สอบเข้า ม.1 สามเสนวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566

ใกล้ถึงวันสมัครสอบรอบห้องเรียนพิเศษแล้วนะครับ ซึ่งก็จะเปิดรับสมัครใกล้เคียงหรือเหมือนกันสำหรับโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ แต่สอบวันเดียวกันแน่ๆ ดังนั้น ก็ต้องศึกษาประเมินตัวเอง ประเมินคู่แข่ง ดูข้อมูลสถิติที่ผ่านมา เพื่อวางแผนให้กับครอบครัวตัวเอง ช่วงเวลานี้ “ทีมครอบครัว” สำคัญที่สุด

ในโพสต์นี้ก็พยายามรวบรวมข้อมูล ทั้งที่เขียนขึ้นมาใหม่และโยง Link ไปยังที่เคยเขียนมาแล้วในรอบหลายๆปี กับหลายๆเรื่องประมาณนี้
+ สอบเข้า ม.1 รอบห้องเรียนพิเศษ ESC MSEP EP
+ ค่าเทอม ค่าใช้จ่าย เรียนวันละกี่คาบ วันเสาร์เรียนไม่เรียน
+ EP ไปต่อสายวิทย์ได้ไหม
+ EP ครูสอนภาษาอังกฤษเป็น Native ไหม
+ สอบรอบห้องเรียนปกติ นักเรียนในพื้นที่ นอกพื้นที่ เงื่อนไขพิเศษ
+ ในพื้นที่เป็นยังไง
+ เงื่อนไขพิเศษเป็นยังไง
+ ห้องคิงส์ ห้อง EIS คัดกันอย่างไร
+ จบ ม.3 แล้ว ห้องไหนสามารถต่อสามเสน ม.4 แผนการเรียนไหนได้บ้าง


12 ห้อง มอ.1 สามเสนวิทยาลัย

เรามาดูกันว่า 12 ห้อง ม.1 สามเสนวิทยาลัยมีแผนการรับอย่างไรบ้าง

มาแยกกันตามรอบสอบนะครับ

รอบห้องเรียนพิเศษ

รอบห้องเรียนพิเศษเปิดรับสมัคร 14-18 กุมภาพันธ์ 2566 โดยการสมัครและส่งเอกสารแบบ Online ซึ่งในรอบห้องเรียนพิเศษนี้เปิดรับ 3 แผนการเรียนคือ

+ ห้อง ESC : Enrichment Science Classroom จำนวนรับ 36 คน
+ ห้อง MSEP : Mathematics & Science Enrichment Program จำนวนรับ 36 คน
+ ห้อง EP : English Program จำนวนรับ 120 คน

เรามาดูรายละเอียดของสามห้องนี้กันก่อนนะครับ

ESC – Enrichment Science Classroom

ห้อง ESC หรือที่มีชื่อเรียกสั้นๆภาษาไทยว่า ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลักสูตรก็จะอิงตามแนวทางของ สสวท. สอวน.

หลายคนบอกขอเรียกง่ายๆชื่อเล่นว่ากิ๊ฟวิทย์ละกัน เพราะมันอธิบายยากว่ามันเป็นห้องอะไร ถึงแม้รายวิชาและหลักสูตรจะไม่ใช่ห้องกิ๊ฟ แต่ก็ขอเรียกกันง่ายๆประมาณนี้

ห้องนี้การเรียนการสอนจะเป็นลักษณะนี้
+ มีเรียนคาบ 9-10 สัปดาห์ละ 3 วัน
+ มีเรียนวันเสาร์(เลิกประมาณ 14.30 น.๗ในรายวิชาพิเศษที่เชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาสอน(เช็คเวลาเรียน คิดเกรดด้วย) มาให้ความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
+ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เรียนและสอบโดยใช้เอกสารภาษาอังกฤษ สอนเป็นภาษาไทยโดยครูไทย เน้นคำศัพท์ที่สำคัญ
+ ค่ายบูรณาการ รู้สึกจะมีกำหนดด้วยมั้งครับว่าจะต้องไปค่ายอย่างน้อยกี่ครั้งในการเรียนมอต้น (ค่าย 3 วัน 2 คืน)
+ จัดทำโครงงานไม่ต่ำกว่า 1 โครงงานตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ตอนมอต้น ม.1 – ม.3
+ มีการศึกษาตามแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

