PORTFOLIO ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน !!!

Portfolio เป็นรอบที่ดีที่คณะ/มหาวิทยาลัยจะได้ใช้ในการคัดเลือกเด็กๆที่ตรงตามความต้องการของคณะ/มหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็เปิดรับมากขึ้นเรื่อยๆทั้งจำนวนและคณะสาขาวิชา

แต่ที่จั่วหัวแบบนี้เพราะว่า จากเท่าที่สัมผัสมา 2-3 ปีนี้ หลายต่อหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เพิ่งมาคุยด้วยตอนโค้งสุดท้ายก่อนยื่น Portfolio ทำให้เข้าใจได้ว่า ตัดสินใจเลือกเดินเส้นทางนี้ โดยที่ไม่ได้ข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจเพียงพอ เพราะการเดินเส้นทางนี้ บางครั้งเราต้องดูให้ละเอียดถึงความต้องการเงื่อนไขของแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย และ ผนวกรวมกับอีกหลายๆองค์ประกอบ ตั้งแต่วันที่เริ่มคิด ยาวจนกระทั่งวันที่จะยื่นพอร์ต

แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางคณะ/มหาวิทยาลัย ที่มีเงื่อนไขและคุณสมบัติที่ต้องการไม่ได้ห่างจากชีวิตการเรียนปกติของเราสักเท่าไหร่ ใครชอบคณะสาขานั้นก็สามารถยื่นได้โดยไม่เหนื่อยเพิ่มมาก

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพยายามไม่ได้ !!!

ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินได้ฟังได้เห็นจากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบ Portfolio … เราอาจจะต้องศึกษาจากผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกด้วยก็จะเป็นการดี เพราะจะได้เห็นว่าจุดไหนเรามีจุดไหนเราได้ จุดไหนเราไม่มีจุดไหนเราไม่ผ่าน ฯลฯ

ที่ผ่านมา สำหรับผู้ปกครองและเด็กๆที่เคยคุยกันตอน ม.4 / ม.5 คือก็จะคุยกันนะครับโดยกาง Requirement ของคณะ/มหาวิทยาลัยเป้าหมายมาดูกันเลย ถ้าไม่ใช่ ผมก็จะบอกว่าเส้นทางมันลำบากบางครั้งการไปรอบ 3 Admission อาจจะง่ายกว่า (พยายามพูด Softๆ ซึ่ง ผปค.ก็เพิ่งจะขอบคุณเป็นการใหญ่ที่ช่วยแนะนำวันโน้น ทำให้วันนี้ลูกได้เรียนในคณะ/มหาวิทยาลัยที่ฝัน) แต่สำหรับบางคนที่พอจะลุยไปด้วยกันได้ ก็จะคุยกันยาวๆจนยื่น portfolio ตอน ม.6 โน่นเลย

ก็มีหลายคนที่มาคุยกันครั้งแรกตอนก่อนยื่นพอร์ต 2-3 เดือน ซึ่งก็มีหลากหลายปัจจัยที่บ่งบอกถึงความยากง่ายที่จะไปให้ถึงฝัน แต่ก็ต้องลุยไปกับพวกเขาด้วย เพราะด้วยระยะเวลาทั้งที่ผ่านมาและที่เหลืออยู่ ถึงแม้ข้อมูลมาถึงมือเราคือปลายทางแล้ว ไม่มีเวลาไปปั้นอะไรเพิ่มมากมายแล้ว แต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะหยุด บางคนก็คุยกันหนักมาก ทั้งการเลือกกิจกรรม การจัดวางรูปแบบ ฯลฯ หลายคนก็ผ่านไปได้ด้วยดีมีความสุข อีกหลายคนก็ต้องไปลุยกันต่อในรอบต่อไป

ความจริงในปัจจุบัน ก็มีติวเตอร์หลายสำนัก หลายสถาบัน ที่คอยเป็นพี่เลี้ยงเป็นโคชให้ด้วย แต่ค่าเรียนแต่ละวิชาก็มหาโหดเช่นกัน แต่ละคอร์สอาจจะแพง แต่พอรวมๆกันหลายๆคอร์สก็แพงShipหาย !!! ในบางคณะบางเส้นทางเฉลี่ยก็ครึ่งแสนปลายๆถึงแสนกว่าๆ !!! (ถ้าคนละแสน พันคนเท่าไหร่ สองพันคนเท่าไหร่)

ที่สำคัญ เด็กจะต้องกล้าที่จะเข้าหา เพราะถ้าเราไม่ค่อยมีแววก็อาจจะไม่ได้รับการดูแลให้ข้อมูลเท่ากับเด็กๆที่มีแวว ปีหนึ่งๆมีเด็กๆประสบความสำเร็จหลักหลายร้อย แต่ก็มีเด็กๆที่ไม่ประสบความสำเหร็จหลักหลายพัน !!! แหละก็มีเด็กๆที่ไม่ได้สนใจกับพวกติวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จก็พอมี ส่วนตัวมองว่าถ้าเรามีกำลัง(ทรัพยด้วย) และลูกพร้อมที่จะเฉิดฉาย ก็ดีครับ เพราะติวเตอร์หลายที่ก็มีกิจกรรมที่เป็น Value Add หลายๆอย่างที่บางครั้งเราหาเองได้ยาก !!!

