุกมหาวิทยาลัยเป็นแน่แท้ วันนี้ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ก็ประกาศออกมาเพิ่มเติมด้วยข้อมูลเยอะพอสมควร ถ้าจะเหลือก็เหลือแค่ประกาศรับสมัครฉบับเต็มเท่านั้น . . . เดี๋ยวเราลองมาดูหน่อยว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงแปลกใหม่ ซึ่งที่เห็นชัดเจนเลยก็คือ ปีนี้รับเฉพาะ TCAS-1 และ TCAS-3 ส่วนรอบ TCAS-2 โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น-ดนตรีแสดงเดี่ยว ที่ปีที่แล้วเปิดรับ 1 คน นั้นก็ไม่มีเปิดรับในปีนี้ และ ในรอบ TCAS-1 เองนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไปพอสมควร TCAS-1 PORTFOLIO เปิดรับ 3 โครงการคือ + โครงการโอลิมปิกวิชาการ 70 ที่นั่ง+ โครงการความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ 20 ที่นั่ง+ โครงการรับบุคคลจบปริญญาตรี 10 ที่นั่ง ในรอบ TCAS-1 Portfolio นี้นั้น ก็จะเหมือนกับปีที่แล้ว นั่นก็คือจะอยู่ในรอบ 1/2 ของ TCAS-1 หลายท่านที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ปีที่แล้วอาจจะงงก็เป็นได้ว่า TCAS …

แพทย์ศิริราช รอบ TCAS-1 Portfolio ปีการศึกษา 2567 Read More »

SIIT – วิศวะอินเตอร์ที่ไม่ธรรมดา จะสอบเข้าอย่างไรได้บ้าง? มาดูแนวข้อสอบกัน

พอดีได้มีโอกาสติดสอยห้อยตามผู้ปกครองระกับชั้น ม.5 สามเสนวิทยาลัยที่เขาพานักเรียนมาทำความรู้จักและทำ WORKSHOP ที่ SIIT ศูนย์รังสิต ก็เลยคิดว่าเรามาเขียนอะไรที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ดูบ้าง เพราะความจริงก่อนหน้านี้ก็ได้รับรู้มาหลายช่องทางละ ทั้ง Open House ทั้งค้นหาข้อมูลจากใน Internet เพราะว่าเคยมีผู้ปกครองมาปรึกษาเกี่ยวกับที่นี่อยู่หลายท่าน วันนี้ก็เลยถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะมารวบรวมเขียนให้เป็นรูปธรรม !!! SIIT อะไร ที่ไหน อย่างไร? SIIT : SIRINDHORN INTERNATIONAL INSTITUTE OF TECHNOLOGY, THAMMASAT UNIVERSITY ถ้าเรียกแบบไทยๆก็ เอสไอไอที เอ๊ยยยย…..ชื่อเต็มๆก็คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งในธรรมศาสตร์ที่ดูแลเรื่องงบประมาณต่างๆด้วยตนเอง หาเองใช้เอง จึงสามารถแจกทุนการศึกษาให้กับเด็กๆได้จำนวนมากมาย มีทั้งทุนร้อย ทุนห้าสิบ ทุนยี่สิบห้า รวมๆแล้วก็เป็นร้อยทุนแหละ การที่จะได้มาซึ่งทุนการศึกษามีวิธีการอย่างไรเดี๋ยวเราค่อยๆมาดูกันนะครับ SIIT จะมีอยู่ 2 วิทยาเขตคือ ที่รังสิตและที่นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก แต่เดี๋ยววันนี้เรามาดูเฉพาะปริญญาตรีกันนะครับว่ามีภาควิชาอะไรบ้าง Undergraduate Programs …

SIIT – วิศวะอินเตอร์ที่ไม่ธรรมดา จะสอบเข้าอย่างไรได้บ้าง? มาดูแนวข้อสอบกัน Read More »