ตัวอย่างตารางสอน เทอมแรก

MSEP – Mathematics & Science Enricement Program

ห้อง MSEP หรือห้องเรียนพิเศษด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรโดยมาใช้หลักสูตรเดียวกันกับห้อง ESC แต่วิชาที่เรียนวันเสาร์นั้น จะเรียนแบบเช็คเวลาแต่ไม่คิดเกรด ผลการเรียนเป็น ผ่าน/ไม่ผ่าน กิจกรรมอื่นๆก็ทำนองเดียวกันกับห้อง ESC

ถ้าจะเรียกห้อง ESC เล่นๆว่ากิ๊ฟท์วิทย์ ก็ต้องเรียกห้องนี้ว่ากิ๊ฟท์เลข ทั้งๆที่ไม่ใช่ห้องกิ๊ฟท์ และ ทั้งๆที่เรียนก็เหมือนๆกัน แต่ก็อย่างที่บอก เพื่อให้ ผปค.ทั่วไปจำง่ายว่าเด็ดเน้นวิทย์อยู่ห้องโน้น ส่วนห้องนี้เด็กเก่งเลขชอบมาอยู่ ทั้งๆที่ความเป็นจริงไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย แต่ไหนๆเรียกกันมาละ ก็เรียกกันไปละกัน

จริงๆแล้ว ก็มีเรื่องเล่าขานกันมาเมื่อก่อนว่า เพื่อให้การสอบเข้าประสบผลสำเร็จ เด็กเก่งๆมักจะเลือกสอบลงห้อง MSEP เพราะไม่อยากเรียนหนัก(กว่า)ในวันเสาร์ ทำให้เด็กหลายๆคน หลบไปลงสอบห้อง ESC แทน หรือบางคนอาจจะข้ามห้วยไป EP เลยก็มี

ตัวอย่างตารางสอน เทอมแรก

EP – ENGLISH PROGRAM

EP หรือถ้าให้คำนิยามเป็นภาษาไทยก็คือ ห้องเรียนพิเศษโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ หรืออีกแบบก็คือ เรียนหลักสูตรสามัญแต่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นบางรายวิชาเช่น ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ผู้ปกครองหลายๆท่าน ยังคงเข้าใจว่า เรียน EP แล้วจะเน้นไปทางภาษา พอมอปลายก็จะไปเรียนพวกศิลป์ภาษาอะไรทำนองนั้น เพราะว่าผมได้รับคำถามมากมายว่า จบ EP ม.3 แล้ว จะไปเรียนต่อสาย วิทย์-คณิต ได้หรือไม่? ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เกี่ยวกันเลย เพราะการเรียน EP ก็เหมือนการเรียนห้องปกติทั่วไป ดังนั้น พอจบ ม.3 แล้วจะต่อ ม.4 ก็สามารถเลือกเรียนได้ตามใจต้องการเลย ไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์(วิทย์-คณิต) สายคณิต(ศิลป์-คำนวน) ภาษา(ศิลป์-ภาษา) หรือจะเรียน EP ต่อในระดับมัธยมปลายก็สามารถเลือกได้เช่นกันว่าจะเป็น EP Science(วิทย์-คณิต) EP Math(ศิลป์-คำนวน) EP Langauge(ศิลป์-ภาษา) เคยเขียนบทความเเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้เมื่อหลายปีก่อนโน้นเช่นกัน “EP – English Program :: ความเข้าใจผิดๆกับโครงการนี้ !

วันก่อนก็ไปเดินเกะกะที่งาน Samsen Open House มา ก็เดินไปทางบูท EP และส่วนจัดนิทรรศการของ EP ก็เลยเก็บข้อมูลที่เขาแจกวันนั้นมาฝาก เผื่อบางท่านไม่ได้ไป ต้องขอขอบคุณและขออนุญาตทาง EP Office ด้วยนะครับ

