ด้วยความสัตย์จริงคือ มีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชานี้น้อยมาก พอมีผู้ปกครองมาสอบถาม มาขอความคิดเห็น เราก็บอกไปตามตรงตามนั้นว่ามีความรู้เรื่องนี้อาจจะน้อยหน่อย แต่หลังจากวันนั้นมันก็เป็นปมในใจมาตลอด เลยต้องกลับมาค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมเอามาไว้ เผื่อว่าวันหลังเจอผู้ปกครองท่านนั้นอีก ก็จะได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และ เผื่อว่าท่านอื่นๆมาถามก็พอจะได้โม้ไปกับเขาได้บ้าง . . .
แต่สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือชื่อของคณะหรือภาควิชา “วิศวกรรมชีวการแพทย์” จะเห็นว่าเริ่มต้นมาก็ “วิศวะ” ละแถมตบท้ายที่ลงด้วย “แพทย์” สุดยอดเลย แต่ที่มากไปกว่านั้นก็คือมี “ชีวะ” ด้วย ไหนใครบอกเรียนวิดวะจะได้ไม่ต้องเจอชีวะไง แต่ก็เป็นการผสมผสานเรื่องเหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกล่อม จากที่เมื่อก่อนจะรู้สึกได้เลยว่า จะเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาช่วยในทางการแพทย์ได้อย่างไรบ้าง!!!
BioMedical Engineering มีเรียนมีสอนที่ไหนบ้าง?
เท่าที่ตามหามาดูก็เห็นๆว่ามีอยู่ 3 มหาวิทยาลัยที่เปิดเป็นคณะอย่างเป็นทางการ หรืออาจจะมีที่อื่นอีกก็เป็นได้
- คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
จริงๆก็ยังมีที่อื่นอีกเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แต่เปิดสอนในระดับปริญญาโท ส่วนในระดับปริญญาตรีจะเป็นวิศวกรรมชีวภาพ Biological Engineering และที่ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งก็เปิดสอนในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก
ส่วนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือก็จะเป็นหลักสูตร Biomedical Engineering แต่อยู่ภายใต้ภาควิชาฟิสิกส์ อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์
เดี๋ยวเรามาดูกันว่าแต่ละที่ มีวิธีการสอบคัดเลือกเข้าอย่างไรกันบ้าง
คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Website : http://bme.eng.swu.ac.th/
facebook : https://web.facebook.com/bmeswu
หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นแบบภาคภาษาไทย เรียน 4 ปี และเรียนที่ มศว.ตรงองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งจะเห็นว่าทางคณะจะรับนิสิตผ่านทางรอบ Portfolio เสียเป็นส่วนใหญ่
ค่าเล่าเรียนตกเทอมละ 25,000 บาท
TCAS-1 PORTFOLIO
จากปีที่ผ่านมา เปิดรับในรอบ TCAS-1 Portfolio ผ่านโครงการเด็กดีมีที่เรียน โดยมีหลักเกณฑ์คร่าวๆประมาณนี้
- จำนวนรับ 45 คน
- GPAX 5 เทอมไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลงานหรือเป็นตัวแทนแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม ทักษะด้านวิชาการเน้นด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับกลุ่มโรงเรียน จังหวัด เขต หรือ ภูมิภาคขึ้นไป
- Portfolio ที่แสดงตัวตน ทักษะ ความรู้ความสามารถ การเข้าร่วมกิจกรรม การทำความดี มีคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นที่ประจักษ์และอุทิศตนเพื่อส่วนรวม ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ
- ผลงานจะต้องไม่เกิน 3 ปีย้อนหลังจากปีที่สมัคร
TCAS-2 QUOTA
สำหรับโครงการนี้มีรับผ่านโครงการต่างๆในรอบ Quota โดยรับทั้งหมดจำนวน 10 คน
TCAS-3 ADMISSION
ในรอบ TCAS-3 Admission ก็มีรับโดยใช้คะแนนต่างๆดังนี้
- จำนวนรับ 5 คน
- GPAX 2.50 ขึ้นไป
- เรียนคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- เรียนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Website : https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/webth/
facebook : https://web.facebook.com/bmemahidol
หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นแบบภาคนานาชาติ 4 ปี มีระบบการเรียนให้เลือก 2 ระบบคือ
+ แบบเรียน 2 ปีที่มหิดล และอีก 2 ปีที่ University of Strathclyde
+ เรียนทั้ง 4 ปีที่มหิดล
สำหรับค่าเทอมที่เรียนที่มหิดลตกเทอมละประมาณ 80,000 บาท
TCAS-1 PORTFOLIO
Early Admission (อยู่ในรอบ Portfolio เหมือนกัน แต่มาก่อนมาเร็ว เริ่มรับสมัครเดือนกันยายน)
- จำนวนรับ 35 คน
- GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.25
- GPA ในรายวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษและชีววิทยา ไม่ต่ำกว่า 3.25
- มีคะแนนสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ
- IELTS 5.5 ขึ้นไป
- TOEFL ITP 500 ขึ้นไป
- SAT I Reasoning Test 1,000 ขึ้นไป
- etc.
