ชวนลูกค้นหาอาชีพกันเฮอะ
ชวนลูกค้นหาอาชีพ – ม.4 อะไรๆมันก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามวัย แต่มันก็จะยิ่งใกล้เส้นทางชีวิตของเขาเข้าไปเรื่อยๆ เด็กบางคนรู้เป้าหมายตัวเองชัดเจนแล้ว ก็ถือว่าโชคดีไป สามารถเดินตามหาความฝันได้อย่างเต็มที่ ลูกชายเรา ความจริงเขาก็ได้เป้าหมายที่วางไว้แล้วตั้งแต่ที่ช่วงปลายๆ ม.3 แต่ใจเราก็ยังอยากเสนอให้อีก 5 5 5 สู้อุตส่าห์ไปค้นหาใช้เวลาอยู่กับ internet เพื่อที่ว่าเวลาเล่าให้เขาฟังจะได้อธิบายถูกว่าอาชีพนั้นๆเป็นอย่างไร มีชีวิตการทำงานแบบไหน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่อาชีพที่เราเคยทำ เราไม่สามารถบอกหรือเล่าให้เขาได้ถูกต้องหรอก แต่ด้วยความที่เราผ่านกาลเวลามามากกว่าเขา และการหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พอจะถูๆไถๆไปได้ ดังนั้น Version ที่เขียนนี้ เป็นอะไรที่เล่าให้ลูกฟัง อาจจะไม่ถูกต้อง เป๊ะ ปัง แต่ก็พอมีเค้าโครงอยู่บ้างแหละ เป็นแบบ “พ่อสอนลูก”
จริงๆแล้วตอนนั้นที่จับเข่านั่งคุยกับลูก ก็บอกให้เขาเลือกสิ่งที่ชอบไว้ก่อนสัก 3-4 อย่าง จะได้รู้ว่าจะเดินไปทางไหน เพราะเอาเข้าจริงๆ สิ่งที่เลือกไว้อาจจะไม่ใช่ก็ได้ แต่ยังไงมันต้องมีแนวทาง มีเส้นทางให้เดินบ้างหละ ลองอ่านย้อนหลังดูได้นะครับ
จบ ม.3 แล้ว . . . เมื่อเด็กต้องเลือกว่าจะเดินไป Silicon Valley หรือว่าจะไป Hollywood
มีอาชีพอะไรน่าสนใจบ้าง?
ผมเองก็ไม่ได้ตรัสรู้ หรือรู้อะไรในอนาคตได้หรอกครับ ก็อาศัยอ่านเยอะ อ่านมาก แล้วเอาข้อมูลมายำๆวิเคราะห์ดูความเป็นไปได้กับลูกเราว่ามีโอกาสมากน้อยขนาดไหน บางสาขาวิชาเราก็พอรู้อยู่แล้ว บางสาขาวิชามันก็ต้องหาข้อมูลกันหน่อย และ บางสาขาวิชาก็ใช้ความพยายามอย่างสูงในการหาข้อมูล ก่อนจะมานั่งคุยกับลูกแบบอ้อมๆ
กลุ่มสาขาวิชาที่คิดว่าคุยกับลูกพอจะรู้เรื่อง 5 5 5 และดูว่า มันน่าจะมีอนาคตอยู่ได้บ้างนะ
- Data Scientist
- Logistic Management
- Actuary
- Artificial Intelligence (AI)
- Digital Marketing
- Sport Science (วิทยาศาสตร์การกีฬา)
- computer engineering
- innovative digital computing . . .
- ฯลฯ + etc.
เอ๊ยยยย . . . ทำไมมันมาสายแนวทาง computer หมดเลยหงะ เดี๋ยวก็ได้ตกงานหรอก 5 5 5 อาจจะเป็นเพราะว่าครอบครัวเรามาสายงานอาชีพนี้เป็นหลักละมั้ง แต่เดี๋ยวจะค่อยๆว่ากันทีละสาขาวิชาชีพ จำได้ว่าได้เคยเขียนไปแล้วอาชีพหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนั้นเขียนแบบยังไม่ค่อยรู้อะไรมาก(ตอนนี้ก็ไม่ได้รู้อะไรมากเหมือนเดิม) นั่นก็คือ
อาชีพ Actuary นักคณิตศาสตร์ประกันภัย คืออะไรหรอ?
เอางี้ละกัน เดี๋ยวจะหาด้วยว่า ในสาขาวิชาชีพนั้นๆ มีเปิดเรียนเปิดสอนที่ไหนบ้างในระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย
อาชีพอื่นๆ?