ในส่วนของ EP ก็มีหลายหลายเรื่องให้พูดถึง เช่น
+ Q ลูกเรียนภาคปกติมาตลอดจะมีปัญหามั๊ย?
+ A ไม่ว่าประถมมาจากไหน เทอมแรกเด็กๆก็จะมาเริ่มปรับตัวเหมือนกันหมด มีเด็กที่มาจากห้องปกติกว่าครึ่งเลยครับ
+ Q อยากทราบครูต่างชาติเป็น Native Speaking ไหม?
+ A ตอบเลยครับ เป็น Native ในรายวิชาภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆก็ผสมผสานนะครับ ไม่ว่าจะมาจากโซนไหน แต่ตรงสายสาขาวิชาที่สอน
+ Q ฯลฯ

ประมาณนั้น ใครอยากถามอะไร เข้าไปถามได้เลยนะครับในห้อง “สอบเข้าสามเสน” ทุกคำถามมีคำตอบ ทุกคำตอบมาจากประสบการณ์

รอบห้องเรียนปกติ

รอบห้องเรียนปกติ ปกติก็จะสอบหลังจากรอบห้องเรียนพิเศษ 3-4 สัปดาห์ ตามแต่ สพฐ.จะเป็นผู้กำหนด ซึ่งสำหรับสามเสนวิทยาลัยแล้ว ก็เปิดรับนักเรียนจาก 3 กระดานต่อไปนี้คือ

+ นักเรียนในเขตพื้นที่บริการ รับ 58 คน
+ นักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการ รับ 134 คน
+ นักเรียนเงื่อนไขพิเศษ รับ 48 คน

ในส่วนที่นักเรียนจะไปสอบคัดเลือกเข้าห้อง EIS ห้องนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก 3,000 บาท และค่าเอกสารหนังสือเรียนอีกประมาณ 1,700 บาท

เป็นคำถามที่มีมาทุกปีเรื่อง
+ จำนวนรับในเขตนอกเขต ทำไมนอกเขตมากจัง?
+ จำนวนรับเงื่อนไขพิเศษ ทำไมรับเยอะมาก?
+ เงื่อนไขพิเศษคืออะไร? ทำยังไงถึงจะอยู่ในเงื่อนไขได้บ้าง?
+ แล้วมีความสามารถพิเศษไหม?
+ ห้องคิงส์กับห้อง EIS มีการคัดเลือกอย่างไร? แล้วอยู่ห้องไหนดีกว่า?
+ ฯลฯ


เด็กในพื้นที่บริการ

ปีนี้สัดส่วนของเด็กในพื้นที่บริการ ลดลงพอสมควร จึงต้องขับเขี้ยวกันหนักมากขึ้น จะขยับไปลงสนามนอกเขตพื้นที่ก็สาหัสอยู่ จากคะแนนปีที่แล้วถ้าสังเกตุให้ดี คะแนนต่ำสุดของนอกเขตพื้นที่บริการ อยู่ประมาณคะแนนเฉลี่ยของเด็กในพื้นที่บริการ จึงต้องก้มหน้าเดินหน้าทำให้เต็มที่สุดความสามารถกันต่อไป

เงื่อนไขหรือหลักการของเด็กในพื้นที่บริการ ก็ขอให้ดูประกาศของทางโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง ได้เคยเขียนไปบ้างแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ละปีถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ต้องมาตีความของข้อความในประกาศ และ/หรือ โทรสอบถามทางโรงเรียนได้

เด็กในพื้นที่ !!!
https://wp.me/p5DNAK-4fC

หมดยุค 2 เด้ง ในพื้นที่ – สามเสนวิทยาลัย
https://wp.me/p5DNAK-4oU

ยกเลิก 2 เด้ง

นักเรียนเงื่อนไขพิเศษ

ก็เขียนเอาไว้หลายรอบ คนก็ชอบถามเรื่องนี้ แฮะๆ เอามาแปะๆให้นะครับ

เด็กเงื่อนไขพิเศษ
https://wp.me/p5DNAK-4TN

เด็กเงื่อนไขพิเศษ

เด็กเงื่อนไขพิเศษ !!! คำถามยอดฮิต
https://wp.me/p5DNAK-4nX

เด็กเงื่อนไขพิเศษ

ห้องคิงส์ ห้อง King ห้อง EIS

อีกประเด็นหนึ่งที่พูดถึงกันมาก็คือ การที่จะเป็นคิงส์ในสายการเรียนสามัญ หรือ How to be King ของ English Program และอีกห้องก็คือ ห้อง EIS
ทั้งหมดนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งตอนเข้ามา ม.1 ก็ดูจากผลประกอบการเลยครับ คะแนนสอบมายังไงไปอย่างนั้น แต่พอจะขึ้น ม.2 หรือ ม.3 ก็จะมีการจัดเรียงใหม่ตามคะแนนดิบในรายวิชาที่กำหนด หลายๆคนก็จะตกบัลลังก์ และในขณะเดียวกันหลายคนก็ปีนขึ้นไปปักธงได้สำเร็จ