แต่ที่อยากจะบอกก็คือ การมีโคช หรือ คนที่คอยแนะนำ เป็นเรื่องที่ดี และควรที่จะคุยกันต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่เริ่มคุยจนยื่นพอร์ต อย่าคุยๆหายๆ เพราะเราจะไม่รู้ถึงความพร้อมของเราจากมุมมองคนนอกเลย ปกติแล้ว ผู้ปกครองจะเป็นโคชโดยกำเนิดที่มีใจให้กับลูก 100% แต่ก็ปกติอีกนั่นแหละที่ลูกๆมักจะไม่ค่อยฟังคำจากผู้ปกครอง !!! เด็กๆหลายคนก็จะไปฟังจากรุ่นพี่บ้าง ติวเตอร์บ้าง อ่านเองทำความเข้าใจเองจากข้อมูลในอินเตอร์เนทบ้าง ฯลฯ ผู้ปกครองบางท่านถึงกับมีการจ้างโคชส่วนตัว ซึ่งก็ไม่ใช่ถูกๆ ก็แล้วแต่แต่ละบุคคล แต่ละครอบครัว


องค์ประกอบ !!!

อย่างที่บอก จะเลือกเดินมาเส้นทางรอบ Portfolio เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะการรับนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย มาเพิ่มจำนวนที่รอบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ บางที่ก็ใช้วิธีการไปลดจำนวนการรับในรอบ Admission เพราะที่นั่งมีจำนวนจำกัด

แต่.. ก็อย่างที่บอกอีกว่า ต้องดู Requirement ของแต่ละ คณะ/มหาวิทยาลัยด้วยว่า มันใช่ทางเราไหม!

ในการพิจารณาเบื้องต้นว่า มันใช่ทางของเราไหม ถ้าเราเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ม.4 มันก็จะยิ่งเป็นการดี มีเวลาในการเตรียมตัวต่างๆที่มากขึ้น . . . ดังนั้นเบื้องต้นเรามาพิจารณาจากตัวตนก่อนว่า ตรงตามคณะ/สาขาที่วางเป้าหรือไม่ (ปัญหาส่วนใหญ่คือ ยังหาเป้าหมายไม่ได้)

  • ตัวตนของตัวเอง เหมาะกับคณะนั้นๆหรือไม่
  • ตัวตนของตัวเอง ต้นทุนที่มีอยู่ และวิถีทางอนาคต เหมาะกับสิ่งที่ต้องการตาม Requirement รอบ Portfolio หรือไม่ จะสังเกตุเห็นว่า เด็กๆที่เก่งๆ(เช่นโรงเรียนดังๆอย่างเตรียมอุดม) จะมองข้ามไปเลย ไปลุยรอบ 3 Admission เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอดเส้นทางชีวิตคือ เรียน ติว สอบ เพื่อก้าวเดินในขั้นต่อไปของเป้าหมาย (แต่ปัจจุบัน เด็กเก่งก็ลงมาเล่นรอบ Portfolio มากขึ้น)
  • อ่านรายละเอียดจาก Requirement แล้ว ดูความเป็นไปได้ในแง่ของคุณสมบัติเบื้องต้น เช่น
    • เกรดเฉลี่ย ถ้าเราเพิ่งอยู่ ม.4 ม.5 ก็เป็นการดีที่เราจะได้ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะต้องได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในบางคณะดูรายวิชาด้วย
    • กิจกรรมต่างๆที่ทางเขากำหนดไว้ เช่นจิตอาสา การทำบำเพ็ญประโยชน์ ความเป็นผู้นำ ความสามารถโดดเด่นด้านอื่นๆเช่น กีฬา ดนตรี การแสดง รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่แต่ละที่กำหนด
    • ผลงานทางวิชาการ เช่นรางวัลจากการแข่งขันต่างๆ ซึ่งบางคนที่ไม่ใช่เด็กเส้นทางนี้ก็อาจจะถอดใจ แต่ก็ดูว่ามีทางเลือกอื่นทดแทนได้หรือไม่
    • บางที่ต้องการผลงานวิจัยหรือโครงงาน เราก็ดูความเป็นไปได้ของหลักสูตรที่เราเรียน หรืออาจจะหาจากแหล่งอื่นได้ไหม เป็นที่ยอมรับไหม
    • คะแนนที่จะต้องใช้ในการยื่นสมัคร(ถ้ามี) ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคะแนนการจัดสอบมาตรฐานต่างๆนอกโรงเรียน หรือองค์กรต่างประเทศที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้งบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ TGAT – TPAT ประกอบด้วย
  • ทั้งกิจกรรมและหรือการแข่งขันทางวิชาการเหล่านั้น ถ้ามันไม่ใช่ทางเราอยู่แล้ว และต้องใช้ความพยายามอย่างสูง หรืออาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเลย ก็ขอให้คิดให้หนักหน่อย เพราะทุกอย่างต้องใช้กำลังกาย กำลังใจ เวลา และบางทีก็พ่วงด้วยค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้ายังไม่ใช่ไม่เคยมีจะแสวงหาไม่ได้ ได้!!! เพียงแต่อย่าให้มันไกลตัวเกินไป ยกตัวอย่างเช่น
    • คณะ/มหาวิทยาลัยนั้น กำหนดว่าต้องได้เหรียญ สสวท. อะไรประมาณนี้ สำหรับผมและหลายๆท่าน จบเลย ไม่ต้องคิดมากเพราะลูกไม่มาทางนี้อยู่แล้ว ไปเดินทางอื่นดีกว่า ปล่อยให้เทพๆท่านยื่นกัน
    • หรือบางคณะต้องการโครงานหรือ project ทางด้านเฉพาะของคณะนั้นๆ เราก็ดูว่า ด้วยศักยภาพวิธีการเรียน หลักสูตร ฯลฯ สามารถไหม?
    • หรือบางที่ต้องการการสะสมชั่วโมงการทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะสัตวแพทย์ที่บางมหาวิทยาลัยกำหนดว่าต้องมีชั่วโมงฝึกงานในฟาร์มมาตรฐาน 100 ชั่วโมงอะไรประมาณนั้น ถ้าเราไม่สามารถ ก็ไปดูเงื่อนไขอื่นหรือทางเลือกอื่น
  • ความสามารถพิเศษด้านอื่นๆที่โดดเด่นเช่น กีฬา ดนตรี การแสดง ความเป็นผู้นำ ฯลฯ บางครั้งถ้าเรามีอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบได้
  • คะแนนมาตรฐานที่จำเป็นและมีเกณฑ์ขั้นต่ำที่จะต้องได้ อันนี้สำคัญมาก เพราะที่ผ่านมามีหลายๆคนที่ปั้น portfolio เก็บกิจกรรม มีโครงงาน มีงานวิจัย มีทุกอย่างที่ควรมี แต่สุดท้ายเก็บคะแนนไม่ได้ตามเกณฑ์ ตรงนี้ จะต้องวางแผนให้ดีในช่วงเวลา 2 ปีกว่าๆว่าจะต้องได้คะแนนอะไรช่วงไหน ก็ทำให้ได้ตามเกณฑ์

