English Program

EP – English Program :: ความเข้าใจผิดๆกับโครงการนี้ !

English Program 

English Program ตามความเข้าใจ ความนึกคิดของแต่ละคน อาจจะเข้าใจตรงกัน คิดเหมือนกัน หรือว่าเข้าใจต่างกัน คิดคนละแบบ ย่อมเป็นไปได้ทั้งนั้น แต่จากการได้สัมผัสพูดคุยกับผู้ปกครองหลายๆท่าน และจากการที่ผู้ปกครองสอบถามมาตลอดในช่วงปีสองปีนี้  เข้าใจว่า หลายๆท่านยังเข้าใจไม่เหมือนผม …. เออ … แล้วไอที่ผมเข้าใจนี่ มันถูกหรือมันผิด? ผมยอมรับเลยครับว่าผมเองก็ไม่ได้รู้จริงหรอกครับ ทุกอย่างได้มาจากการสัมผัส การอ่าน การฟัง แล้วจับมากระเดียด เรียบเรียงเป็นความคิดของตัวเอง … เอาไปผสมผสานกับความคิดของท่าน แล้วเลือกเอาสิ่งที่ถูกต้องที่สุดนะครับ

และผมก็เชื่อว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ รู้ดีและรู้มากกว่าผมอีก แฮะๆ ถือว่าเป็นการแชร์ความรู้ให้กับคนที่ยังไม่ทราบนะครับ …

หลายๆท่านเข้าใจว่า English Program เป็นเช่นนี้

  • เรียนยากเหมือนห้องกิฟ แล้วเรียนเป็นภาษาอังกฤษด้วย
  • EP ก็คือห้องศิลป์ในสมัยก่อนนั่นแหละ เมื่อก่อนมีศิลป์คำนวน ศิลป์ภาษา ศิลป์ฯลฯ
  • EP ก็เหมือน โรงเรียน Inter แต่มีเรียนวิชาภาษาไทยด้วย
  • จบอีพี ไปต่อมหาวิทยาลัยคณะอะไรได้บ้าง? อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ อะไรประมาณนั้นหรอ
  • ฯลฯ

ซึ่งบางอย่างก็ถูก บางเรื่องก็ผิด อย่างเช่นเรียนเหมือนกิฟแต่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ อันนี้ก็สมควรคิดไปในแนวนั้นหละครับ เพราะว่า ตอนสอบเข้า ดันทะลึ่งไปใช้ข้อสอบเดียวกันกับห้องกิฟ(ของสามเสน) ยากก็ยากเหมือนกัน ดังนั้นจะไม่ให้คิดไปอย่างนั้นได้อย่างไรหละ

ดังนั้น ต้องบอกว่า EP ไม่ได้เรียนหลักสูตรที่ยากเหมือนห้องกิฟ เรียนชิลๆ แต่จะต้องเจอะเจอกับคำศัพท์ทางด้านการศึกษาและอื่นๆเยอะมาก ในทุกๆวันของการเรียน

จะบอกว่า EP คือห้องศิลป์ ก็ไม่ใช่นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดูตอน ม.ปลาย จะเห็นชัดเจนว่า EP เขาก็มีแยกห้องเป็น ห้องวิทย์-คณิต ห้องคณิต ห้องภาษาต่างประเทศ เหมือนๆกับภาคสามัญ และทางฝั่งสามัญเอง เขาก็มีห้องวิทย์คณิต ศิลป์คำนวน ศิลป์ภาษาของเขาอยู่แล้วด้วย


แล้ว EP คือโครงการเช่นไร?

เออ… นั่นนะสิ พูดไปพูดมาก็ชักจะ งง งง บางครั้งก็พูดเอง งง เอง

เอาที่ง่ายๆเลย ที่ผมฟังมาจากคุณครูที่โรงเรียนพูดบ่อยๆ ฟังครั้งเดียว จบ !

โครงการ English Program ก็คือ โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ

 

ชัดเจนนะครับ การเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก็หมายถึง การเรียนเหมือนหลักสูตรสามัญนั่นเอง เพียงแต่สอนเป็นภาษาอังกฤษยกเว้นในบางรายวิชาเช่น วิชาภาษาไทย แนะแนว ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง(อ้างอิงจากของสามเสน นะครับ จะมีแตกต่างกันไปบ้างในบางรายวิชาสำหรับ EP ของแต่ละโรงเรียน)

ดังนั้น … หลักสูตร ความยากง่าย ไม่ได้แตกต่างไปจากห้องสามัญที่เรียนกันเลยครับ แต่จะแตกต่างกันแน่ๆกับห้องเรียนพิเศษ MSEP – ESC หรือห้อง Gifted นั่นเอง

เอ่อ …. แล้วไมไม่ไปเหมือนกับ Inter หรอ …. ก็ตามที่บอกครับ หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการไทย ซึ่งไม่เหมือนของโรงเรียน Inter ต่างๆแน่นอนครับ

แต่ … เห็นมีโชว์หนังสือกันใหญ่ หลายโรงเรียนเลย บางโรงเรียนก็ใช้หนังสือของ Singapore, USA, UK ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็ไม่ได้เรียนหน้าต่อหน้า บรรทัดต่อบรรทัด ตามหนังสือเหล่านั้น  เป็นการเลือกเรียนตามบทหรือหัวข้อที่มันตรงตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเหตุผลหลักๆ เท่าที่ผมพอสังเกตุได้ก็คือ เวลาเอาหนังสือหนังหาภาษาไทย มาแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว มันดูแปล่งๆ มากมายย สู้ไปเอาหนังสือเจ้าของภาษามาใช้เลยมันจะไม่ง่ายกว่าหรอ (หนังสือสวยด้วย 5 5 5) แต่เท่าที่ผมลองอ่านดู หนังสือของเขาจะมีการสรุป หรือมี Hint ที่น่าสนใจจริงๆ

เอ๊ะ แล้วทำไมเด็ก EP หลายคนเก่งๆได้ไปเป็นตัวแทนประเทศแข่งโอลิมปิค สอบเข้าเตรียม เข้าเอ็มวิด เควิด ได้กันเยอะแยะทุกปีเลยหละ? …. อย่างที่บอกละครับว่า ต้นทุนเด็กๆ ไม่เท่ากัน เด็กเก่งๆหลายคนก็มีต้นทุนที่หนาแน่นมาตั้งแต่ระดับประถมแล้ว และที่สำคัญ เด็กเก่งๆเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กห้อง EP ห้องกิฟ ห้องสามัญ …..โดยมากแล้วก็ไปร่วมเรียนห้องเดียวกันตามสยามหรือพญาไทอีกนั่นแหละ …


สรุป

สรุปกันแบบง่ายๆเลยครับ ไม่ต้องคิดอะไรมาก EP ก็คือการเรียนตามหลักสูตรสามัญ แต่การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (ยกเว้นในบางรายวิชา)

จบ…. นะครับ


ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ

สรุปข้อสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2560

เรื่องเรียนของลูก :: สรุปแนวข้อสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนต่างๆ

EP SAMSEN 2560 คะแนนสูงสุด ต่ำสุด ชายกี่คน หญิงกี่คน

เรื่องเรียนของลูก :: รวบรวมบทความ “สอบเข้า EP สามเสน”

สอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ทำไม…ข้อสอบยากกว่าที่เรียนในห้องเรียนไปเยอะ จนเด็กๆต้องไปหาที่เรียนพิเศษกัน