เกณฑ์การคัดเลือก
- คิดรวมกันเป็น 40%
- แฟ้มสะสมผลงาน Portfolio
- เรียงความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเป้าหมายวิชาชีพ
- Recommendation Letter 3 ฉบับ จากบุคคลน่าเชื่อถือ
- ผลการศึกษา 20%
- คะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษ 20%
- สอบสัมภาษณ์ 20%
รอบ TCAS 1/1
- จำนวนรับ 40 คน
- แผนการเรียน วิทย์-คณิต หรือแผนการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
- GPAX 4 เทอม 3.25 ขึ้นไป
- GPA แต่ละรายวิชา 3.25 ขึ้นไป ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
- มีคะแนนสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ
- IELTS 5.5 ขึ้นไป
- TOEFL ITP 500 ขึ้นไป
- SAT I Reasoning Test 1,000 ขึ้นไป
- etc.
- Portfolio มีกิจกรรม ผลงาน รางวัล เกัยรติบัตร ที่เข้าร่วมหรือได้รับ หรือมีผลงานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัคร(ในระดับชั้นมัธยมปลาย)
- Statement of Purpose หรือ Essay Writing ที่แสดงถึงความโดดเด่นทางด้านวิชาการ ทัศนคติต่อวิชาชีพและเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นภาษาอังกฤษ
- Recommendation Letter 3 ฉบับ
TCAS-2 QUOTA
- + จำนวนรับ 2 คน (นักเรียน KVIS หรือ MWIT)
- + แผนการเรียนวิทย์-คณิต หรือแผนการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
- + GPAX 5 เทอม 3.25 ขึ้นไป
- + GPA รายวิชาไม่ต่ำกว่า 3.25 ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
- + คะแนนขั้นต่ำ A-Level
- คณิต 1 30 คะแนน
- ฟิสิกส์ 30 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ 30 คะแนน
- คะแนนขั้นต่ำ TPAT3 30 คะแนน
- มีคะแนนสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ
- IELTS 5.5 ขึ้นไป
- TOEFL ITP 500 ขึ้นไป
- SAT I Reasoning Test 1,000 ขึ้นไป
- etc.