ในส่วนของห้อง EIS นั้นที่มาที่ไปก็คือ เด็กๆที่เข้ามาเป็นนักเรียนสามเสนแล้ว(มอบตัวเรียบร้อยแล้ว) ระหว่างการเรียนเตรียมความพร้อม ก็จะมีประกาศรับสมัครเด็กที่สนใจห้องเรียน EIS มาสมัครสอบคัดเลือก โดยสอบ 2 วิชาคือ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ วิชาละ 50 คะแนน เพื่อคัด 80 คนไปลงห้อง 7-8

คัดห้องคิงส์ เลื่อนชั้นไปอยู่ห้อง KING
https://wp.me/p5DNAK-4yT

..ห้องคิงส์ หรือห้อง EIS ดี?..

อีกประเด็นที่หาข้อสรุปที่เป็นทางการไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของครอบครัว เป็นเรื่องของตัวเด็กเอง (น่าจะเด็กที่คะแนนอยู่ช่วงต้นๆ) ว่า จะอยู่ห้องคิงส์ดี หรือจะลองไปสอบห้อง EIS หรืออยู่เฉยๆแหละดีแล้ว

ห้องคิงส์และห้อง EIS ก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป บ้างก็บอกว่าคิงส์ก็จะรับผิดชอบงานกันเต็มเม็ดเต็มหน่วย EIS ก็เรียนสนุกหน่อยมีทั้งหัวเราะปนคราบน้ำตา ก็แล้วแต่ความชอบนะครับ

ห้องคิงส์ VS ห้อง EIS
https://wp.me/p5DNAK-4DU

ตัวอย่างตารางสอนของห้องเรียนปกติ

ตัวอย่างตารางสอนของห้อง EIS

สรุปค่าใช้จ่าย ม.1

เคยทำสรุปคร่าวๆไว้เหมือนกัน อาจจะดูยากหน่อย

จบ ม.3 แล้ว ห้องไหนสามารถต่อสามเสน ม.4 แผนการเรียนไหนได้บ้าง

ได้เคยทำ presentation เพื่อ present ให้ผู้ปกครองสามเสนวิทยาลัย ระดับชั้นมอต้น(เน้น ม.3) ฟัง เกี่ยวกับแนวทางการศึกษาต่อของลูกๆในระดับมัธยมปลาย เพราะจังหวะชีวิตตรงนี้ อาจจะหมายถึงจุดหมายปลายทางในการเลือกสอบเข้า คณะ/มหาวิทยาลัย ต่างๆต่อไปในอนาคตด้วย

จึงขอตัด presentation มาบางส่วนเพื่อให้เห็นภาพว่า ถ้าลูกเราเรียนห้องนี้ในระดับชั้นมอต้น สามารถไปเรียนแผนการเรียนไหนในระดับชั้นมอปลายได้บ้าง … แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผลงานบาปบุญที่สะสมมาในระดับชั้นมอต้นด้วย ว่าจะสามารถเลือกเรียนอย่างใจหวังได้หรือไม่ แต่เด็กๆทุกคนได้สิทธิ์ที่นั่งในระดับชั้น ม.4 ของโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยแน่ๆ …

ห้อง 3/1 – 3/12 คือห้องอะไรบ้าง โครงสร้างก็เหมือนกับ 12 ห้องเรียนมอปลายสามเสนวิทยาลัย นะครับ


ปิดท้าย

คือว่า เขียนไป เขียนไป มันก็ไม่จบเรื่อง จึงขอปิดดื้อๆกันแบบนี้เลย เรื่องเล่ามันมีเยอะ