เรื่องเรียนของลูก :: ตอนที่ 2 – จะสอบเข้า EP สามเสน … ต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมมั๊ย? เรียนที่ไหนดี?

aaIMG_0927

ข่าวสารเรื่องการสอบของสามเสน ผมจะมา update ให้ที่ เพจนี้นะครับ เพราะยังไงผมก็ไปขลุกอยู่ที่โรงเรียนทุกวันอยู่แล้ว

https://www.facebook.com/myRemainingTime


ความเดิมตอนที่แล้ว

เรื่องเรียนของลูก :: ตอนที่ 1 – ทำไมถึงเลือกให้ลูกสอบเข้า EP สามเสน

จากตอนแรก ที่เราได้เลือกกันแล้วว่าจะไปสอบกันที่ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย English Program อันเป็นเหตุทำให้เราต้องทำการบ้านเพิ่มเติมว่า เขาจะสอบวิชาอะไรกันบ้าง ช่วงเวลานั้น ในหัวคิดอยู่ว่า น่าจะสอบสามวิชา นั่นก็คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ไม่น่าจะมีวิชาภาษาไทยและสังคม เพราะถ้ามีสองวิชาหลังนี่ ลูกเรา เอวัง แน่ๆ 

แต่หลังจากสืบหาข้อมูลแล้ว ปรากฏว่า สำหรับโครงการ EP สอบแค่ 2 วิชาเท่านั้นคือ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเหมือนกันทั้ง โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยและโยธินบูรณะ

ก็ยังหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า แล้วแนวการสอบเป็นอย่างไรบ้าง Search หาจากอากู๋ google นั่นแหละครับ ก็จะมีรุ่นพี่ๆที่เคยสอบเข้า EP สามเสน ให้ข้อมูลในการตอบคำถามเด็กในรุ่นต่อๆมา เราก็เข้าไปอ่าน

  • บ้างก็ว่า คณิตศาสตร์โจทย์เป็นภาษาอังกฤษ จ๊ากกกก แปลไม่ออก
  • บ้างก็ว่า คณิตศาสตร์ให้แสดงวิธีทำ โหดมาก
  • บ้างก็ว่า คณิตศาสตร์มาแนวข้อสอบ สสวท. เลย เตรียมโดนเชือดได้แล้ว
  • บ้างก็ว่า ภาษาอังกฤษ ยากมากนึกว่าข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  • บรา ๆ ๆ

ไอ้ย๊ะ….. มีแต่คำขู่ทั้งนั้นเลย แต่ที่แน่ๆ น่าจะมีรุ่นนึงที่ทางโรงเรียนออกข้อสอบเองและเป็นภาษาอังกฤษ เพราะวันที่ไปสอบ Pretest เขามีงาน EP Samsen Open House 2015 ด้วย ผมเดินไปถามเด็ก EP ที่กำลัง present งานอยู่ น่าจะ ม.2 ตอนนั้นมั้งครับ ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า คณิตศาสตร์ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ … เอาละหว่า ….. สรุป..น่าจะเป็นปีนั้นปีเดียวละมั้งที่เจอข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ โชคดีล๊ะหนูๆ ดีไม่เจอข้อสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย แล้วจะหนาว 5 5 5

จนสุดท้ายราได้ข้อสรุปลางๆว่า

  • คณิตศาสตร์ยากแน่ๆ มาแนว สสวท.
  • ภาษาอังกฤษ ก็ยากเหมือนกัน ต้องรู้ศัพท์เยอะๆ แกรมม่าแน่นๆ

(ส่วนที่สอบจริงเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เดี๋ยวเราไปดูตอน Post ต่อๆไปกันนะครับว่า ออกมาเป็นแนวทางอย่างไร เดี๋ยวจะเอามาเล่าให้ฟัง)

จากข้อมูลเหล่านั้นเราก็มานั่งวิเคราะห์ต่อว่า ถ้าจากข้อมูลนี้ ลูกเราไหวมั๊ย ที่จะไปสอบสู้กับเขา

ดูแล้วเรามั่นใจลยว่า แน่นอน …… ไม่ไหว

ภาษาอังกฤษ ยังพอลุ้นได้ แต่คณิตศาสตร์ คงยาก

ก็เลยมาถึงคำถามต่อไปว่า แล้วจะทำอย่างไร เราสอนเองได้มั๊ย?

