บางลำพู
บางลำพู ชื่อนี้แน่นอนเลยว่าเกือบจะทุกท่านคงได้ยินกันมาแล้ว มากบ้างน้อยบ้าง ต่างยุคต่างสมัย วันนี้เราจะมาเดินชมย่านบางลำพูกันโดยออกจากพิพิธบางลำพู ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของพิพิธบางลำพูนำเราเดินเข้าตรอกออกซอยเพื่อไปเยี่ยมไปชมศิลปหัตถกรรม อาหาร ขนมไทยๆ อร่อยๆ ในย่านบางลำพูแห่งนี้ ซึ่งเอาเข้าจริง หลังจากวันนั้น ผมก็กลับมาเก็บตกอีกรอบ แต่ก็ยังไม่หมด คาดว่าเดี๋ยวคงต้องไปเดินหาอะไรให้เต็มพุงแถวๆนั้นอีกสักสองสามครั้ง เพราะว่าหลังจากกลับมานั่งหาข้อมูลเพิ่มก็พบว่ายังมีอีกหลายที่น่าสนใจที่เรายังไม่ได้ไปยลด้วยสายตาตัวเอง … ต้องหาอีกสักวันสองวันไปเดินเก็บที่ตกหล่นอีกแล้วหละ … ไปด้วยกันมั๊ย ….
เดินย่ำตรอก
เราเริ่มต้นกันจาก พิพิธบางลำพู
เส้นทางการเดินของเรานะครับ
ข้ามทางม้าลายมา เราก็จะเจอ … ศาลกรมหลวงจักรเจษฏา
จริงๆแล้ว ตอนเช้าเดินผ่านมาก็รู้สึกแปลกๆกับสภาพที่เห็นอยู่แล้ว เพราะว่าเป็นกำแพงอิฐเก่าเหมือนกำแพงเมืองที่ปรากฏแฝงกายอยู่ท่านกลางตึกรามร้านค้า เหมือนกับว่ามาอยู่ผิดที่ผิดทางอย่างไรก็มิทราบได้ แต่ก็ได้น้องจากพิพิธบางลำพูอธิบายให้ฟังคร่าวๆว่า เดิมที ที่ดินแถวนี้เป็นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา…… จำได้ไม่หมด เลยกลับมาหาข้อมูล อิอิ
บริเวณนี้ เรียกกันว่าวังริมป้อมพระสุเมรุ ที่สร้างวังนี้นั้นเดิมเป็นเขตพระนิเวศน์สถานของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งทรงปฏิบัติราชการกรุงธนบุรีซึ่งสมัยนั้นเป็นเขตนอกกำแพงพระนครทางด้านเหนือ เมื่อสร้างพระนครใหม่ในพุทธศักราช 2325 แนวกำแพงพระนครผ่านกลางที่ แล้วจึงเลี้ยวที่ปากคลองบางลำพู ซึ่งเป็นคูพระนครใหม่ไปทางทิศตะวันออก จึงโปรดให้สร้างป้อมพระสุเมรุเป็นป้อม ใหญ่ประจำมุมพระนครทางด้านเหนือลง ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นชัยภูมิสำคัญในการป้องกัน พระนคร เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จมาประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว จึงพระราชทานที่พระนิเวศน์สถานเดิมตอนในกำแพงพระนครให้สร้างวังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ซึ่งเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชพระองค์เล็ก เพื่อให้ทรงช่วยกำกับดูแลการรักษาพระนครทางด้านนั้น ต่อมาในปีพ.ศ. 2350 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์ ก็ไม่ปรากฏว่าโปรดให้ผู้ใดไปอยู่อีก กล่าวกันว่าพระภูมิเจ้าที่ร้ายแรงนักปัจจุบันเหลือเพียงซุ้มประตูวังเห็นเป็นซากก่ออิฐถือปูนย่อมุม ด้านหน้าตั้งศาลไม้ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม และได้ถูกชาวบ้านเข้าครองครองเพื่อดำเนินการทางธุรกิจ
ที่มา “ศูนย์ข้อมูล เกาะรัตนโกสิททร์”
เดินมาอีกไม่กี่ก้าว เราก็จะถึงทางเข้าตรอกเขียนนิวาสน์
ในตรอกนี้ ยังคงไว้ซึ่งอีกหนึ่งศิลปวัฒนธรรมหัตถกรรมไทย ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เช่นกัน นั่นก็คือ “หัตถกรรม ปักชุดโขน” ซึ่งหาแหล่งได้ยากมากแล้ว ในยุคนี้สมัยนี้
