เลือกคณะ

10 ค่ายหมอฟัน…จากวันนี้ไปมีที่ไหนบ้าง? เรียงตามวันการรับสมัครในปีที่ผ่านๆมา

วันก่อนเรียงค่ายหมอไปละ ได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลาม วันนี้มาเรียงรายการค่ายหมอฟันกันบ้าง จะดูว่าจะได้รับการต้อนรับมากกว่าค่ายหมอมากขนาดไหน เพราะทุกวันนี้ เด็กๆหลายคนที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าคณะแพทย์ได้กลับเลือกที่จะมาลงเรียนในคณะทันตแพทย์มากขึ้นๆ การจัดค่ายของคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ หลักๆแล้วก็เพื่อที่จะจัดแสดงให้เห็นว่าวิชาชีพนั้นๆมีการเรียนการสอนอย่างไร ไปประกอบวิชาชีพอย่างไร และพ่วงท้ายให้ด้วยได้มอบประกาศนียบัตรหรือ certificate สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมจากค่ายนั้นๆ ซึ่ง Certificate นี้ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญสำหรับยุคนี้ ในยุคที่มีการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในรอบ Portfolio โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากค่ายที่เป็นเจ้าของสถานศึกษา ไม่ได้ผ่านมือเอกชนเลย ยิ่งมีน้ำหนักมาก เพราะได้ไปสัมผัสของจริงในสถานที่จริง และที่สำคัญไม่ต้องจ่ายเงินมากมายเพื่อไปค่าย ไม่มีความเหลื่อมล้ำ แต่… สิ่งที่รับรู้กันทุกวันนี้ก็คือ สำหรับคณะทันตแพทย์ การรับในรอบ portfolio นั้น มหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายของเด็กๆ “รับน้อยมาก” เช่น จุฬารับ 4 คน มหิดลรับ 5 คน และแต่ละคนที่ยื่นเข้ามา เก่งๆระดับหัวกะทิทั้งนั้น ใครมาปรึกษาผมผมมักจะบอกว่า ไปรอบ 3 กสพท ไม่ดีกว่าหรอ รับตั้ง 80-90 คน น่าจะง่ายกว่าเยอะ แต่ถ้าเป้าหมายเราเป็นมหาวิทยาลัยรองลงมาหรือมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ก็ยังน่าลุ้นอยู่ ซึ่งจะแตกต่างกันกับค่ายหมอ เพราะค่ายหมอสามารถนำไปใส่ใน portfolio …

10 ค่ายหมอฟัน…จากวันนี้ไปมีที่ไหนบ้าง? เรียงตามวันการรับสมัครในปีที่ผ่านๆมา Read More »

engineering

วิศวกรรมชีวการแพทย์ – BioMedical Engineering มีที่ไหนบ้าง? เรียนอะไร? จบแล้วทำงานอะไร?

ด้วยความสัตย์จริงคือ มีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชานี้น้อยมาก พอมีผู้ปกครองมาสอบถาม มาขอความคิดเห็น เราก็บอกไปตามตรงตามนั้นว่ามีความรู้เรื่องนี้อาจจะน้อยหน่อย แต่หลังจากวันนั้นมันก็เป็นปมในใจมาตลอด เลยต้องกลับมาค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมเอามาไว้ เผื่อว่าวันหลังเจอผู้ปกครองท่านนั้นอีก ก็จะได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และ เผื่อว่าท่านอื่นๆมาถามก็พอจะได้โม้ไปกับเขาได้บ้าง . . . แต่สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือชื่อของคณะหรือภาควิชา “วิศวกรรมชีวการแพทย์” จะเห็นว่าเริ่มต้นมาก็ “วิศวะ” ละแถมตบท้ายที่ลงด้วย “แพทย์” สุดยอดเลย แต่ที่มากไปกว่านั้นก็คือมี “ชีวะ” ด้วย ไหนใครบอกเรียนวิดวะจะได้ไม่ต้องเจอชีวะไง แต่ก็เป็นการผสมผสานเรื่องเหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกล่อม จากที่เมื่อก่อนจะรู้สึกได้เลยว่า จะเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาช่วยในทางการแพทย์ได้อย่างไรบ้าง!!! BioMedical Engineering มีเรียนมีสอนที่ไหนบ้าง? เท่าที่ตามหามาดูก็เห็นๆว่ามีอยู่ 3 มหาวิทยาลัยที่เปิดเป็นคณะอย่างเป็นทางการ หรืออาจจะมีที่อื่นอีกก็เป็นได้ จริงๆก็ยังมีที่อื่นอีกเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แต่เปิดสอนในระดับปริญญาโท ส่วนในระดับปริญญาตรีจะเป็นวิศวกรรมชีวภาพ Biological Engineering และที่ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งก็เปิดสอนในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก ส่วนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือก็จะเป็นหลักสูตร Biomedical Engineering แต่อยู่ภายใต้ภาควิชาฟิสิกส์ อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ เดี๋ยวเรามาดูกันว่าแต่ละที่ มีวิธีการสอบคัดเลือกเข้าอย่างไรกันบ้าง …