ตอบได้อย่างทันทีทันควันเลยว่า ได้สิ ทำไมจะไม่ได้ ประหยัดด้วย แต่จะสอนได้เกินวันแรกหรือปล่าวไม่รู้น๊ะ !!!


แน่นอนเลย สำหรับบางครอบครัว จะถือว่าเป็นเรื่องยากมาก ที่จะมากำกับดูแลสอนลูก จะเชื่อฟัง จะมีวินัยขนาดไหน นี่ยังไม่รวมถึงว่า จะมีความรู้ความสามารถที่จะติวลูกด้วยตนเองด้วยหรือปล่าว !!!

แต่สำหรับบางครอบครัว ลูกน่ารัก ว่านอนสอนง่าย พ่อแม่มีความรู้ ความสามารถ ที่จะติวลูกได้ด้วยตนเอง ก็ถือว่าเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดแล้วครับ ลูกไม่เหนื่อยไม่ต้องเดินทาง (แต่พ่อแม่จะเหนื่อยหรือปล่าวนี่สุดหยั่งคิด)

และที่สุดยอดเลยก็คือ ครอบครัวที่มีลูกไขว่คว้าด้วยตนเอง โดยพ่อแม่ไม่ต้องลงมือ เดี๋ยวลูกจัดการเองทุกอย่าง

ของเราเองตอบได้เลยว่า “ไม่สามารถ”  ทั้งในแง่จะทำให้ลูกมีสมาธิมานั่งเรียนรู้ มีวินัย และ ความพร้อมของตัวเราเองด้วยที่จะช่วยสอนลูก มันคงไม่ work แน่ๆ แต่ก็ถือว่าโชคดีในระดับหนึ่ง ที่ที่โรงเรียน มีครูที่สอนภาษาอังกฤษ และ คณิตศาสตร์ ที่ดี

ก็ให้ลูกได้เรียนเพิ่มเติมกับคุณครูในช่วงเวลาที่มีโอกาสเหมาะ บางวันครูก็นัดเด็กๆมาเรียนกันตอนเช้าก่อนเข้าแถว บางวันก็เรียนตอนเย็นหลังเลิกเรียน ขอบคุณ ครูนก และ ครูออย ของโครงการ English Program โรงเรียนโชคชัยรังสิต จริงๆครับ ที่ใส่ใจฟูมฟักเด็กๆในหลายๆรุ่นที่จบออกไป

สรุป ไม่ต้องโลกสวยเลยครับ ยอมรับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ และทำสถานะที่เป็นอยู่ให้ถูกต้องตามความคิดของเราเอง

 …..ก็หาที่ติวให้ลูก !!!


แล้วจะไปเรียนที่ไหนหรอ? ปัญหาก็ตามมาจนได้ บ้านนอกแบบเรา ห่างไกลวงการศึกษาก็ต้องอาศัย อากู๋ google อีกนั่นแหละ

จนมาได้ข้อมูลว่าลองไปที่ครูอ๊อบตรงอาคารพญาไท … เอ๊าไปก็ไป ก็ไปดู โชคดีที่เป็นช่วงเวลาที่เขากำลังจะเริ่มเปิดจองคอร์สในช่วงถัดไป เราก็เลยตามน้ำกันเลย  บอลล์จึงได้ไปเรียน

เรียนไปก็นานพอสมควร แต่เรามาสังเกตุเห็นว่า เหมือนกับว่าที่นี่ไม่เหมาะกับลูกเราแฮะ เพราะดูจากในเอกสารหนังสือ รูปการ์ตูนเยอะมากเลย แสดงว่า นั่งวาดรูปเกือบตลอด อิอิ อันที่จริงตัวเราเองด้วยหละส่วนนึง ที่ไม่ได้ใส่ใจลูกว่าเข้าไปเรียนอะไรมาบ้าง ไม่ได้ตรวจทานดู