- เป็นผู้ที่เลือกหลักสูตรนี้ในลำดับ 1-4 เท่านั้น (จากที่ ทปอ.ให้เลือกได้ 10 ลำดับ)
- สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
Web Site : https://bme.kmitl.ac.th/
facebook : https://www.facebook.com/kmitl.bme/?ref=embed_page
สำหรับค่าใช้จ่ายของ Biomedical Engineering นั้นตกประมาณปีละ 90,000 บาท
อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เปิดรับ Biomedical Engineering เป็นแบบหลักสูตรนานาชาติก็คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้สลาดกระบังนั่นเอง
ถ้าเป็นพื้นฐานแล้ว จะเป็นหลักสูตรนานาชาติ 4 ปี แต่ก็มีหลายๆ Track การเรียนที่น่าสนใจนะครับ
- หลักสูตรนานาชาติ 4 ปี เรียนที่ KMITL
- Biomedical Instrumentation (BMI) ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ การจัดการ การบำรุงรักษา การตรวจสอบความเที่ยงตรง และ/หรือ รวมไปถึงการออกแบบและการพัฒนา อันนี้น่าจะเหมาะกับคนที่ชื่นชอบในเรื่องวิศวกรรมหรืออุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์และเครื่องกล
- Healthcare Information Technology (HIT) อันนี้จะเหมาะกับเด็กที่ชอบทางด้านคณิตศาสตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทางด้าน วิศวกรรมซอร์ฟแวร์ เพราะจะเรียนเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆในโรงพยาบาลหรือที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ ทั้งในเรื่องของการเก็บข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และเรื่องอื่นๆอีก
- Biopharmaceutical Engineering (BPHARM) สำหรับคนที่ชอบทางด้านเคมี วิศวกรรมชีวภาพ เพราะจะเรียนรู้การประยุกต์ใช้เคมีในการพัฒนายา biological tissues, biosensors และ bioinformatics
- Pre-dentistry (PDENT) เป็นการเรียน 3 ปีที่คณะนี้และไปเรียนต่ออีก 5 ปีที่คณะทันตแพทย์ของ KMITL ซึ่งก็จะเป็นการได้ 2 ปริญญา จาก 3 ปี แรกจะต้องได้เกรด 3.5 ขึ้นไป และมีผลวอบ IELTS 7.0 ขึ้นไปด้วย เคยได้ยินมาว่ามีหลักสูตรประมาณนี้แต่กับของคณะแพทย์ KMITL ด้วย
- Dual Degree Program with University of Glasgow (Glasgow) จะเป็นหลักสูตรที่เรียนที่ KMITL 2 ปีแล้วไปเรียนที่ GG U อีก 2 ปี ซึ่งเมื่อจบแล้วก็จะได้รับปริญญาจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย
- ที่เห็นจากหน้า facebook page ของโครงการ ปี 2024 ก็จะมีเปิดเพิ่ม Dual Degree กับ University of Adelaide ประเทศออสเตรเลียด้วย
การเปิดรับนักศึกษาในรอบต่างๆ
DIRECT ADMISSION TCAS 1-1 EARLY ROUND
- จำนวนรับ 40 คน
- อย่างใดอย่างหนึ่ง
- SAT ขั้นต่ำ 1020
- GSAT ขั้นต่ำ 1020
- หนังสือรับรองจากทางโรงเรียนว่าอยู่ใน rank 75 percentile
- ACT 19
- IB Diploma 29
- Certificate ที่เคยออกให้จากทาง KMITL
- A-Level TGAT TPAT etc.
TCAS 2 QUOTA
+ จำนวนที่รับ 5 คน ผ่านทางโครงการต่างๆในรอบ Quota
TCAS 3 ADMISSION
- จำนวนรับ 5 คน
- คะแนนที่ใช้
- TGAT 90 ความถนัดทั่วไป น้ำหนัก 20%
- TPAT-3 30 ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก 25%
- A-LEVEL 61 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 น้ำหนัก 20%
- A-LEVEL 64 ฟิสิกส์ น้ำหนัก 20%
- A-LEVEL 82 ภาษาอังกฤษ น้ำหนัก 15%
จบแล้วไปทำอะไร?
เนื่องจากเป็นคณะที่ยังใหม่อยู่สำหรับในตลาด ถึงแม้จะเปิดมานานแล้ว เราก็ต้องมาดูกันว่าเมื่อจบแล้วนิสิตนักศึกษาไปทำงานด้านไหนกันบ้างในตลาดแรงงานบ้านเรา ที่รวบรวมมาคื 15อที่ทางคณะ/มหาวิทยาลัยเขียนเอาไว้ในเว็บของเขา แต่จริงๆแล้วที่จบไปเป็นอย่างไรบ้างอันนี้เราก็ยังไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกัน
- วิศวกรชีวการแพทย์ นวัตกรออกแบบพัฒนาอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์
- นักวิจัย พัฒนา และวิเคราะห์ระบบสารสนเทศในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน
- ผู้ประกอบการผลิต จำหน่ายหรือนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์
- เป็นพวก Product specialist, R&D engineer ในบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์
- วิศวกรผู้ดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ
- Medical Sale Engineer
- อื่นๆ