เป็นคำถามที่ดีนะครับ เพราะอย่างน้อยเป็นการแสดงว่า ได้มีการจะเตรียมวางแผนระยะยาว ซึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิดที่เริ่มคิดกันตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งถ้าเราคิดแบบเบาๆไม่ดังมากก็มักจะตอบในใจว่า too early ไปไหม? แต่สำหรับผมแล้ว การมีทิศทางในการเรียนถือว่าโอเคนะครับ ถึงแม้ว่า เป้าหมายนั้นๆอาจจะเปลี่ยนไปได้ตามเวลาที่ล่วงเลยไป ทั้งเด็กและผู้ปกครองได้พบได้เจอในสิ่งที่เป็นตัวตนของเด็กจริงๆ ซึ่งถ้าใช่เส้นทางที่เคยวาดไว้มันก็จะเป็นการส่งหรือเน้นย้ำไปในทิศทางนั้นๆ
เรียนแผนไหนดี?
คราวนี้ก็กลับมาเข้าเรื่องที่ตั้งหัวเอาไว้ ที่ผ่านๆมา ผมเห็นเส้นทางของเด็กๆที่สุดท้ายไปเรียนหมอที่ผ่านมาตามที่ผู้ปกครองวางแผนเอาไว้พอจะคร่าวๆได้ดังนี้ (มองถึงเด็กสามเสนเป็นหลักนะครับ)
- มอต้นเรียน EP สามเสน มอปลายไปเตรียมอุดม มหาวิทยาลัยคณะแพทย์(เน้นแพทย์ในเมืองกรุงด้วย) : อันนี้เจอเยอะสุด เพราะเป็นแผนที่เหมือนกับเป็น Pattern ที่ผู้ปกครองจากรุ่นสู่รุ่นบอกต่อๆกันมา ผมฟังเขามาอีกทีนะครับเพราะตอนประถมอยู่โรงเรียนบ้านนอก ยังไม่มีข้อมูลพวกนี้ social media ก็ไม่ถึง ผปค.เหล่านี้เขาจะคุยกันตามที่เรียนพิเศษต่างๆ ซึ่งผมฟัง ผปค.เด็กเก่งๆต้นทุนสูงๆ เขาคุยกัน ว่ากันว่า มาเอาภาษาอังกฤษ อ่าน text ตอนมอต้นที่ EP สามเสน ได้ภาษาอังกฤษดี ไม่ต้องเรียนวันเสาร์(ไปติวข้างนอกแทน) สอบเข้าเตรียมฯโอกาสติดสูง พอมอปลายไปเตรียมฯค่อยไปเน้นวิชาการ แล้วเดินแถวเข้าโรงเรียนแพทย์ !!! เพราะอย่างนึงอย่าลืมว่า ผปค.+เด็กๆ ที่สอบเข้าสามเสนไม่ว่าแผนการเรียนไหน ส่วนใหญ่เป้าหมายอยู่ที่เตรียมฯ
ถ้าไปโรงเรียนดังอื่นๆไม่ได้ ก็อยู่สามเสนต่อ ซึ่งก็มีให้ลุยในห้อง EP Science หรือจะข้ามไปห้องสามัญวิทย์ / IMP / หรือสอบเข้าห้อง MSEP มีครบครับเส้นทางเหล่านี้ - มอต้นเรียน ESC / MSEP : อันนี้ชัดเจน เส้นทางของเด็กเก่ง ที่ใช้กันมานานคือเรียนห้องกิฟท์ ต่อห้องกิฟท์ เพื่อจะไปโรงเรียนแพทย์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะไปแพทย์ แต่ละคนก็จะเริ่มเห็นเส้นทางของตัวเองชัดเจนมากขึ้น แต่หลายคนก็มุ่งมั่นที่จะไปแพทย์ ซึ่งก็มีทั้งไปโรงเรียนดังๆ เหมือนเช่นเด็กกลุ่ม topๆ ของ EP ซึ่งเงื่อนไขสำคัญของสองห้องนี้ที่เป็นตัวนำมาพิจารณาว่าจะเลือกเรียนแผนนี้ไหมก็คือ การที่ต้องเรียนวันเสาร์ด้วย แต่ก็จะมี ผปค.+เด็ก จำนวนหนึ่งที่ชัดเจนว่า ชอบที่จะเรียนการสร้างโครงงาน การเขียนโปรแกรม ฯลฯ
- ห้องสามัญ / EIS : สำหรับหลายๆคนที่สอบเข้าแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษไม่ได้ ก็มาสอบรอบห้องเรียนปกติ แล้วเดี๋ยวขึ้น ม.4 มาว่ามาเจอกันอีกทีที่สนามต่างๆ ซึ่งก็จะคล้ายๆกับสองกลุ่มแรก
แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่ว่าเข้ามาเรียนแผนไหน ผมก็เห็นมีการเรียนเสริม ติว ฯลฯ ทั้งข้างโรงเรียน / สยาม / วรรณสรณ์ เหมือนๆกันหมด จนเกือบจะกล่าวได้ว่า เรียนแผนไหน Scenario ในการเตรียมตัวเพื่อเดินก้าวต่อไป ก้าวแรกมัธยมปลาย ก้าวที่สองมหาวิทยาลัย ก็จะคล้ายๆกัน ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ที่ความรับผิดชอบ / วินัย ในการเตรียมตัวนั่นแหละครับ
สรุปว่าจะเลือกเรียนแผนไหนอยู่ที่ ตัวเด็กและผู้ปกครอง พิจารณาเลยครับ ทุกเส้นทางจะชัดเจนเมื่อเราเข้าสู่มัธยมปลาย . . . ที่สำคัญ ให้ลูกเรียนด้วยความสุข มีสนุกที่สมควรตามวัย