ณ เวลานั้น ต้องยอมรับว่าความตั้งใจ ความมุ่งมั่นของน้องบอลล์ ยังมีน้อยมาก….. แต่ที่นี่เป็นสถานที่ติวที่ดีมากแห่งหนึ่ง มีห้องเรียนแบบทั่วไปเพื่อสอบเข้า และมีห้องพิเศษสำหรับเด็กหัวกะทิระดับจีเนียสทั้งหลาย เรียกห้องโอลิมปิค(ลูกเรายังกีฬาสีของโรงเรียนอยู่ ต้องค่อยๆไป) คือบอกตามตรงว่า พวกเด็กเหรียญรางวัลต่างๆมาเรียนที่นี่กันเยอะมาก  สำหรับน้องๆเก่งๆ มุ่งมั่นสอบแข่งขันตามสนามต่างๆ ทั้ง สสวท. โอลิมปิค ฯลฯ(แปลว่าไม่รู้ว่าเขามีสอบแข่งขันอะไรบ้าง) และสอบเข้าโรงเรียนดีๆดังๆโครงการเด่นๆ เขาก็จะมาเรียนห้องเรียนพิเศษห้องโอลิมปิค ที่สำคัญ มีสมาธิ และ รับผิดชอบตัวเองได้ดี  

แต่ดูเหมือนช่วงเวลานั้น ลูกเรายังไม่สามารถทำได้ และเราเองก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า ในห้องเรียนลูกตั้งใจเรียน เข้าใจ ได้มากน้อยขนาดไหน ในห้องเด็กก็จะค่อนข้างเยอะ อีกอย่าง เป็นความผิดของเราเองที่ไม่ค่อยได้ติดตามผลการเรียนของลูกว่า เข้าไปเรียนที่นี่เขาเรียนอะไรบ้าง คือแบบว่าค่อนข้างปล่อย นึกว่าส่งมาติวแล้ว น่าจะจบน๊ะ  (แต่ไม่ใช่เลย ……ตอนนั้น พ่อแม่ก็หย่อนยานเช่นกัน 555)

aaIMG_0928


หาทางออกใหม่ …. ถามผู้ปกครองคนอื่นๆที่โรงเรียนที่ลูกเรียนอยู่บ้าง เพื่อนบ้าง ไรบ้าง

จนได้ชื่อที่กวดวิชามาอีกที่นึง จากรุ่นพี่ของบอลล์ที่เคยเรียน ก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดไหม

“บ้านครูมด”

aaIMG_3399

ได้ยินชื่อครั้งแรกก็อาจจะ งง งง นิดๆนะครับ เพราะส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีใครเคยได้ยินมาก่อน ตอนนั้นนึกอยู่ในใจ บ้านครูมด ชื่อน่ารักๆนี่  อนุบาลเข้า ป.1 หรือปล่าว?  

แต่เราก็ไป ตะลอนๆหาจนเจอ อยู่แถวบางโพ แถวโรงเรียนโยธินบูรณะนั่นเอง  …. จนกระทั่งสามารถจองคอร์สเรียนได้ จึงย้ายมาเรียนที่นี่ตอน ป.6 พอดี

มีเวลา 1 ปี ที่จะฟูมฟักหักด่าน … ยังไงก็ต้องเดินหน้าต่อ

มาในภายหลัง มีเพื่อนๆและผู้ปกครองหลายท่านถามว่า จะให้ลูกเข้าสามเสน ทำไมไม่ไปติวที่ “ครูตุ่ย” เพราะเขาว่ากันว่า
ถ้าอยากเข้า EP โยธินมาบ้านครูมด แต่ถ้าอยากเข้า EP สามเสนไปครูตุ่ย