วิศวกรรมชีวการแพทย์ – BioMedical Engineering มีที่ไหนบ้าง? เรียนอะไร? จบแล้วทำงานอะไร? Read More »

เมื่อฉันเป็นผู้ปกครอง ม.4

+++ เมื่อฉันเป็นผู้ปกครอง ม.4 +++ เมื่อวานได้มีโอกาสบรรยายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้กับผู้ปกครอง ม.4 เป็นห้องย่อย 2 รอบ รอบละประมาณ 30-40 คน เป็นบรรยากาศที่ชอบมาก เพราะผู้ปกครองอยากถามอะไรเมื่อไหร่ตรงไหนได้ตลอดเวลา บ้างก็มีช่วยแชร์ในมุมของตัวเอง โจทย์ที่ได้มาก็คือ “ให้ช่วยคุยเรื่อง TCAS ให้ ผู้ปกครอง ม.4” หน่อย เพราะเอาเข้าจริงๆ 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ก็มีกิจกรรมในโรงเรียน เครือข่ายผู้ปกครองเชิญ “ผู้จัดการ TCAS” ดร.ชาลี มาบรรยายให้เด็กๆฟัง และยังมีเชิญ พี่โจ้กับพี่น๊อต จาก TCASter มาบรรยายให้เด็กๆฟังอีกด้วย ในฐานะที่พวกเราเป็นผู้ปกครองที่ถือได้ว่าเป็นโคชโดยกำเนิดของลูก คนที่ยังไม่มีข้อมูลก็อาจจะต้องจัดหาเข้าตัวละเดี๋ยวจะคุยกับลูกไม่รู้เรื่อง ปกติที่ผ่านมาก่อนบรรยาย ผมขอความกรุณาให้ผู้จัดช่วยสำรวจข้อมูลหน่อยว่าพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ TCAS มีมากน้อยขนาดไหน และอยากให้พูดเรื่องอะไร คณะอะไรเป็นหลักตามความสนใจ(ไม่รู้ว่าผลที่ได้มาเป็นความสนใจของเด็กหรือผู้ปกครอง 5 5 5) แต่คราวนี้ไม่ได้ทำ เพราะกระชั้นชิด ก็เลยเอา Slide เก่าๆมา Update ข้อมูล เพิ่มเติมด้วยข้อมูลใหม่ๆ ตัวอย่าง …

เมื่อฉันเป็นผู้ปกครอง ม.4 Read More »

