SANDBOX COMPUTER ENGINEERING – CEDT CU

ปีการศึกษาที่จะถึงนี้ น่าจะเป็นปีที่ 2 กับหลักสูตร CEDT – Computer Engineering & Digital Technology หรือในช่วงแรกๆเราจะรู้จักกันในคำว่า SANDBOX COMPUTER ENGINEERING ก็อาจจะ งง งง หน่อยว่า มันอะไรกันหนอ Sandbox ซึ่งถ้าใครได้ดูซีรี่ย์เกาหลีเรื่อง “Start-Up” ก็อาจจะนึกจินตนาการได้บ้าง และหรือลองไป search หาดูความหมายของคำว่า Sandbox ก็อาจจะทำให้ซึมซับความรู้สึกความต้องการของหลักสูตรนี้ได้พอสมควร

ลองไปถาม ChatGPT ว่า Sandbox คืออะไร

อาจหาญลองให้นิยามสำหรับหลักสูตร Sandbox ของ Computer Engineering ในทำนองที่ว่า

เป็นพื้นที่ที่มีอิสระทางความคิดทั้งในด้านการจัดการเรื่องการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบบเดิมๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคตามสมัยที่แปลเปลี่ยนไป มีวิธีการเรียนที่อาจจะไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว แต่ได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติงานจริง

สรุปแล้ว ไม่ค่อยตรง 5 5 5 อย่ามั่วเลย ไปดูข้อมูลของโครงการกันดีกว่า

จะตัดออกมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจนะครับ

Mission หลักๆของโครงการ

ตัวชี้วัด ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ เรื่องนี้สั่นสะเทือนวงการพอสมควร เพราะอยู่ๆปุ๊บปั๊บ จะมี วิศวกรคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นมาอีก 300 คน แถมเป็นจุฬาด้วย และที่น่าสนใจคือเรียนแค่ 3 ปีครึ่ง ตัวชี้วัดหรือ KPI ที่ทางโครงการตั้งขึ้นโดยมองไปที่ 3 party นั่นก็คือ
+ นักศึกษา
+ การฝึกงาน ส่วนหนึ่งก็ต้องดูบริษัท องค์กร ที่จะให้ความร่วมมือ
+ การยอมรับจากหลายๆฝ่าย

ข้อแรกนักศึกษา เรื่องนี้เป็นเรื่องภายใน จึงน่าจะสามารถจัดการ ดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่ค่อยมีอะไรมายับยั้งกดดันมากนัก

ข้อที่สอง เรื่องฝึกงานและผลตอบรับดี แยกเป็น 2 ประเด็นคือ การหาพันธมิตรมาเซ็น MOU เพื่อให้นิสิตได้ไปฝึกงาน และอีกเรื่องคือ การเตรียมตัวนิสิตให้พร้อมเพียงพอที่จะไปฝึกงานนั้นๆ

ข้อที่สาม เรื่องการยอมรับจากสังคม ไม่ต้องไปไกล พวกเรานี่แหละเหล่าผู้ปกครอง และรวมไปถึงตัวนักเรียนเองด้วย ว่า หลักสูตรแบบนี้จะมีอนาคตไหม ใช่ไหม เสี่ยงไหม ลองผิดลองถูกไหม รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นๆซึ่งก็คือนายจ้างในอนาคตว่าจะ buy-in โครงการนี้มากน้อยขนาดไหน

เอาง่ายๆ คนในวงการคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย หลายคนก็เห็นด้วย และ หลายคนก็ยังมีเครื่องหมายคำถามอยู่ในใจ

จบแล้วไปทำสายงานไหนได้บ้าง ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป สามารถทำงานลักษณะเดียวกันได้อยู่แล้ว

เรามาดู SANDBOX MODEL หลักๆเขาว่าเอาไว้อย่างไรบ้าง
+ ปรับลดวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องลงบ้าง แล้วไปเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวข้องคอมพิวเตอร์มากขึ้น
+ จัดเรียงเนื้อหาหลักสูตรใหม่ คัดเอาเนื้อหาเฉพาะที่จำเป็น
+ เรียนเป็นลักษณะ Block Course เหมือนคณะแพทย์ที่เรียนเป็นเรื่องๆไปจบในทีเดียว ในหลักสูตรเก่าอาจจะเรียนเรื่องเดียวหลายเทอม หลายปีด้วย แต่แบบนี้จับมารวมเป็น Block เดียวกันเลย อะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดออก อันนี้โครตเห็นด้วยเลย มันสามารถตกผลึกความคิดได้ดีกว่านะ จบเรื่องนั้นๆแล้วสามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้เลย