เอาแล้วไง เราก็ไม่เคยได้ยินชื่อครูตุ่ยมาเหมือนกันกับที่ไม่เคยได้ยินชื่อบ้านครูมดในตอนนั้น

ถ้าเทียบเอาง่ายๆก็คือ (อันนี้มาเรียบเรียงภายหลังจากสอบแล้ว)

เด็กจากครูตุ่ยมาสอบสามเสนส่วนใหญ่ ไปสอบโยธินนิดหน่อย

เด็กบ้านครูมดมาสอบโยธินส่วนใหญ่ ไปสอบสามเสนนิดหน่อย

อัตราการสอบติดก็เป็นไปตามอัตราจำนวนนักเรียนที่ไปสอบนั่นแหละครับ ดีน๊ะที่สอบวันเดียวกัน ดังนั้นเด็กต้องเลือกสอบโรงเรียนที่ชอบเลยครับที่ใดที่หนึ่ง อย่าให้เด็กทั้งสองที่ไปสอบที่เดียวกันทั้งหมด คงสนุกน่าดู 5 5 5

ในเมื่ออัตราส่วนการสอบได้ก็พอๆกัน แต่คนละที่… อย่าไปคิดให้เมื่อยตุ้มเลย เพราะทั้งสองสถาบันด้านวิชาการผมว่าไปแนวเดียวกัน (แต่ผมเทียบจากผลสอบปีนี้ที่สถาบันต่างๆบอกว่า เด็กใครติดที่ไหนบ้างทั้ง Gifted, EP ห้องพิเศษอื่นๆ  มีเด็กที่ชื่อซ้ำทั้งครูตุ่ยและครูอ๊อบหลายคน แสดงว่าเด็กรักเรียนจริงๆเรียนทั้งสองที่เลย โดยเฉพาะคนที่ได้อันดับต้นๆ อาจจะพูดได้ว่าเด็กบางคนเรียนกวดวิชาหลายที่ก็มีเหมือนกัน ….หรือว่าบางคนเคยเรียนที่นึง แล้วออกมาเรียนอีกที่นึง ชื่อก็เลยไปโผล่ทั้งสองกวดวิชา น้องบอลล์ก็เช่นเดียวกันที่มีชื่อสองกวดวิชา)

แต่ในเมื่อเราเลือกที่จะเรียนบ้านครูมดแล้ว  เราไม่มีเวลาที่จะถอยหลังกลับไปอีกแล้ว …เราจะมุ่งมั่นพุ่งชนเป้าหมายให้ได้ (จ่ายตังส์ไปแล้วด้วย 5 5 5)

จริงๆแล้ว เนื้อหาหลักสูตรการสอน ไม่ได้ต่างกันมากมาย อาจจะต่างกันที่วิธีการ
เอาเป็นว่า …..
“ภาษาอังกฤษต้องแน่น เลขแนว สสวท. จบมั๊ย !!!”


aaIMG_0975

สุดท้าย … เราถึงได้รู้ว่า เราได้เลือกสถานที่ที่ถูกกับตัวลูกจริงๆ

http://baankrumod.com/

ผมไม่ได้มาโฆษณาให้สถาบันเขานะครับ เพียงแต่ผมมาเล่าให้ฟังว่า 1 ปีสุดท้ายที่ผมเอาลูกมาฝากให้ครูที่นี่ฟูมฟัก มันเป็นอย่างไรบ้าง บอกตามตรงเลยนะครับว่า ถ้าหากว่าลูกผมสอบไม่ติด ผมก็จะไม่เสียใจเลย เพราะสิ่งที่ลูกได้รับติดตัวไปนั้น มันมีค่ามากกว่า คำว่า “สอบติด” หรือ “สอบไม่ติด” เสียอีก