EP Science (614-615-616) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

อย่างที่เคยบอกว่าสรุปผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของห้อง EP-Sci นั้นเคยเขียนไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่จากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันเพราะครั้งที่แล้วแกะรหัสย่อชื่อคณะและมหาวิทยาลัยจากรูปหมู่ของเด็กๆที่นิยมทำกันว่าในห้องใครไปเรียนต่อที่ไหนกันบ้าง กับข้อมูลชุดนี้ซึ่งน่าจะได้มาจากการสำรวจของคุณครูแนะแนว จึงเรียนขออนุญาตเอามาสรุปให้อีกครั้งหนึ่ง ข้อมูลจะมีแตกต่างกันบ้างแต่เชื่อว่าไม่เยอะ แต่โพสต์ที่เคยเขียนไปครั้งที่แล้ว(ครบ 1 ปี พอดี) ก็ได้พรรณาเอาไว้พอสมควร ลองย้อนไปอ่านดูนะครับ สรุปผลประกอบการ รายละเอียด ข้อมูลรายบุคคล สรุปให้ตามคณะ

EP Math + EP Langauge (613) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ความจริงเคยเขียนสรุปไปแล้ว แต่ตอนนั้นเอาข้อมูลมาจากรูปถ่าย แบบว่ารูปถ่ายหมู่ทั้งห้องแล้วเขียนเพิ่มไปเป็นตัวย่อว่าใครได้ที่ไหน ประมาณนั้น แต่เดี๋ยววันนี้ลองเอาข้อมูลอีกด้านมาสรุป https://wp.me/p5DNAK-5w7 สรุปผลประกอบการ รายละเอียด ข้อมูลรายบุคคล

ห้องคณิตศาสตร์(ศิลป์คำนวณ+EIS)(609-610) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

แผนการเรียนคณิตศาสตร์ของสามเสนวิทยาลัยความจริงมี 2 ห้องครึ่ง คือห้อง 609 EIS 610 คณิตศาสตร์ และห้อง 613 EP-Math อีกครึ่งห้อง ของ EP Math เคยสรุปไปก่อนหน้านี้แล้ว เดี๋ยวเรามาดูกันนะครับว่า เด็กๆที่เรียนห้องคณิตศาสตร์ไปต่อที่ไหนกันบ้าง สรุปผลประกอบการ รายละเอียด ข้อมูลรายบุคคล

ห้อง MSEP (607 – 608) DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

หลายท่านถามหาผลประกอบการของห้อง MSEP ปีที่แล้ว (ปีนี้ต้องรอ ใช้เวลาในการรวบรวม) จริงๆก็พอจะได้เห็นกันไปแล้วตั้งแต่ที่ทางครูแนะแนวนำออกมาเผยแผ่ ซึ่งก็ต้องกราบขอบคุณคุ๕ครูด้วยนะครับ เพราะผมก็เอาข้อมูลตรงนี้มาต่อยอด เนื่องจากว่า MSEP มี 2 ห้องผมก็เลยรวบเอาทั้งสองห้องมาสรุปพร้อมๆกันเลยนะครับ สรุปผลประกอบการ รายละเอียด แยกตามรอบ TCAS ให้ด้วย ข้อมูลรายบุคคล บทสรุป ตอบข้อสงสัยที่มีผู้ปกครองสอบถามเข้ามามากที่สุด ว่าทำไมผลประกอบการ MSEP รุ่นนี้ถึงไม่ปังเหมือนรุ่นพี่ๆที่ผ่านมา? ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เด็กๆก็ทำได้ดีในศักยภาพที่พวกเขาเตรียมตัวมา รวมทั้งความสนใจในคณะและมหาวิทยาลัยเป้าหมายของแต่ละคน สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ไปที่มา ถ้าเราย้อนหลังกลับไปคงจะจำได้ว่า เด็กรุ่นนี้คือรุ่นที่การจัดสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมตรงกันกับการสอบคัดเลือกรอบห้องเรียนพิเศษ นั่นหมายความว่า ถ้าสอบไม่ตรง เด็กๆก็จะสามารถสอบได้ทั้งสองสนาม เด็กเก่งๆที่พลาดโอกาสที่เตรียมอุดม ส่วนใหญ่ก็จะมาเรียนที่นี่ หรือ ห้องเรียนสามัญซึ่งเด็กสามเสนเก่าก็ได้สิทธิ์ตรงนั้นอยู่แล้ว ส่วนรุ่นนี้ เด็กต้องตัดสินใจเลยว่าวันสอบจะไปสอบที่เตรียมอุดมหรือจะสอบห้องเรียนพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องไปสอบที่เตรียมอุดม ถ้าไม่ได้ก็มาสอบรอบห้องเรียนปกติหรือเด็กสามเสนเก่าก็ได้สิทธิ์ที่นั่งห้องเรียนปกติอยู่แล้ว แปลว่าอะไร? แปลว่า เด็กที่มาลงสนามสอบรอบห้องเรียนพิเศษปีนั้น ก็เป็นเด็กที่หนีสนามสอบเตรียมอุดมมา เป็นโอกาสที่เด็กปานกลางจะได้เรียนห้องเรียนพิเศษ