10 ค่ายหมอฟัน…จากวันนี้ไปมีที่ไหนบ้าง? เรียงตามวันการรับสมัครในปีที่ผ่านๆมา

วันก่อนเรียงค่ายหมอไปละ ได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลาม วันนี้มาเรียงรายการค่ายหมอฟันกันบ้าง จะดูว่าจะได้รับการต้อนรับมากกว่าค่ายหมอมากขนาดไหน เพราะทุกวันนี้ เด็กๆหลายคนที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าคณะแพทย์ได้กลับเลือกที่จะมาลงเรียนในคณะทันตแพทย์มากขึ้นๆ การจัดค่ายของคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ หลักๆแล้วก็เพื่อที่จะจัดแสดงให้เห็นว่าวิชาชีพนั้นๆมีการเรียนการสอนอย่างไร ไปประกอบวิชาชีพอย่างไร และพ่วงท้ายให้ด้วยได้มอบประกาศนียบัตรหรือ certificate สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมจากค่ายนั้นๆ ซึ่ง Certificate นี้ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญสำหรับยุคนี้ ในยุคที่มีการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในรอบ Portfolio โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากค่ายที่เป็นเจ้าของสถานศึกษา ไม่ได้ผ่านมือเอกชนเลย ยิ่งมีน้ำหนักมาก เพราะได้ไปสัมผัสของจริงในสถานที่จริง และที่สำคัญไม่ต้องจ่ายเงินมากมายเพื่อไปค่าย ไม่มีความเหลื่อมล้ำ แต่… สิ่งที่รับรู้กันทุกวันนี้ก็คือ สำหรับคณะทันตแพทย์ การรับในรอบ portfolio นั้น มหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายของเด็กๆ “รับน้อยมาก” เช่น จุฬารับ 4 คน มหิดลรับ 5 คน และแต่ละคนที่ยื่นเข้ามา เก่งๆระดับหัวกะทิทั้งนั้น ใครมาปรึกษาผมผมมักจะบอกว่า ไปรอบ 3 กสพท ไม่ดีกว่าหรอ รับตั้ง 80-90 คน น่าจะง่ายกว่าเยอะ แต่ถ้าเป้าหมายเราเป็นมหาวิทยาลัยรองลงมาหรือมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ก็ยังน่าลุ้นอยู่ ซึ่งจะแตกต่างกันกับค่ายหมอ เพราะค่ายหมอสามารถนำไปใส่ใน portfolio …

10 ค่ายหมอฟัน…จากวันนี้ไปมีที่ไหนบ้าง? เรียงตามวันการรับสมัครในปีที่ผ่านๆมา Read More »

ค่ายหมอจากวันนี้ไป . . มีที่ไหนบ้าง เรียงตามวันรับสมัคร(จากปีที่ผ่านมา)ให้

“ค่ายหมอทางการ” หรือค่ายหมอต่างๆที่จัดโดยคณะแพทย์ หรือ สโมสรนิสิตนักศึกษาของคณะแพทย์มหาวิทยาลัยต่างๆนั้น นับได้ก็มีประมาณ 10+ ที่ ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่า บางทีสมัครไปแต่ได้รับการคัดเลือกยาก เพราะส่วนใหญ่ก็คัดเลือกจากคะแนนที่เด็กๆตอบคำถาม(เหมือนกับเป็นข้อสอบคัดเลือก แฮะๆ) ซึ่งผลก็คือ ไม่ได้..ไม่ติด….ไม่มีชื่ออีกละ…….ฯลฯ แต่สำหรับหลายๆคน ที่โน่นก็ติด ที่นี่ก็ได้ ที่นั่นก็มีชื่อ . . . ฯลฯ มันคือชีวิตจริง . . . ซึ่งเด็กๆก็จะต้องเจอกับลักษณะนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกรอบ TCAS-1 PORTFOLIO อาการจะใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด . . . ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ได้เข้าไปสัมผัสกับคำว่า “ค่ายหมอ” บางคนรู้ตัวตนเลยว่า ไม่ใช่ทาง ก็อาจจะออกจากเส้นทางนี้ไปหาอาชีพที่เหมาะสม บางคนก็คิดว่านี่คือสิ่งที่อยากได้ อยากเป็น . . . ก็แล้วแต่ตัวเด็กๆเอง ที่จะตัดสินอนาคตตัวเอง เราเป็นได้เพียงโคชโดยกำเนิดคอยแนะนำอยู่ข้างๆ(ไม่ใช่ชี้นำอยู่ข้างหน้า นะครับ) จริงๆแล้วเคยเขียนเรื่องนี้เมื่อสองปีที่แล้วและ update เมื่อปีที่แล้ว วันนี้เอามา update ใหม่ ก็เลยอาจจะไม่ได้ลง detail …