ball

บรรยากาศที่นี่ ไม่เหมือนที่ตึกพญาไทเลย ไม่มีเอาเสื่อมาปู เอาโต๊ะมากาง เปลนอนมานอน ผมยังจำได้มั่นเลยกับบรรยากาศที่เห็นที่ตึกพญาไท ในวันแรกที่ไป ทางเดินแทบไม่มี เสื่อปูจองพื้นเกือบหมด (สมัยก่อนยังไม่ได้ห้ามปูเสื่อ) หมอนผ้าห่มพร้อม สำรับอาหาร โต๊ะญี่ป่น โน๊ตบุ๊ค แทบเล็ท ต่อมาในภายหลังเขาห้ามปูเสื่อ ก็มีเอาโต๊ะแบบพับได้พร้อมเก้าอี้มากาง บางคนมีผ้าปูโต๊ะมาด้วยลายลูกไม้สวยงาม ใครมาก่อนก็จองมุมดีดีก่อน บางคนนั่งนานแล้วโต๊ะเก้าอี้ขามันพับลง ล้มระเนระนาด …. ที่บอกมานี้ อยากจะให้เด็กๆรู้ว่าผู้ปกครองต้องลงทุน ต้องเหนื่อยยากขนาดไหน เพื่อให้ลูกๆได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี(ตามระบบการศึกษาแบบไทยๆ)

มาเรียนที่บ้านครูมด … น้องบอลล์เปลี่ยนไปมากพอสมควร กับความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น มุมานะ (ที่ไม่เคยมีมาก่อน) วิธีการเรียนการสอนที่นี่ผสมผสานกลมกลืนไปหมด พี่สอนน้อง ครูสอนศิษย์ มีทีมงานครูผู้ช่วยโดยรับจากรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน  มีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของเด็กแต่ละคนในแต่ละวิชา ทำให้เรารู้ว่าควรจะต้องแก้ไขหรือเน้นที่ไหนอย่างไร ในแต่ละช่วงเวลาที่เหลือ

ที่เหลือ ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถจริงๆของลูกๆแล้ว ว่าจะทำได้มากน้อยขนาดไหน


2015-07-13_19-40-36

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ผมขออนุญาติทีมงานครูมด ตัดเอารูปมาแปะไว้ละกัน นะครับ เผื่อคนถามผมมาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาตอบ

อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ที่เห็นหนุ่มหล่อสาวสวย คือครูที่สอนน้องๆเพื่อสอบเข้าโยธินสามเสนนี่แหละครับ


แต่ที่บ้านครูมดนี้ มีหลายอย่างที่ไม่นึกไม่คิดมาก่อนเลยว่าจะได้เห็นจากสถาบันกวดวิชา

ที่นี่ไม่ได้แค่ตั้งหน้าตั้งตาสอนหนังสือ แต่สอนให้เด็กรู้รักสามัคคีในหมู่เพื่อนๆ รู้กตัญญูต่อครูและพ่อแม่ รู้จักความเป็นพี่เป็นน้อง หลายครั้งที่เด็กร้องไห้ หลายครั้งที่ผู้ปกครองน้ำตาซึม (ในทางที่ดีนะครับ)