ห้อง IMP – 606 DEK65 กับผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ห้อง IMP ห้องเรียนพิเศษภายในของสามเสนวิทยาลัย กับผลประกอบการของ DEK65 ซึ่งก็จะสังเกตุได้ว่าก็มีการขยับมาเลือกเรียนสาย Inter กันด้วย และก็ไม่ได้มุ่งเน้นไปทางคอมพิวเตอร์ตามโครงสร้างหลักสูตรของห้อง แต่ก็สามารถไปในเส้นทางต่างๆได้เช่นเดียวกัน เมื่อสักครู่มีแก้ไขข้อมูลนิดนึงของ คณิตศาสตร์ประกันภัย มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งรอบที่ถูกต้องคือรอบ Early Admission แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ต้องมาเกาะรอบ TCAS-1 ในการยืนยันสิทธิ์ จากการให้ข้อมูลเพิ่มของผู้ปกครอง ขอบคุณมากๆครับ ซึ่งพอมาถึงตรงนี้ก็อยากจะบอกว่า มีหลายๆคณะ/มหาวิทยาลัย ที่เปิดรับรอบ Early Admission ซึ่งมาไว มาเร็ว บางที่มากันตั้งแต่เดือนสิงหา กันยา ตุลา ช่วงเทอม 1 ต่อเนื่องเทอม 2 ของ ม.6 ก็ไปขุดหาข้อมูลกันนะครับว่ามีที่ไหนบ้าง เผื่อว่าเอาไว้เป็นทางเลือก ได้ก่อนสบายก่อน ยิ่งถ้าใช่สิ่งที่อยากเรียนยิ่งสบายเลย

ห้อง ESMTE(ห้อง 5) และห้อง พสวท.(สู่ความเป็นเลิศ)(ห้อง 17) DEK65 กับผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ที่เอาสองห้องนี้มาอยู่ในโพสต์เดียวกันเพราะว่าทั้งโครงสร้างการเรียนและกิจกรรมจะเหมือนหรือคล้ายๆกัน แต่ก็จะแยกข้อมูลไม่รวมกันสรุปนะครับ จะได้เห็นว่าในแต่ละห้องไปไหนกันบ้าง ภาพรวม เจาะลึกลงไปหน่อย สำหรับบางคนที่สนใจลึกลงไป ก็ลองดูต่อนะครับว่า พวกเขาไปคณะไหน ด้วย TCAS รอบไหน ถ้าเป็น รอบ TCAS-3 Admission ก็เป็นเรื่องของคะแนนสอบเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นรอบ TCAS-1 Portfolio หรือ TCAS-2 Quota ก็ต้องไปหาข้อมูลดูรายละเอียดต่อครับว่า มีเงื่อนไข อะไร อย่างไรบ้าง ห้อง ESMTE 605 อย่างที่เคยเขียนไว้หลายครั้งแล้วว่า สำหรับพวกหลักสูตรนานาชาติ โดยมากแล้วมีวิธีการและหลักการในการคัดเลือกเป็นของตัวเอง แต่มาขอเกาะรอบ TCAS เพื่อการยืนยันตนเข้าระบบของ ทปอ. ประมาณนั้น จึงมักจะเห็นว่าพวกหลักสูตรนานาชาติอาจจะไปอยู่ TCAS รอบ 1 – 2 – 3 บางที่ก็มีรอบ 4 ถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าดูดีดี บางคนก็ได้ TCAS รอบ 1 จากคณะที่น่าสนใจเช่น วิศวะจุฬา …