ค่ายหมอจากวันนี้ไป . . มีที่ไหนบ้าง เรียงตามวันรับสมัคร(จากปีที่ผ่านมา)ให้ Read More »

บทสรุปผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย DEK65 SS66

มาถึงตอนปิดฉากของเก่าละ เพราะว่าของใหม่กำลังจะมาจาก DEK66 ที่เพิ่งจะเริ่มปิดฉากการรับรอบ TCAS-4 กันอยู่พอดี ในโพสต์นี้ เราจะมาสรุปผลกันละครับว่า จากภาพรวมทั้งโรงเรียน เด็กๆไปเรียนที่ไหนคณะอะไรบ้าง สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ หลายๆคนได้ Break กรอบที่ล้อมรอบตัวเองอยู่เช่น เด็กสายวิทย์แต่ไปเรียนนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เด็กสายศิลป์ภาษาก็มีไปเรียนคอมพิวเตอร์ นับเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่ามิฉนั้นการเลือกแผนการเรียนระดับ ม.4 ถ้าเรามาค้นพบตัวเองหลังจากนั้น แล้วมันไม่ใช่ ถ้าเราสามารถเปลี่ยนมันได้ในช่วงจังหวะการเข้ามหาวิทยาลัย นั่นหมายความว่า เราได้เรียนในสิ่งที่เราอยากยึดเป็นอาชีพ ถ้าไม่งั้นจำต้องเรียนในสายที่แผนการเรียนในระดับมอปลายส่งเสริมให้ไป นั่นเท่ากับว่า เราต้องอยู่กับอาชีพที่ไม่ใช่เราชอบที่สุดไปอีกนาน ยกเว้นจบแล้วก็ยังพลิกผันตัวเองกลับมาอาชีพที่ตัวเองชอบได้ ภาพรวม 17 ห้อง ไปเรียนที่ไหนบ้าง? ซึ่งก็เป็นไปตามคาดว่า หลักๆแล้วเด็กๆก็ยังชอบที่จะไปแถวสยามสามย่าน ตามมาด้วยทุ่งรังสิต ทุ่งบางเขนที่อยู่ใกล้ๆก็หาใช่น้อยไม่ แยกตึกชัยที่ถนนพระรามหกตัดกับราชวิถีก็มีตั้งครึ่งร้อย นับไปนับมาก็แยกย้ายกันไปเรียนกว่า 40 สถาบันการศึกษา ภาพรวม 17 ห้อง ไปเรียนคณะอะไรบ้าง? คณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ยังได้รับความนิยมสูงสุดอยู่เหมือนเดิม ซึ่งรวบรวมเอาไว้ทุกภาค สาขาวิชา ไไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องกล ไฟฟ้า วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมอินเตอร์ต่างๆทั้ง ISE …

บทสรุปผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย DEK65 SS66 Read More »

เมื่อฉันเป็นผู้ปกครอง ม.4

+++ เมื่อฉันเป็นผู้ปกครอง ม.4 +++ เมื่อวานได้มีโอกาสบรรยายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้กับผู้ปกครอง ม.4 เป็นห้องย่อย 2 รอบ รอบละประมาณ 30-40 คน เป็นบรรยากาศที่ชอบมาก เพราะผู้ปกครองอยากถามอะไรเมื่อไหร่ตรงไหนได้ตลอดเวลา บ้างก็มีช่วยแชร์ในมุมของตัวเอง โจทย์ที่ได้มาก็คือ “ให้ช่วยคุยเรื่อง TCAS ให้ ผู้ปกครอง ม.4” หน่อย เพราะเอาเข้าจริงๆ 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ก็มีกิจกรรมในโรงเรียน เครือข่ายผู้ปกครองเชิญ “ผู้จัดการ TCAS” ดร.ชาลี มาบรรยายให้เด็กๆฟัง และยังมีเชิญ พี่โจ้กับพี่น๊อต จาก TCASter มาบรรยายให้เด็กๆฟังอีกด้วย ในฐานะที่พวกเราเป็นผู้ปกครองที่ถือได้ว่าเป็นโคชโดยกำเนิดของลูก คนที่ยังไม่มีข้อมูลก็อาจจะต้องจัดหาเข้าตัวละเดี๋ยวจะคุยกับลูกไม่รู้เรื่อง ปกติที่ผ่านมาก่อนบรรยาย ผมขอความกรุณาให้ผู้จัดช่วยสำรวจข้อมูลหน่อยว่าพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ TCAS มีมากน้อยขนาดไหน และอยากให้พูดเรื่องอะไร คณะอะไรเป็นหลักตามความสนใจ(ไม่รู้ว่าผลที่ได้มาเป็นความสนใจของเด็กหรือผู้ปกครอง 5 5 5) แต่คราวนี้ไม่ได้ทำ เพราะกระชั้นชิด ก็เลยเอา Slide เก่าๆมา Update ข้อมูล เพิ่มเติมด้วยข้อมูลใหม่ๆ ตัวอย่าง …