มาเยี่ยมชมขั้นตอนการขึ้นรูป การหักนำ การลงดิ้น
ป้าเปี๊ยกคอยอธิบาย ที่มาที่ไป และ ขั้นตอนต่างๆ
ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องการความชำนาญ และ ที่สำคัญ ต้องใจเย็น เพื่อให้ได้งานคุณภาพ
ชุดไหนที่ละครหุ่นกระบอกโจหลุยส์สั่งตัด ผมก็จำไม่ได้แล้ว
ออกจาก หัตถกรรมปักชุดโขน ก็เดินทะลุตรอกไก่แจ้ ออกมาถึงร้านผลิตและจำหน่ายแผ่นเสียงที่โด่งดังที่สุดในยุคบางลำพูเฟื่องฟู นั่นก็คือ “ห้าง ต. เง็กชวน” แผ่นเสียงตรากระต่าย
เดินเข้ามาชมด้านใน ปัจจุบัน แผ่นเสียงกลายมาเป็นแผ่นกระเบื้องเสียแล้ว ทางร้านได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจมาเป็นน้านขายขนมเบื้องที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุดในย่านบางลำพูยุคนี้สมัยนี้
ด้านบนของตัวอาคาร ยังคงประดับด้วยครุฑ เนื่องจากว่าเป็นของเก่าแก่ จึงทำให้ดูแล้วรู้สึกถึงความมีคุณค่าอย่างยิ่ง
เราต้องย้อนกลับมาที่นี่อีกครั้ง 1 สัปดาห์ผ่านไป เพื่อของสิ่งนี้โดยเฉพาะ
ขนมเบื้องแม่ประภา ไงหละ อร่อยสมคำร่ำลือจริงๆ อร่อยคุ้มค่ารถจากปทุมธานีมาบางลำพู
เลาเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆที่ติดกับห้าง ต.เง็กชวนนั่นแหละครับ เพื่อไปยังสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่เห็นยอดเขียวๆอยู่ด้านหลังโน่นนะครับ
ใช่แล้ว …. เรามายัง มัสยิดจักรพงษ์ ที่นี่เป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินธ์ตอนต้น กล่าวคือในช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 นั้นได้มีการต้อนเชลยชาวมุสลิมจากทางปัตตานีเข้ามาพระนคร สำหรับคนที่มีความสามารถทางด้านการทำทอง ก็จะถูกส่งมาอยู่ในที่แห่งนี้ และมีอาชีพที่ชำนาญและโด่งดังในยุคสมัยโน้นก็คือ เป็นช่างทอง แต่ทราบว่ามายุคสมัยนี้ ได้หยุดทำการไปหมดแล้ว
มีน้องๆจิตอาสา มาช่วยเล่าประวัติให้ฟังด้วย
เราเดินออกมาอีกทางตรอกนึงซึ่งมาโผล่ทางปากตรอกสุเหร่า ด้านนี้ร้านค้าร้านอาหารมากมาย
ที่สำคัญ มาโผล่ตรงข้ามห้างตั้งฮั่วเส็งเก่าแก่นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่
เราก็เดินข้ามถนนมา แล้วเดินเข้าถนนไกรสีห์ ร้านค้าเก่าแก่ ก็พอจะมีหลงเหลืออยู่บ้าง แต่หลายๆร้านก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
อาคารจอดรถของ กทม. ก็สะดวกดีครับ อยู่ใจกลางเลย จอดเสร็จก็เดินซื้อของได้รอบทิศ
ไกด์กิติมศักดิ์พาเราเดินทะลุวัดบวรฯเพื่อไปที่แยกสะพานเฉลิมวันชาติ แหล่งขายธงชาติ และธงนานาชาติ นานาชนิด
เดินผ่านประตูและกำแพงพระนครเก่าแก่ที่ยังคงเหลืออยู่ …
ต้องถือว่าเป็นแหล่งที่ใหญ่จริงๆครับ เยอะแยะไปหมด ไม่รู้กี่ร้านต่อกี่ร้าน
มาถึงจุดนี้ก็ได้เวลาแยกย้ายพร้อมๆกับฝนตกลงมาพอดี ระหว่างทางที่เราเดินกลับพิพิธบางลำพู ก็แวะชมศาลพระเจ้าตากสินมหาราช แว๊บบบบ นึง
มารอบสอง
ตอนหน้าเราจะมาเล่าเรื่องที่มาเดินเที่ยวอีกครั้ง ห่างจากครั้งแรก 1 สัปดาห์พอดี แต่ครั้งนี้ หนักไปทางเรื่องกิน กิน กิน แล้วก็ กิน
แล้วเจอกันนะครับ ….