ห้อง ESMTE(ห้อง 5) และห้อง พสวท.(สู่ความเป็นเลิศ)(ห้อง 17) DEK65 กับผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย Read More »

สามัญ-วิทย์ กับผลสอบเข้ามหาวิทยาลัยของ DEK65 (ห้อง 1-4)

ข้อมูลของ DEK65 สามเสนวิทยาลัยที่นำมาสรุปทั้งหมดนี้ ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณแหล่งที่มา(ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นครูแนะแนว)เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก็ผ่านมาเกือบปีแล้ว ผมก็เลยเพิ่งจะนำมาสรุปให้ตามความต้องการของผู้ปกครองหลายๆท่าน ทั้งนี้ ข้อมูลอาจจะคลาดเคลื่อนบ้าง เพราะบางครั้งภาพมันเบลออ่านไม่ออก ก็ใช้วิธีการคาดเดา ในการสรุป ก็หาใช่เรื่องง่ายไม่ เพราะว่าบางทีข้อมมูลที่ได้มาก็ขัดแย้งในตัวมันเองก็มีเช่น สาขาวิชานี้ ไม่ได้อยู่ในคณะนี้ของมหาวิทยาลัยนี้ ความยากก็จะอยู่ตรงนี้แหละ เพราะแต่ละบรรทัด ผมจะกลับไป recheck กับเว็บไซด์ของคณะ/มหาวิทยาลัยนั้นๆว่าถูกต้องไหม และ เรียนอะไรกัน จบแล้วไปทำอะไรได้บ้าง(ถ้ามีข้อมูล) แต่บางคณะสาขาก็ไม่ต้องถึงขั้นนั้น แค่อ่านเจอก็รู้แล้วว่าใช่ไม่ใช่ ซึ่งก็จะเริ่มต้นจากผลประกอบการห้องเรียนสามัญ-วิทยาศาสตร์ ห้อง 601 – 604 TOP DOWN SUMMARY จากข้อมูลสรุปพอได้ว่า นักเรียนห้องเรียนสามัญ-วิทยาศาสตร์ เมื่อมาแยกตามกลุ่มสายอาชีพต่างๆ ก็พอแยกได้ประมาณนี้นอกจากนี้ก็พยายามชี้ให้เห็นว่า ในแต่ละคณะเหล่านั้น เป็นการเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตรปกติ เพราะวิธีการคัดเลือกค่อนข้างจะต่างกันโดยสิ้นเชิง อีกทั้งก็ได้แยกให้เห็นว่า เด็กๆสอบเข้าได้ในรอบ TCAS ไหน?– TCAS-1 Portfolio– TCAS-2 Quota– TCAS-3 Admission– TCAS-4 Direct Admission ถามว่า สำคัญอย่างไร? …

สามัญ-วิทย์ กับผลสอบเข้ามหาวิทยาลัยของ DEK65 (ห้อง 1-4) Read More »