เมื่อฉันเป็นผู้ปกครอง ม.4 Read More »

EP Science (614-615-616) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

อย่างที่เคยบอกว่าสรุปผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของห้อง EP-Sci นั้นเคยเขียนไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่จากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันเพราะครั้งที่แล้วแกะรหัสย่อชื่อคณะและมหาวิทยาลัยจากรูปหมู่ของเด็กๆที่นิยมทำกันว่าในห้องใครไปเรียนต่อที่ไหนกันบ้าง กับข้อมูลชุดนี้ซึ่งน่าจะได้มาจากการสำรวจของคุณครูแนะแนว จึงเรียนขออนุญาตเอามาสรุปให้อีกครั้งหนึ่ง ข้อมูลจะมีแตกต่างกันบ้างแต่เชื่อว่าไม่เยอะ แต่โพสต์ที่เคยเขียนไปครั้งที่แล้ว(ครบ 1 ปี พอดี) ก็ได้พรรณาเอาไว้พอสมควร ลองย้อนไปอ่านดูนะครับ สรุปผลประกอบการ รายละเอียด ข้อมูลรายบุคคล สรุปให้ตามคณะ

EP Math + EP Langauge (613) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ความจริงเคยเขียนสรุปไปแล้ว แต่ตอนนั้นเอาข้อมูลมาจากรูปถ่าย แบบว่ารูปถ่ายหมู่ทั้งห้องแล้วเขียนเพิ่มไปเป็นตัวย่อว่าใครได้ที่ไหน ประมาณนั้น แต่เดี๋ยววันนี้ลองเอาข้อมูลอีกด้านมาสรุป https://wp.me/p5DNAK-5w7 สรุปผลประกอบการ รายละเอียด ข้อมูลรายบุคคล

PORTFOLIO ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน !!!

Portfolio เป็นรอบที่ดีที่คณะ/มหาวิทยาลัยจะได้ใช้ในการคัดเลือกเด็กๆที่ตรงตามความต้องการของคณะ/มหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็เปิดรับมากขึ้นเรื่อยๆทั้งจำนวนและคณะสาขาวิชา แต่ที่จั่วหัวแบบนี้เพราะว่า จากเท่าที่สัมผัสมา 2-3 ปีนี้ หลายต่อหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เพิ่งมาคุยด้วยตอนโค้งสุดท้ายก่อนยื่น Portfolio ทำให้เข้าใจได้ว่า ตัดสินใจเลือกเดินเส้นทางนี้ โดยที่ไม่ได้ข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจเพียงพอ เพราะการเดินเส้นทางนี้ บางครั้งเราต้องดูให้ละเอียดถึงความต้องการเงื่อนไขของแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย และ ผนวกรวมกับอีกหลายๆองค์ประกอบ ตั้งแต่วันที่เริ่มคิด ยาวจนกระทั่งวันที่จะยื่นพอร์ต แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางคณะ/มหาวิทยาลัย ที่มีเงื่อนไขและคุณสมบัติที่ต้องการไม่ได้ห่างจากชีวิตการเรียนปกติของเราสักเท่าไหร่ ใครชอบคณะสาขานั้นก็สามารถยื่นได้โดยไม่เหนื่อยเพิ่มมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพยายามไม่ได้ !!! ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินได้ฟังได้เห็นจากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบ Portfolio … เราอาจจะต้องศึกษาจากผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกด้วยก็จะเป็นการดี เพราะจะได้เห็นว่าจุดไหนเรามีจุดไหนเราได้ จุดไหนเราไม่มีจุดไหนเราไม่ผ่าน ฯลฯ ที่ผ่านมา สำหรับผู้ปกครองและเด็กๆที่เคยคุยกันตอน ม.4 / ม.5 คือก็จะคุยกันนะครับโดยกาง Requirement ของคณะ/มหาวิทยาลัยเป้าหมายมาดูกันเลย ถ้าไม่ใช่ ผมก็จะบอกว่าเส้นทางมันลำบากบางครั้งการไปรอบ 3 Admission อาจจะง่ายกว่า (พยายามพูด Softๆ ซึ่ง ผปค.ก็เพิ่งจะขอบคุณเป็นการใหญ่ที่ช่วยแนะนำวันโน้น ทำให้วันนี้ลูกได้เรียนในคณะ/มหาวิทยาลัยที่ฝัน) แต่สำหรับบางคนที่พอจะลุยไปด้วยกันได้ ก็จะคุยกันยาวๆจนยื่น portfolio ตอน ม.6 …