ลองมาดูตารางเรียนของเด็กปี 1 เทอม 1

มองภาพกว้างๆการเรียนในแต่ละเทอมแต่ละปี ก็จะประมาณนี้ มีฝึกงาน(Internships) ทุกปี ปี 1-2-3 และในเทอมแรกของปี 4 ก็จะออกไปฝึกงานแบบสหกิจ(Co-op) กับบริษัทต่างๆ

ลองกวาดสายตาดูคร่าวๆว่าเขาเรียนอะไรกันบ้าง

การฝึกงาน ก็มีการ Matching ตามคุณสมบัติและความต้องการของทุกฝ่าย ถ้ามีจำนวนผู้สมัครในบริษัทใด มากกว่าจำนวนที่จะรับ บริษัทก็จะเป็นผู้เลือก

อีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ

ตัวอย่างกิจกรรม

บริษัทที่ลงนามให้ความร่วมมือกับโครงการ CEDT (ท่านสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt-mou ) ทางโครงการใช้การจัดการกลุ่มบริษัทโดยอิงจากกลุ่มในตลาดหลักทรัพย์


อื่นๆ

ปีการศึกษานี้ 2567 จะเห็นว่า ในรอบ Portfolio จำนวนรับเพิ่มขึ้น และ ช่องทางผลงานต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

ถามว่าที่เด็กๆเข้ามา มีถอดใจออกไปไหม มี !!! สำหรับเด็กบางคนที่พบว่า ไม่ใช่ทางของตัวเองแน่นอน อยากจะไปแพทย์ละ ก็ออกไปเตรียมตัวจำนวนหนึ่ง

ถามว่าในปีที่ผ่านมามีเด็กจากโรงเรียนไหนเข้ามาเรียนมากสุด ก็ตอบได้ไม่ยากเลย เตรียมอุดมศึกษาไงครับประมาณ 34 คน ตามมาด้วยสวนกุหลาบ 16 คน และสามเสนวิทยาลัย 12 คน

เมื่อจบ 3 ปีครึ่งแล้ว ถ้าเรายังอยากที่จะลงเรียนเพิ่มในรายวิช่อื่นๆที่สนใจ ก็น่าจะทำได้ แต่ถ้าเราทำเรื่องขอจบการศึกษา ก็ออกไปทำงานหาเงินได้เลย

ดูแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ ส่วนตัวชอบนะครับ ในเรื่องของการเรียน มีคนถามผมว่า ดูแล้วมันต่างจากหลักสูตรปกติอย่างไร?

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือการ re-structure โครงสร้างหลักสูตรเก่า โดยนำมาจัดเรียงและลำดับเนื้อหาใหม่ เอาเรื่องที่เป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องเรียนต่อเนื่องกันมาเรียนด้วยกัน แทนที่จะแยกเรียนเป็นเทอมโน่นเทอมนี่ และบางเรื่องที่ไม่จำเป็น ไม่สำคัญ หรือที่มัน out ไปแล้วก็ตัดออกไป เอาจริงๆลักษณะการจัดหลักสูตรแบบนี้ก็จะเห็นโรงเรียนแพทย์หลายที่ใช้อยู่ คือเรียนจบเป็นเรื่องๆแล้วสอบปิดเรื่องไปเลย

หลายคนถามว่าไปฝึกงานตั้งแต่ปี 1 จะเอาความรู้เอาอะไรไปทำงาน?
จริงอยู่การไปฝึกงานนั้น เด็กๆจะได้ผลได้ประโยชน์มากน้อยขนาดไหน ก็มีหลากหลายปัจจัย สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวเด็กเอง ที่มีต้นทุนความรู้ในตัวพอที่จะทำอะไรได้บ้าง ความใส่ใจ ความตั้งใจที่จะทำงาน ปัจจัยอื่นก็มีจากตัวบริษัทหรือองค์กรเอง ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ขนาดไหน เพราะอย่าลืมว่า องค์กรจะต้องมีการมอบหมายให้ใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องดูแลและมอบหมายงานให้กับเด็กๆ งานประเภทไหนที่จะอนุญาตให้เด็กลงมือได้? ผู้ที่ดูแลเด็เต็มที่กับภาระหน้าที่นี้ที่เพิ่มมาจากงานประจำมากน้อยขนาดไหน? และ อีกหลายๆเรื่อง

ปกติเราไปฝึกงานกันตอนจบปี 3 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็โตขึ้นมาหน่อยอีกปีสองปี ถามว่าวุฒิภาวะต่างกันมากไหม ก็ต่างแต่มากหรือไม่ก็อยู่ที่เด็กแต่ละคน แต่เชื่อเหอะ เด็กวัยนี้อยากเรียนรู้ อยากหาอะไรใหม่ๆที่ท้าทาย ถ้าเรามอบหมายงานให้เขา เขาก็จะทำและพยายามทำ