มีโครงการต่างๆมากมายที่เราทึ่งในความคิดแนวคิดของครูรุ่นใหม่เหล่านี้

  • ให้รุ่นพี่(ที่เคยสอบเข้า EP, Gifted โยธิน และ สามเสน) มาสอนมาแนะนำเพิ่มเติมให้กับรุ่นน้อง ซึ่งรุ่นพี่ๆก็เต็มใจมากันพร้อมทุกเมื่อ
  • มีการเข้าค่ายที่ฝึกทั้งวิชาการ การใช้ชีวิต ความอดทน ละลายความเป็นลูกคุณหนูให้หมดไป ทุกครั้งที่มีค่าย ลูกเรียกร้องขอไปเข้าค่าย ถึงแม้จะรู้ว่ามันทั้งลำบาก ต้องอดทน ขยัน มีวินัย รู้รักสามัคคี ทำงานเป็นทีม นอนดึกตื่นเช้า ฯลฯ (ผมว่าเรื่องแบบนี้ หาไม่ค่อยได้จากโรงเรียนกวดวิชาอื่นๆ เท่าที่รู้ผมยังไม่เคยได้ยิน)
  • ในบางช่วง มีการไปทัศนศึกษา ไปวัดไหว้พระ ทำสมาธิ ไปดำนาและกิจกรรมอื่นๆที่บ้านครูธานี ฯลฯ (บางโรงเรียนจริงๆ ยังไม่พาไปกันเลย)
  • วันแม่ก็มีการอบรมทำกิจกรรมที่ทำให้เด็กต้องทราบซึ้งและรู้จักความกตัญญู เลี้ยงมาตั้งนานแทบจะไม่เคยเห็นลูกร้องไห้เลย มาเห็นลูกร้องไห้ก็วันนี้นี่แหละ
  • มีนัดสอนเพิ่ม ติวเพิ่ม โดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโค้งสุดท้าย เดี๋ยวผมเล่าให้ฟังตอน “เดือนเดือดเดือนสุดท้าย”
  • มีการเชิญครูจากโรงเรียนดังๆ มาให้ความรู้เพิ่มเติม
  • ฯลฯ

นี่เอาเฉพาะที่ผมเห็นและสัมผัสมาด้วยตนเอง นะครับ


ผมจำได้ว่า ในช่วงวันแรกๆที่ให้บอลล์ มาเรียนที่นี่ ก็จะมีการสอบวัดระดับความรู้ของเด็กๆก่อน ซึ่งจะทำให้ พ่อแม่ – เด็ก – ครู รับรู้ตรงกันว่า ณ ตอนนั้น ลูกของเรามีความสามารถประมาณไหน จากข้อสอบที่ BKMA เตรียมไว้ให้

เพื่อใช้ในการพูดคุยพิจารณากันว่า จากผลการสอบนั้น

  • ลูกของเราเหมาะสมกับ โครงการพิเศษ EP หรือ Gifted ที่เราตั้งความฝันว่าจะให้ลูกสอบเข้ามั๊ย
  • ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรตรงไหน วิชาไหนอ่อนเรื่องอะไร
  • ถ้าไม่ไหวจริงๆ ลองเปลี่ยนเป้าหมายมั้ย ทั้งนี้เพราะว่า การเรียนการสอนที่แตกต่างกัน และความยากง่ายก็แตกต
    • EP จะเรียนแค่ 2 วิชา คณิตศาสตร์กับภาษาอังกฤษ
    • Gifted จะเรียน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ
    • Basic หรือ สามัญ ก็จะครอบคลุม 5 วิชาที่จะต้องใช้สอบ

ซึ่ง บอลล์ ก็ทำได้ประมาณกลางๆ อยู่ในเกณฑ์ที่มีสิทธิ์ลุ้นได้ทั้ง EP สามเสน และ EP โยธิน ทำให้มีพลังในการสร้างความมุ่งมั่นกันต่อไป

จริงๆครูก็จะมีแนะนำนะครับ ถ้าผลทดสอบออกมาดีก็จะมุ่งหน้าไป EP สามเสนต่อ แต่ถ้าไม่ค่อยดีจะเปลี่ยนเป้ามา EP โยธินดีไหม แต่ด้วยความที่เรามุ่งมั่นเพียงแค่ EP สามเสนที่เดียวก็ไม่ต้องคิดอะไรละ เดินหน้าต่อไป

ในช่วงเวลาต่อๆมา ผมก็สังเกตุเห็นว่า การเรียนการสอนที่นี่ มีกุศโลบายหลายอย่างที่ทำให้เด็กเรียนได้อย่างสนุกสนาน ตั้งใจ มีเป้าหมายชัดเจน รู้สถานะตัวเองชัดเจน แถมเรียนไปกิจกรรมก็เยอะอีก เรียนๆเล่นๆสนุกสนานแต่ได้วิชาการ ได้สุขภาพจิตที่ดี


