อัตราการแข่งขันรอบห้องเรียนพิเศษ สอบเข้า ม.1 ปีการศึกษา 2566

ในโพสต์นี้ เราสรุปอัตราการแข่งขันจาก “จำนวนผู้สมัครสอบ” เทียบกับ จำนวนที่รับ ในแต่ละแผนการเรียนของแต่ละโรงเรียน (ทั้งนี้จำนวนผู้เข้าสอบจริงยังไม่สามารถรู้ได้จนกว่าจะถึงวันสอบจริง และเราก็จะทราบจำนวนจริงๆไม่กี่โรงเรียน จึงขอใช้ จำนวนผู้สมัครสอบในการสรุป ซึ่งก็จะสรุปประมาณนี้
+ อัตราการแข่งขันภาพรวม
+ อัตราการแข่งขันแยกเฉพาะห้องเรียนพิเศษ English Program
+ อัตราการแข่งขันแยกเฉพาะห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
+ อัตราการแข่งขันห้องเรียนพิเศษ อื่นๆ


เหมือนกับว่าเป็น routine อะไรประมาณนั้น ที่จะมารวบรวมข้อมูลส่วนนี้เอาไว้ เพื่อ?

ก็ไม่ได้สลักสำคัญ(แปลว่าสำคัญมาก คือไม่ได้ใช้คำนี้มานาน รู้แต่ว่ามันติดปาก เลยต้องไปเปิดพจณานุกรมดูว่าความหมายจริงๆคืออะไร) แต่ก็พอเป็นนัยสำคัญสำหรับนำไปประกอบการตัดสินใจได้บ้างสำหรับบางครอบครัว

ขั้นต้น อย่างที่เคยบอกมาตลอดว่า อัตราการแข่งขันก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องที่สำคัญคือ “การประเมินตัวเอง” โดยหลักใหญ่ๆก็เช่น

+ ความชอบ ความต้องการ
+ การเดินทางตลอดระยะเวลา 3 ปี หรือ 6 ปี ว่าถ้าไม่สามารถมาโรงเรียนได้ด้วยตนเอง ใครเป็นผู้มาส่งที่โรงเรียน และถ้าผู้นั้นไม่ว่างจะทำอย่างไร? ฯลฯ
+ ความสามารถ อันนี้สำคัญสุด ต้องประเมินว่า เด็กมีความสามารถระดับไหน ควรแข่งกับใคร ควรลงสนามไหน เพื่อโอกาสที่สูงสุด ซึ่งที่ที่ยากก็ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาส จึงต้องเป็นการวางแผนของทีมครอบครัวอย่างจริงจัง


อัตราการแข่งขัน 2566

ปัจจุบัน อัตราการแข่งขันเป็นตัวเลขที่เกินความจริงอยู่ เพราะหลายๆโรงเรียนสามารถสมัครจบกระบวนการผ่านทางระบบ online ซึ่งเป็นการสะดวกที่เด็กหนึ่งคนจะสมัครหลายๆแผนการเรียนหรือหลายๆโรงเรียน ซึ่งถามว่าทำได้ไหม? ตอบเลยว่าทำได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการจำกัดสิทธิ์จากทาง สพฐ. (แต่ก็ไม่น่าจะจำกัดนะครับ เป็นสิทธิ์ของเด็ก) สิ่งเดียวที่ดูแล้วอาจจะไม่ถูกใจเท่าไหร่ก็คือ การเปลืองทรัพยากร เพราะการสมัครหมายถึงทางโรงเรียนก็ต้องจัดที่นั่งสอบให้ พิมพ์ข้อสอบให้ … แต่นั่นคือสิ่งที่เป็นไป . . . . ทำเรื่องของตัวเองให้ดีที่สุด

มาดูตารางอัตราการแข่งขันของรอบห้องเรียนพิเศษ ม.1 ปีการศึกษา 2566 กันดูบ้าง

สำหรับประกาศจำนวนผู้สมัครสอบ ของแต่ละโรงเรียน ได้รวบรวมเอาไว้ที่นี่แล้วครับ

https://www.facebook.com/myremainingtime/posts/pfbid032awxHLPLvEeGKSPgq49q6x2Z5LWyexfaDeFRwMkk2BneSkjqbV5XRbh6SzwTs18Bl


แยกตามแผนการเรียน

ห้องเรียนพิเศษ English Program

หอ้งเรียนพิเศษ English Program ปีนี้มีน้องใหม่อย่างโรงเรียนบดินทรเดชาเข้ามาเพิ่มหลังจากได้ข่าวมา 3-4 ปีแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเด็กๆ เพราะจะได้กระจายกันออกไป ไม่มาแย่งกันอยู่ในไม่กี่โรงเรียน และมีบางโรงเรียนก็ Upgrade จาก MEP มาเป็น EP

อย่างที่เคยเขียนไปนะครับ หลายๆท่านยังเข้าใจผิดๆกับหลักสูตร English Program เพราะว่ายังมีถามกันเข้ามาอยู่ว่า อย่างนี้ตอนมอปลาย น้องจะเปลี่ยนไปเรียนสายวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ ซึ่งจริงๆแล้ว EP ก็คือหลักสูตรสามัญนั่นแหละครับ เพราะมอต้นยังไม่ได้แยก วิทย์ ศิลป์ คณิต

ที่เคยเขียนเอาไว้ อาจจะเป็นกรณีของสามเสนวิทยาลัยนะครับ อาจจะเกี่ยวบ้างไม่เกี่ยวบ้าง แต่ก็เขียนไว้นานละ

EP – English Program :: ความเข้าใจผิดๆกับโครงการนี้ !
https://wp.me/p5DNAK-3d4

สามเสนวิทยาลัย :: จบ ม.3 EP สามเสน แล้วไปเรียนต่อที่ไหนกันบ้าง?
https://wp.me/p5DNAK-2B9

เด็ก EP จบ ม.3 จะข้ามฝั่งไปเรียนทางห้องเรียนพิเศษของฝั่งสามัญได้หรือไม่?
https://wp.me/p5DNAK-3Z1

จบ ม.3 แล้ว . . . เมื่อเด็กต้องเลือกว่าจะเดินไป Silicon Valley หรือว่าจะไป Hollywood
https://wp.me/p5DNAK-3wv


ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ส่วนใหญ่ก็จะเรียกห้องกิฟท์กัน โรงเรียนไหนไม่เรียกกิฟท์ก็ไม่เป็นไร เอาเป็นว่าให้เข้าใจง่ายว่ามันแนวเน้นวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ มากกว่าห้องเรียนแบบสามัญ


อื่นๆ – MEP – IEP


ท้ายสุด

ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเดินเข้าห้องสอบ ยังไงก็ขอให้เด็กๆทุกคนโชคดีนะครับ ได้เรียนในที่ที่เหมาะสมสำหรับเรา เรียนแล้วมีความสุข

สอบเข้า ม.1 สามเสนวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566