PORTFOLIO ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน !!! Read More »

ห้องคณิตศาสตร์(ศิลป์คำนวณ+EIS)(609-610) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

แผนการเรียนคณิตศาสตร์ของสามเสนวิทยาลัยความจริงมี 2 ห้องครึ่ง คือห้อง 609 EIS 610 คณิตศาสตร์ และห้อง 613 EP-Math อีกครึ่งห้อง ของ EP Math เคยสรุปไปก่อนหน้านี้แล้ว เดี๋ยวเรามาดูกันนะครับว่า เด็กๆที่เรียนห้องคณิตศาสตร์ไปต่อที่ไหนกันบ้าง สรุปผลประกอบการ รายละเอียด ข้อมูลรายบุคคล

ห้อง MSEP (607 – 608) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

หลายท่านถามหาผลประกอบการของห้อง MSEP ปีที่แล้ว (ปีนี้ต้องรอ ใช้เวลาในการรวบรวม) จริงๆก็พอจะได้เห็นกันไปแล้วตั้งแต่ที่ทางครูแนะแนวนำออกมาเผยแผ่ ซึ่งก็ต้องกราบขอบคุณคุ๕ครูด้วยนะครับ เพราะผมก็เอาข้อมูลตรงนี้มาต่อยอด เนื่องจากว่า MSEP มี 2 ห้องผมก็เลยรวบเอาทั้งสองห้องมาสรุปพร้อมๆกันเลยนะครับ สรุปผลประกอบการ รายละเอียด แยกตามรอบ TCAS ให้ด้วย ข้อมูลรายบุคคล บทสรุป ตอบข้อสงสัยที่มีผู้ปกครองสอบถามเข้ามามากที่สุด ว่าทำไมผลประกอบการ MSEP รุ่นนี้ถึงไม่ปังเหมือนรุ่นพี่ๆที่ผ่านมา? ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เด็กๆก็ทำได้ดีในศักยภาพที่พวกเขาเตรียมตัวมา รวมทั้งความสนใจในคณะและมหาวิทยาลัยเป้าหมายของแต่ละคน สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ไปที่มา ถ้าเราย้อนหลังกลับไปคงจะจำได้ว่า เด็กรุ่นนี้คือรุ่นที่การจัดสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมตรงกันกับการสอบคัดเลือกรอบห้องเรียนพิเศษ นั่นหมายความว่า ถ้าสอบไม่ตรง เด็กๆก็จะสามารถสอบได้ทั้งสองสนาม เด็กเก่งๆที่พลาดโอกาสที่เตรียมอุดม ส่วนใหญ่ก็จะมาเรียนที่นี่ หรือ ห้องเรียนสามัญซึ่งเด็กสามเสนเก่าก็ได้สิทธิ์ตรงนั้นอยู่แล้ว ส่วนรุ่นนี้ เด็กต้องตัดสินใจเลยว่าวันสอบจะไปสอบที่เตรียมอุดมหรือจะสอบห้องเรียนพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องไปสอบที่เตรียมอุดม ถ้าไม่ได้ก็มาสอบรอบห้องเรียนปกติหรือเด็กสามเสนเก่าก็ได้สิทธิ์ที่นั่งห้องเรียนปกติอยู่แล้ว แปลว่าอะไร? แปลว่า เด็กที่มาลงสนามสอบรอบห้องเรียนพิเศษปีนั้น ก็เป็นเด็กที่หนีสนามสอบเตรียมอุดมมา เป็นโอกาสที่เด็กปานกลางจะได้เรียนห้องเรียนพิเศษ