จนกระทั่งมาช่วงหลังปีใหม่ มีการสอบวัดระดับครั้งสุดท้าย เพื่อดูว่า ณ เวลานั้น ลูกๆ อยู่ในระดับไหนแล้วบ้าง
(ช่วงนี้เป็นต้นไป ผมถือว่าเป็นช่วงที่ตรึงเครียดที่สุดของสามฝ่าย เด็ก – ผู้ปกครอง – ครู)

ซึ่งข้อสอบก็เป็นแนวข้อสอบที่ใกล้เคียงกับข้อสอบเข้าของทั้งสองโรงเรียน แต่อาจจะยากกว่าหน่อย

ผลการสอบที่ออกมา ทำให้เด็กร้องไห้กันเป็นแถว เมื่อคะแนนไม่ได้ออกมาอย่างที่คาดคิดกัน ถ้าเดินเข้าห้องสอบแล้วออกมาแบบนี้ สอบได้ไม่กี่คนเอง… น้อยมาก (ถือว่าเป็นกุศโลบายที่ทำให้เด็กมุมานะเพิ่มขึ้นในช่วงสองเดือนที่เหลือ)

และหลังจากผลสอบออกมา ครูก็จะเรียกผู้ปกครองมาพบ อธิบายและให้ดูข้อสอบที่ลูกทำเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งชี้แจงว่าในวิชาภาษาอังกฤษ ลูกต้องไปเน้นในเรื่องไหนเพิ่มเติม ในวิชาคณิตศาสตร์ลูกอ่อนเรื่องอะไร ทำให้ทั้งทางบ้านครูมด และ ผู้ปกครองต้องช่วยกันทำการบ้าน เพื่อช่วยกันในช่วงที่เหลือสองเดือนกันต่อไป

ของน้องบอลล์ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเด็กคนอื่นมากมายนัก ครูมดที่รับผิดชอบเรื่องสอนภาษาอังกฤษ จะบอกให้เรากลับไปช่วยกันเน้นให้น้องทำโจทย์ข้อสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง …… ที่น้องยังทำได้ไม่ดี  ส่วนครูนัทรับผิดชอบคณิตศาสตร์ ก็ร่ายยาวเลย เพราะ บอลล์เองก็ไม่ค่อยถนัดคณิตศาสตร์เท่าไหร่อยู่แล้ว บางทีการที่จะไปเน้นหมดทุกเรื่องอาจจะไม่ได้ผล เราก็เลยวิเคราะห์ว่า จะเน้นเรื่องที่ออกหลายข้อหน่อย(ทางบ้านครูมดเขามีเก็บสถิติไว้ด้วย)


บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทั้งสองโรงเรียนไม่เคยให้กระดาษข้อสอบออกมาเลย ไม่เคยมีใครเอาโจทย์มาให้ทำแล้วบอกว่า นี่คือข้อสอบเก่าโยธิน นี่คือข้อสอบเก่าสามเสน … ยัง ยังไม่เห็น

แล้วครูที่นี่จะรู้ได้อย่างไรว่า แนวข้อสอบเป็นอย่างไร? ออกเรื่องไหนกี่ข้อ? ที่นี่มีคำตอบครับ 

ในวันที่สอบ หรือ หลังจากวันที่สอบ เด็กๆจะกลับมาที่ บ้านครูมด พร้อมกับจดรวบรวมความจำว่าข้อสอบมีออกอะไรอย่างไรบ้าง ซึ่งทางบ้านครูมดก็มีการเก็บรวบรวมมาทุกๆปี หลายปีแล้ว จึงทำให้สามารถเน้นวิธีการและเรื่องที่จะสอนหรือติวเข้มข้นขึ้นได้ 


บรรยากาศวันปิดค่าย เตรียมพร้อมก่อนลงสนามสอบ (ก่อนสอบ 2-3 วัน) ค่ายที่นี่นอนค้างคืนที่โรงเรียนเลยนะครับ มีกิจกรรมเชิงวิชาการและการปลุกขวัญกำลังใจ การฝึกสมาธิ ฯลฯ ก่อนลงสนามสอบจริง