ตัวอย่าง Requirement เฉพาะของบางคณะ/มหาวิทยาลัย

ส่วนนี้ก็พยายามยกตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า แต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย มี Requirement ที่เหมือนและแตกต่างกันไป ก็ต้องไปสืบค้นดู เริ่มจากหาเป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง ว่าจะเป็นคณะไหนในดวงใจบ้าง แล้วมาดูว่ามหาวิทยาลัยไหนที่เปิดรับรอบ Portfolio มีเงื่อนไขข้อกำหนดอะไรบ้างก็รวบรวมมาแล้วค่อยมาสรุปว่า จะเอายังไงต่อ . . .

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / ปรัชญา การเมือง และ เศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ / วิทยาการคอมพิวเตอร์ (โครงการทุนการศึกษา)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตวิทยา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

มีรับอยู่หลายโครงการเช่น

นักเรียนมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ คณะกายภาพบำบัด

มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ – การเมืองการปกครอง


บทสรุป

เขียนน้ำไปเยอะแยะอาจจะงง มาลองสรุปคร่าวๆก็แล้วกันนะครับ

  • ถ้าเรามั่นใจมุ่งมั่นจะไปแบบเก่า Admission อย่าได้ลังเล ไปเลยอย่าได้หันกลับมามอง !
  • ดูจาก Requirement ของคณะ/มหาวิทยาลัยที่เราสนใจว่า เกินเอื้อมไหม ถ้าไปต่อได้ ไป !
  • Requirement ของบางคณะ/มหาวิทยาลัย ไม่ได้เพิ่มงานให้เราต้องขวนขวายหรือไปหาทำ ก็น่าสนใจ !
  • แต่ถ้าเราต้องทุ่มเทมุ่งมั่นไปหาทำค่อนข้างเยอะ และ นอกเส้นทางการเรียนปกติ ก็คิดเอาหน่อย !
  • บางคณะ/มหาวิทยาลัย ใช้การเตรียมตัวเพิ่มน้อยมาก ถ้าเป็นสิ่งที่เราชอบเราหวังอยู่แล้ว ก็น่าสนใจ!
  • ดูเส้นทางสำรองเอาไว้ด้วย รอบ Portfolio คุณสามารถยื่นได้หลายมหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยสามารถยื่นได้หลายคณะ แต่บางมหาวิทยาลัยยื่นได้เพียงหนึ่งคณะ
  • สำหรับคนที่สนใจแผนการเรียนนานาชาติเช่น BBA BE EBA INDA ISE etc ส่วนใหญ่ก็จะมาขอเกาะรอบ TCAS-1 ในการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์