10 ข้อต้องรู้ ก่อนยื่นพอร์ตแพทย์เชียงใหม่

ทั้งหมดนี้ เป็นความพยายามในการรวบรวมคำถามคำตอบที่นักเรียนและผู้ปกครองหลายท่านได้สอบถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรวบรวมมาจากถามตอบในการ present ผ่าน Zoom ในรายการต่างๆเช่น Road Show to CMU Med ฯลฯ ก็เลยเก็บมาแชร์ๆกัน 1. Font ที่ใช้ในการกรอกแบบฟอร์ม ใครจะว่าไม่สำคัญก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ที่เจอมากับตัว เสียวสันหลังว๊าบบบบบ เลย ที่ทางคณะกำหนด font มาว่าต้องเป็น font นี้ไม่ใช่อะไรหรอกครับ เวลาเขามาเปิดอ่านจะได้ไม่มีปัญหาเรื่อง font ซึ่งกรณีของลูกผมชัดเจนเลยครับ มีอยู่ 1 หน้า ที่ไม่ได้ใช้ font ตามที่กำหนด ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่อ่านหน้นั้นไม่ได้เลย เพราะกลายเป็นภาษามนุษย์ต่างดาว !!! โชคดีที่ทางเจ้าหน้าที่มีเมตตา(เท่าที่สัมผัสมาสองปี ทุกท่านมีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือทุกๆท่านครับ) แจ้งกลับมาให้ทำหน้านั้นส่งกลับไปให้ใหม่ จึงรอดพ้นมาได้จนถึงวันนี้ อันนี้คือที่ทางเจ้าหน้าที่อ่าน เขา capture มาให้ดูว่าเราไปใช้ font อื่นที่ทางเขาอาจจะไม่มีอยู่ในเครื่องหรืออะไรก็ไม่รู้ ทำให้อ่านไม่ได้ความ 2) ตารางแสดงเกรดเฉลี่ยแต่ละวิชา ก็เป็นอีกเรื่องที่มีข้อสงสัยกันหลากหลายว่าจะเอาอะไรกรอกลงตรงไหน วิชาไหนเป็นวิชาพื้นฐาน วิชาไหนเป็นวิชาเพิ่มเติม …

10 ข้อต้องรู้ ก่อนยื่นพอร์ตแพทย์เชียงใหม่ Read More »

แพทย์เชียงใหม่ รอบ TCAS-1 Portfolio ปีการศึกษา 2566

ปีนี้ถือว่าแพทย์เชียงใหม่มีการเปลี่ยนแปลงในรอบ portfolio เยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำหนดการตารางเวลาในรอบนี้ ผิดรูปผิดแบบจากปีที่ผ่านๆมา อันนี้หมายถึงกำหนดการของทางมหาวิทยาลัยนะครับ ซึ่งทางคณะแพทย์ก็คงต้องปฏิบัติตามนั้น จากที่แพทย์เชียงใหม่เคยได้เปรียบตรงที่ว่า คอยกวาดเด็กที่ตกสัมภาษณ์จากทั้ง จุฬา รามา ศิริราช ในหลายปีก่อน(แต่มาปีที่แล้วจุฬามาประกาศผลท้ายสุดก่อนวันยืนยันสิทธิ์ทำให้เชียงใหม่ไม่สามารถเรียกสำรองจากการสละสิทธิ์ของเด็กที่ติดทั้ง จุฬาและเชียงใหม่ได้ (คือถ้ามีเวลาช่องว่าง ทาง มช. ก็จะสามารถตรวจสอบรายชื่อเด็กที่ซ้ำกันได้ และโทรสอบถามเพื่อที่ว่าเด็กเลือกจุฬาแล้วก็จะรบกวนทำหนังสือขอสละสิทธิ์ที่เชียงใหม่(อาจจะผ่านทาง eMail) และคณะก็จะได้เรียกสำรองลำดับถัดไปมาแทนได้ เหมือนกับกรณีของ รามา และ ศิริราช) แต่ก็เป็นสิทธิ์ของเด็กที่จะไม่สละสิทธิ์ก็ได้ ค่อยไปทิ้งสิทธิ์ตอนยืนยันสิทธิ์กับ ทปอ.) การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลา ทำให้คณะแพทย์ต้องมารับในรอบ portfolio ก่อนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ เมื่อมหาวิทยาลัยใน กทม. เช่น จุฬา รามา ศิริราช ประกาศผลและมีรายชื่อซ้ำกับทางเชียงใหม่ แน่นอนว่าเด็กๆก็คงเลือกมหาวิทยาลัยใน กทม. ก็จะทำให้เกิดที่ว่างในรอบแพทย์ portfolio ของเชียงใหม่เยอะมาก มาถึงวันนี้ ก็รับฟังข่าวสารข้อมูลมาตลอด เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาของรอบ Portfolio แล้ว ยังมีการมาของรอบ 1.1 และ 1.2 อีก …

แพทย์เชียงใหม่ รอบ TCAS-1 Portfolio ปีการศึกษา 2566 Read More »