คิดดูว่า ผู้ปกครองใจกล้าขนาดไหน ที่อีกสองวันจะถึงวันสอบจริงแล้ว ยอมให้เด็กๆมานอนค้างที่โรงเรียน เพื่อเข้าค่ายวิชาการและปรับสภาวะจิตใจครั้งสุดท้ายก่อนเดินเข้าห้องสอบ …. แค่คิดก็แหยงแล้ว แต่..เด็กก็มาล้นหลาม อย่างที่คาดไม่ถึงกันมาก่อน ครูหนุ่มสาวก็มาดูแลศิษย์กันอย่างเต็มที่

เฮ๊ยยยย…. นี่มันโรงเรียนกวดวิชาหรือโรงเรียนจริงๆกันฟ๊ะเนี๊ยะ

เพื่ออรรถรสในการชม ตั้งเป็น HD ได้นะครับ

ปล. ผมย้ำอยู่เสมอนะครับว่า โรงเรียนกวดวิชาแต่ละที่ก็ดีดีทั้งนั้นนะครับ แต่ที่ไหนที่เหมาะกับลูกเรา เขาเรียนแล้วมีความสุขเราก็สุขด้วย เขาเรียนแล้วได้ความรู้เราก็สุขด้วย ดูตามความสะดวกของเราด้วย และที่สำคัญ เรายังต้องทำหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ ด้วย เพราะถึงยังไงพวกเขาก็ยังเด็กอยู่ 


Post นี้พูดถึงบ้านครูมด มากหน่อยก็เพราะว่า น้องบอลล์ มาเรียนที่นี่ ก็เท่านั้นเอง อิอิ ถ้าไปเรียนที่อื่นก็คงจะพูดถึงที่นั้นๆเป็นแน่แท้
นอกจากบ้านครูมด ครูตุ่ย ครูอ๊อบ ผมก็เห็นว่ายังมีอีกมากมายหลายสถาบัน ถามเพื่อนๆบอลล์ๆที่เข้ามาเรียนที่ EP สามเสน ก็มีบางคนที่ไม่เคยติวที่ไหนเลย เพราะฉนั้น อย่างที่บอกตอนต้นแล้วครับว่า ให้ดูความพร้อมลูกเราเป็นหลัก 

ตอนต่อไปผมจะพูดถึงเรื่อง (หัวข้ออาจจะไม่ใช่แบบนี้ แต่เนื้อหารายละเอียดจะประมาณนีั้)

ตอนที่ 3 ตารางสอบออกแล้ววววว สอบแข่งขัน สอบ Pretest และ สอบเข้าจริงๆของแต่ละสถาบัน จะเลือกไปสอบอะไรที่ไหนบ้าง

ตอนที่ 4 การไปสอบ Pretest และการ Survey สถานที่ สนามสอบ ร้านอาหาร ที่จอดรถ สามเสนวิทยาลัย อันนี้ตั้งใจเตรียมความพร้อมมากๆ 

ตอนที่ 5 เดือนเดือด และ การวิเคราะห์คะแนนสอบปีก่อนๆ อัตราการแข่งขันของปีนี้ของโยธินและสามเสน ลุยโจทย์ ใช้หนังสืออะไรบ้าง(หนังสือในท้องตลาด) 

ตอนที่ 6 วันสอบจริง บรรยากาศ ข้อสอบออกอย่างไรบ้าง ยากมากขนาดไหน 

ตอนที่ 7 ผลสอบ คะแนนสูงสุดต่ำสุด แต่ละวิชา 

ตอนที่ 8 English Program Samsen Witthayalai ในมุมมองและความรู้สึกของผู้ปกครองบ้านๆแบบผม หลังจากลูกเข้ามาเรียนได้ ครึ่งเทอม


สนใจบทความเกี่ยวกับการเรียนการสอบเข้า EP สามเสน ตามไปที่ Link นี้ได้เลยครับ 

เรื่องเรียนของลูก :: รวบรวมบทความ “สอบเข้า EP สามเสน“

1160x500-เดือนแดงเดือด