ใครอยากให้ช่วยหาวิชาชีพไหนก็บอกได้นะครับ แต่ความรู้เท่าหางอึ่งแบบผมก็จะพยายามขวนขวายเอามาเท่าที่จะเข้าใจได้ จริงๆแล้ว อย่างที่บอกเด็กๆต้องมีแนวทางการเดินของตัวเองบ้างในระดับหนึ่ง ที่เคยเขียนไปครั้งที่แล้วตอนนั้นผมก็ให้ลูกมองมุมกว้างๆว่า ชอบอะไรบ้าง 3-4 อย่าง ให้ลองปักธงมา ซึ่งนับเป็นโชคดีที่ 4 ธงที่ปักมาเป็นไปในแนวทางเดียวกันหมด นั่นก็คือต้องเรียน ม.ปลายสายวิทย์
แต่มาช่วงเวลานี้ เริ่มก้าวเข้าสู่ มอปลายแล้ว ก็ต้องเริ่มมาดูในเชิงลึกต่อไปแล้วว่า
- ธงที่เคยปักนั้น . . . มันใช่หรือไม่
- ธงที่เคยปักนั้น . . . ถ้าจะหยิบมาสักอันนึง อยากจะหยิบอะไรก่อน ทั้งนี้เพื่อที่ว่าจะได้มองดูว่าจะต้องเน้นหนักไปทางไหนอย่างไร จะได้เตรียมตัวถูก
อย่างที่เคยบอกว่า การเตรียมตัวที่ดีเป็นการเลือกอาชีพอย่างหนึ่งเลย ถ้าเราเตรียมตัวมาดี เราก็จะสามารถเลือกสาขาวิชาตามที่เราชอบได้ แต่ถ้าเราไม่ได้เตรียมตัวมาดีพอ สาขาวิชาเหล่านั้นอาจจะเป็นคนเลือกเราแทนได้ (อยู่ในภาวะ … เรียนคณะนี้ก็ได้ฟ๊ะ คะแนนมีแค่นี้เอง . . . ใน TCAS รอบหลังๆด้วย)
ซึ่งสายอาชีพต่างๆ สำหรับเด็กท่านอื่นๆ ก็ยังมีทางเลือกอีกมากมาย ลองสืบหาดูครับ
ใน post ถัดไป จะขอเขียนถึงเรื่องสายอาชีพ Data Scientist ก่อนด้วยเหตุผลชอบเป็นการส่วนตัว ถึงจะไม่รู้จักมาก่อน แฮะๆ เพราะอยากรู้อยากเห็นว่ามันคืออะไร ก็เลยไปหามานั่งคุยกับลูก
และทุกครั้งที่คุยกับลูก ก็จะรู้สึกดีมากๆเมื่อมีคำถามที่หลุดออกมาจากปากลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะในเชิงสงสัย ถกเถียง ฯลฯ แต่ทุกอย่างมีค่าสำหรับเรา เพราะทำให้เราเข้าใจและรู้สิ่งที่อยู่ในใจลูกมากยิ่งขึ้น เรื่องไหนที่เราตอบไม่ได้ก็ให้ลูกไปหาข้อมูลมา แหละแน่นอนเราก็ต้องทำการบ้านด้วย โอกาสหน้าที่เหมาะสมจะได้วกวนกลับมาคุยกันในเรื่องที่ติดค้างต่อ . . .
เอาหมาดๆเลย เมื่อวานนี้ลูกก็มาถามเรื่องๆหนึ่ง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพล(ข้อมูล)มาจากครูที่โรงเรียน และเขาก็มีความสนใจขึ้นมาด้วย ด้วยคำถามที่ออกมาว่า
- ต้องเรียนสาขาวิชาอะไร? ที่ไหน?
- จบแล้วไปทำงานอะไร?
- ชีวิตการทำงานเป็นอย่างไร?
ซึ่งผมก็ยอมรับเลยว่า ในบางครั้งเราอาจจะมี bias กับอาชีพนี้บ้าง(หมายถึงชีวิตการทำงาน เมื่อพยายาม match กับ lifestyle ของลูกเรา) ก็อาจจะมีการแนะนำที่ bias ไป้วยจริงๆ
เมื่อวานไปนั่งฟังงาน Open House ของ ignite by Ondemand ก็เป็นการบังเอิญว่า วิทยากรที่เป็นศิษย์เก่าของ Ondemand ปัจจุบันเรียนแพทย์รามาปี 2 ที่ทาง ignite เชิญมาพูด ได้พูดถึง wording ที่ผมพูดและคุยกับลูกบ่อยๆนั่นคือคำว่า “ให้มองว่า ชีวิตที่เหลืออยู่ของเราทั้งหมดภายหลังจบออกไปจากรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว เราอยากจะเป็นอย่างไร หรือ อยากจะให้เป็นอย่างไร เพราะนั่นคือ อีกอย่างน้อย 2 ใน 3 ของชีวิตเราเลยทีเดียว” (อันนี้เป็นคำที่ผมพูดกับลูก แต่ที่วิทยากรคนนั้นพูดก็ทำนองเดียวกันนี้แหละครับ) ซึ่งการที่ลูกได้ฟังจากคนภายนอกพูด ในช่วงภาวะที่เขาก็กำลังตั้งใจฟังใน event นั้นอย่างจริงจัง ทำให้ผมรู้สึกและสังเกตุเห็นได้ว่า เขาให้ความสำคัญกับคำคำนี้อย่างจริงจัง